การตรวจสอบคาปาซิเตอร์แรงต่ำ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
หรือถ้าเป็นคาปาซิเตอร์แบบ 1เฟส แรงดัน 220 V จะใช้สูตร |
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
ค่าแรงดันเป็นค่าแรงดันจริงของระบบขณะวัด ส่วนค่า kVAr อ่านได้จากเนมเพลท ค่ากระแสที่อ่านได้จะมีค่าอยู่ในช่วง ระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าที่คำนวณได้เป็นคาปาซิเตอร์ใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งาน ถ้าค่าที่อ่านได้มีค่าต่ำแสดงว่าคาปาซิเตอร์ มีการเสื่อมสภาพมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการจึงควรเปลี่ยนใหม่ ถ้าที่ค่าอ่านได้มีค่าสูงกว่าค่าที่คำนวณแสดงว่า เกิดโอเวอร์โหลดที่สามารถทำให้ค่าคาปาซิเตอร์เสื่อมเร็วกว่าปกติได้ ควรหาสาเหตุให้พบแล้วทำการแก้ไข ตัวอย่างของ สาเหตุที่เกิดการโอเวอร์โหลดคือ มีปัญหาฮาร์มอนิกหรือแรงดันระบบสูงเกินพิกัดของคาปาซิเตอร์ หมายเหตุ เนื่องจากการตรวจสอบกระแสจะต้องทำการวัดค่าขณะคาปาซิเตอร์ใช้งานอยู่ ซึ่งต้องระมัดระวังอันตรายจากไฟฟ้า ดูดโดยสวมถุงมือป้องกันไฟทุกครั้ง และวิธีการแคล้มป์มิเตอร์นี้ห้ามใช้กับแรงดันเกินกว่า 600 V เนื่องจากเครื่องมือโดย ส่วนใหญ่จะทนแรงดันได้ไม่สูงนัก เพื่อเป็นความปลอดภัยในการวัด การตรวจสอบค่าคาปาซิแตนซ์ วิธีการวัดค่าคาปาซิเตอรแรงต่ำจะต้องทำการวัดขณะคาปาซิเตอร์ไม่จ่ายไฟและต้องดิสชาสต์คาปาซิเตอร์ไม่ให้มีประจุค้าง เหลืออยู่ในคาปาซิเตอร์ โดยอาจวัดแรงดันที่ค้างอยู่ในคาปาซิเตอร์ซึ่งเป็นแรงดันไฟตรง ถ้ามีแรงดันค้างอยู่ควรดิสชาร์จ แรงดันทิ้งโดยใช้กราวด์ สำหรับเครื่องมือที่ใช้มักเป็นมิเตอร์ที่อ่านค่าคาปาซิแตนซ์ได้ การวัดจะต้องปลดคาปาซิเตอร์ไม่ให้ ต่อร่วมกับวงจรอื่นกรณีคาปาซิเตอร์แบบ 3 เฟส จะต้องวัดค่าเฟสต่อเฟส (Phase to Phase or line to line ) เช่น |
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
รวมทั้ง 3 ค่า ค่าที่อ่านได้จะมีค่าใกล้เคียงกันและมีค่าอยู่ระหว่าง -5% ถึง10% ของค่าพิกัดตามตาราง ตัวอย่าง เมื่อผ่านการใช้ งาน ค่าคาปาซิแตนซ์นี้จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ ถ้าที่อ่านได้มีค่าต่ำมากจนค่า PF ของระบบต่ำกว่าที่ต้องการ จึงควรเปลี่ยนใหม่ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
ในทางปฏิบัติการจะดูว่าคาปาซิเตอร์เสื่อมมากเพียงใด ควรพิจาราณาถึงค่ากระแสและค่าคาปาซิแตนซ์รวมกัน เพื่อให้แน่ใจ ว่าไม่เกิดความผิดพลาดในการวัด อัตราเสื่อมของคาปาซิเตอร์ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และคุณภาพของคาปาซิเตอร์เอง สำหรับการตัดสินใจว่าควรเปลี่ยนคาปาซิเตอร์เมื่อไร นอกจากดูค่า PF โดยรวมแล้วยังขึ้นกับสะดวกในการเปลี่ยนแปลงอีก ด้วยเช่น หากการดับไฟเพื่อเปลี่ยนทำได้ยาก จึงอาจเปลี่ยนคาปาซิเตอร์ทีละหลายๆตัวพร้อมกัน ทั้งตัวเสื่อมมากและเสื่อมน้อย เพื่อให้แน่ใจว่ามีคาปาซิเตอร์เพียงพอตลอดเวลาในอนาคต |
||||||||||||||||||||||||||||||||
เอกสารอ้างอิง วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol11 / July - September 2002 ; ABB LIMITED (ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่ |