ถ้าต้องการยืดอายุการใช้งานให้กับคาปาซิเตอร์ เราต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้คาปาซิเตอร์
มีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติก่อน
ความร้อน
ควรเลือก Class คาปาซิเตอร์ให้เหมาะกับอุณหภูมิใช้งานเช่น ประเทศไทย อากาศร้อนควรเลือกใช้ Class D ( อุณหภูมิ
ใช้งานเฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 35 องศาเซียลเซียส ) และจัดวางคาปาซิเตอร์ ให้มีระยะห่างเป็นช่องว่าง ให้อากาศไหลผ่านได้
อย่างสะดวก โดยอากาศเย็นจะไหลเข้าตู้ทางช่องอากาศผ่านตัวคาปาซิเตอร์ จนเป็นอากาศร้อนไหลออกจากตู้ด้านบน
ฮาร์มอนิกส์
การติดตั้งคาปาซิเตอร์ในระบบไฟฟ้าที่มีฮาร์มอนิกส์ จะทำให้คาปาซิเตอร์กินกระแสสูงกว่าปกติ และอาจสูงมากจนเกินพิกัด
ของคาปาซิเตอร์ได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หากจำเป็นต้องติดตั้งคาปาซิเตอร์ ในระบบที่มีฮาร์มอนิกส์
ความถี่ในการตัดต่อ
การตัดต่อคาปาซิเตอร์เข้ากับระบบไฟฟ้าบ่อยเกินไปจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้ เพราะการต่อคาปาซิเตอร์แต่ละครั้ง
จะเกิดกระแสกระชาก ( Inrush Current ) สูงมากจนอาจทำอันตรายกับคาปาซิเตอร์ ควรเลือกโปรแกรมการทำงาน และ
จำนวน Step ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโหลด
ระยะเวลาที่ใช้งานคาปาซิเตอร์ในแต่ละวัน
ควรแบ่งภาระ ( Share Load ) ของคาปาซิเตอร์ แต่ละตัวให้ทำงานเท่าๆกัน ไม่ควรให้ตัวใดตัวหนึ่งทำงานติดต่อกันเป็น
เวลานานเกินไป ควรเลือกจำนวน Step และจำนวนคาปาซิเตอร์ที่พอเหมาะกับการเหลี่ยนแปลงของโหลด การโปรแกรม
เครื่องควบคุมเพาเวอร์แฟคเตอร์แบบวนรอบ ( Circular ) จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้มาก
หากติดตั้งและใช้งานคาปาซิเตอร์ สามารถหลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆที่ทำให้คาปาซิเตอร์
มีอายุการใช้งานสั้นลงแล้วเราก็สามารถใช้งานคาปาซิเตอร์ได้เต็มอายุการใช้งาน
เอกสารอ้างอิง
วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol 5 / January- March 2001 ; ABB LIMITED
(ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่)
|