การตั้งค่าชุดควบคุมคาปาซิเตอร์แบบเชิงเส้น (Linear) และแบบเชิงเส้น (Circular)
โดย : Admin

  การตั้งค่าชุดควบคุมคาปาซิเตอร์
แบบเชิงเส้น (Linear) และแบบเชิงเส้น (Circular)


               การตั้งค่าลำดับการทำงาน (Sequence) ในการตัดต่อคาปาซิเตอร์แบ่งออก 2 ประเภทหลักๆ คือ

                1. แบบเชิงเส้น (Linear)
                    คือ การที่ชุดควบคุมคาปาซิเตอร์ (PF Controlller) จะเริ่มสั่งงานให้ต่อคาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่ 1 ก่อนเสมอ ถ้าค่า PF
                 ยังไม่พอจะสั่งต่อตำแหน่งที่ 2,3,4 ไปเรื่อยๆจนมีค่า PF ดีพอ ในกรณีมีค่า PF เกินหรือสูงเกินความต้องการจะสั่งปลด
                 คาปาซิเตอร์ตำแหน่งสุดท้ายออกก่อนเสมอ ถ้าค่า PF ยังสูงเกินอยู่ก็จะปลดตำแหน่งถัดมา 4,3,2,1 เรียงกันอย่างนี้

             


ตัวอย่างคาปาซิเตอร์แบงค์ขนาด 6 x 50 kvar
ค่า PF
คาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่
รวมโหลด
Kvar
1
2
3
4
5
6
ต่ำ
/
 
       
50
ต่ำ
/
/
       
100
ต่ำ
/
/
/
     
150
ต่ำ
/
/
/
/
   
200
เกิน
/
/
/
     
150
เกิน
/
/
       
100
เกิน
/
         
50
การตั้งค่าชุดควบคุมแบบเชิงเส้น (Linear)หรือ Last-in,First-out
            
                 2. แบบวนรอบ (Circular)
                     การตั้งค่าแบบนี้ชุดควบคุมคาปาซิตอร์ไม่จำเป็นต้องเริ่มสั่งงานในตำแหน่งที่ 1 เสมอไป ตัวอย่างเช่น  อาจเริ่มทำงาน
                  จากตำแหน่งที่ 5 ก่อน ถ้า PF ยังไม่พอที่สั่งต่อตำแหน่งถัดมาคือ ตำแหน่งที่ 6,1,2 ไปเรื่อยๆ จนมีค่า PF ดีพอ ในกรณี
                  ที่ค่า PF เกินความต้องการจะสั่งปลดคาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่เริ่มทำงานก่อนหรือตำแหน่งที่ทำงานมาแล้วนานที่สุดก่อน
                  หรือตำแหน่งที่ทำงานมาแล้วนานที่สุดก่อนคือ ตำแหน่งที่ 5 ถ้าค่า PF ยังสูงเกินอยู่ก็จะปลดตำแหน่งถัดมาคือ 6,1,2 วน
                  รอบกันอย่างนี้

ตัวอย่างคาปาซิเตอร์แบงค์ขนาด 6 x 50 kvar
ค่า PF
คาปาซิเตอร์ตำแหน่งที่
รวมโหลด
Kvar
1
2
3
4
5
6
ต่ำ
 
 
   
/
 
50
ต่ำ
 
 
   
/
/
100
ต่ำ
/
 
 
 
/
/
150
ต่ำ
/
/
 
 
/
/
200
เกิน
/
/
 
 
 
/
150
เกิน
/
/
       
100
เกิน
 
/
       
50
การตั้งค่าชุดควบคุมแบบเชิงเส้น (Circular)หรือ First-in,First-out

                      ในแง่ของการปฏิบัติงานและซ่อมบำรุงข้อดีของการตั้งค่าลำดับการทำงานแบบวนรอบ  (Circular)  จะดีกว่าแบบ
                    เชิงเส้น (Linear) คือทำให้ภาวะการทำงานของคาปาซิเตอร์ ทุกตำแหน่งกระจายอย่างทั่วถึง      โดยไม่จำกัดอยู่ที่
                    ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะทำให้อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์ทุกๆตัวสูงขึ้น และยังสามารถช่วยลด
                    เวลาในการตัดต่อคาปาซิเตอร์ เนื่องจากคาปาซิเตอร์ตัวที่เพิ่งถูกปลดออกจะไมาสามารถต่อเข้ามาได้ทันทีเพราะ
                    ต้องรอการคายประจุก่อน (Discharge)


                       อย่างไรก็ตามการตั้งลำดับการทำงานแบบเชิงเส้นก้ยังมีข้อดีที่ว่า การออกแบบจะประหยัดขนาดอุปกรณ์ตัดต่อใน
                    ตำแหน่งแรกๆลงได้ ตัวอย่างเช่นการออกแบบคอนแทคเตอร์ในสเตปแรกๆ กระแส Inrush สูงๆ จะต้องเลือกขนาด
                    ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งต่างกับลำดับการทำงานแบบวนรอบ    ซึ่งต้องเลือกขนาดอุปกรณ์ให้มีขนาดใหญ่เท่ากันหมด
                    เพราะคาปาซิเตอร์ทุกตำแหน่งมีโอกาสตัดต่อตัวท้ายๆ ที่กระแส Inrush สงด้วยกันทุกตัว


  เอกสารอ้างอิง
               วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol 9 / Jan - March 2002 ; ABB LIMITED

             (ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer  คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่)

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)