ความปลอดภัย
เริ่มต้นด้วยความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เนื่องจากคาปาซิเตอร์อุปกรณ์ที่ทำงาน Full Load ตลอดเวลา ก่อนการ
ซ่อมบำรุงทุกครั้งควรปฏิบัติดังนี้
1. การติดตั้งและการซ่อมบำรุงต้องกระทำโดยผู้มีหน้าที่รู้และเข้าใจคาปาซิเตอร์ โดยอ้างถึงมาตรฐาน IEC 831
2. ปลดวงจรที่จ่ายไฟให้กับคาปาซิเตอร์ก่อนการซ่อมบำรุง ควรมีการปลดวงจรอื่นที่อาจทำให้มีกระแสไฟย้อนกลับ
มาสู่คาปาซิเตอร์ได้ด้วย
3. เมื่อปลดคาปาซิเตอร์แล้วจะต้องรออย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้คาปาซิเตอร์คายประจุไฟฟ้าผ่านดิสชาสรีซีสเตอร์
จนแรงดันลดลงมาต่ำกว่า 50 V ซึ่งอาจวัดด้วยมิเตอร์แรงดันทำการลัดวงจรที่ขั้วทุกขั้วของคาปาซิเตอร์ด้วยสาย
ไฟที่มีฉนวน เพื่อให้แน่ใจว่าคาปาซิเตอร์คายประจุหมดแล้วจริงๆ ไม่ควรทำการลัดวงจรในขณะที่มีแรงดันค้าง
ในตัวคาปาซิเตอร์ หรือภายหลังการปลดคาปาซิเตอร์จากวงจรในทันทีเพราะอาจทำให้คาปาซิเตอร์เสียหาย และ
เกิดอันตรายได้
4. เริ่มทำทำการซ่อมบำรุงคาปาซิเตอร์
การติดตั้งคาปาซิเตอร์
ตำแหน่งที่ติดตั้ง คาปาซิเตอร์ควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี เนื่องจากคาปาวิเตอร์ถูกสร้างมาให้ทำงานในอุณหภูมิ
แวดล้อมจำกัด (ซึ่งอาจศึกษาได้จากคู่มือของผู้ผลิต) จึงจำเป็นต้องเลือกประเภทอุณหภูมิใช้งานของคาปาซิเตอร์
ให้เหมาะสม ดังเช่นมีประเภทอุณหภูมิใช้งาน -25/D (Temperature category -25/D) หมายความว่าสามารถใช้
งานได้อุณหภูมิต่ำสุด -25 องศาเซียลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 55 องศาเซียลเซียส ค่าอุณหภูมิเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน
45 องศาเซียลเซียส ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยตลอด 1 ปีไม่เกิน 35 องศาเซียลเซียส ส่วนแรงดันในบริเวณที่ติดตั้งคาปา
ซิเตอร์ต้องเป็นไปตามพิกัดของคาปาซิเตอร์ โดยมาตรฐาน IEC 831 ระบุว่าค่าคาปาซิเตอร์จะทนแรงดันเกินได้
ถึง 110 % ของแรงดันพิกัดแบบเป็นช่วงเวลา (8 ชม. ใน 1 วัน) การใช้งานคาปาซิเตอร์ที่ระดับเกินและอุณหภูมิ
ใช้งานสูงๆ ตลอดเวลา จะทำให้อายุการใช้งานของคาปาซิเตอร์สั้นลงอย่างมาก
การเข้าสายและการเลือกขนาดสายไฟ
สายไฟจะต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.43 เท่าของกระแสพิกัดของคาปาซิเตอร์ ในกรณีที่มีการเดินสายแบบพิเศษ
เช่น มัดรวมสายไฟกันหลายเส้น ควรมีการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตสายไฟในการเลือกสาย การเข้าสาย
ต้องทำให้แน่นโดยใช้แรงบิด (Torque) ตามที่ผู้ผลิตกำหนดควรมีการจัดตำแหน่งของสายและตัวประจุให้เหมาะ
สม เพื่อความปลอดภัย
ภายหลังการติดตั้งก่อนการเริ่มจ่ายไฟครั้งแรกควรตรวจสอบ
1. ความสะอาดอุปกรณ์
2.การเข้าสายต้องแน่น โดยใช้สายที่เหมาะสม
3.ระบบการต่อลงดิน
ภายหลังการจ่ายไฟคาปาซิเตอร์แล้วควรบันทึกค่ากระแสและแรงดันคาปาซิเตอร์ควรบันทึกค่ากระแสและ
แรงดันของคาปาซิเตอร์ กระแสควรไม่เกิน 130 % ของกระแสของพิกัด และค่าPower ไม่ควรเกิน 130 % ของ
กำลังพิกัด และแรงดันไม่ควรเกินแรงดันพิกัดของคาปาซิเตอร์
การซ่อมบำรุงคาปาซิเตอร์
1. ปฏิบัติตามกฏความปลอดภัยก่อนการซ่อมบำรุงคาปาซิเตอร์
2.การบำรุงรักษาประจำปีจะต้องตรวจสอบดังนี้
2.1 ทำความสะอาดฝุ่นและคราบสกปรกทุกๆชิ้นส่วนของอุปกรณ์
2.2 ตรวจสอบความแน่นของจุดต่อสายไฟทุกจุด
2.3 ตรวจสอบสภาพของตัวคายประจุ
2.4 ตวรจอุณหภูมิโดยรอบ
3. นำคาปาซิเตอร์เข้าสู่ระบบและวัดกระแสของคาปาซิเตอร์ด้วย คลิป-ออน มิเตอร์ (Clip-on Meter) และวัด
ค่า kVAR เอาท์พุทของคาปาซิเตอร์ ถ้าค่าเอาท์พุทลดลงจาก Nameplate มากกว่า 10 % แสดงว่าคาปาซิ
เตอร์เริ่มเสื่อมสภาพการใช้งานแล้ว ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุ เช่น เป็นการเสื่อมสภาพการใช้งานตามปกติ
หรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เนื่องจากอุณหภูมิใช้งานสูงเกินไป แรงดันระบบสูงเกินไปหรือมีฮาร์มอนิก
ในระบบไฟฟ้า หากพบว่าคาปาซิเตอร์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ควรหาสาเหตุให้พบแล้วทำการแก้ไขตาม
สาเหตุต่อไป
เอกสารอ้างอิง
วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol7 / July - September 2001 ; ABB LIMITED
(ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่)
|