ASI bus system
โดย : Admin

โดย:    สุวัฒน์   ธเนศมณีกุล   

 

  ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านระบบบัส ถือว่าเป็นเรื่องที่ไกล้ตัวมาก มีเครื่องจักรอัตโนมัติจำนวนไม่น้อย
 ขณะนี้ที่ใช้ระบบเทคโนโลยี ASI-BUS  ดังนั้นจึงได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับทุกท่านที่ทำงาน 
 ในภาคอุตสากหกรรม และเป็นแนวทางเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับบุคคลที่จะก้าวเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม

 

 

             ASI ถูกเริ่มต้นพัฒนาในปี ค.ศ. 1993 โดยบริษัทจากประเทศเยอรมัน และสวิซเซอร์แลนด์ 11 บริษัทร่วมกันจัดตั้ง “สมาคม ASI” (ASI consortium) และได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากกระทรวงวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศเยอรมัน (BMBF) เทคโนโลยี ASI เป็นมาตราฐาน IEC 947 ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 80 องค์กรในทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีสินค้า ASI มากว่า 200 ชนิด จากผู้ผลิตมากว่า 30 บริษัท ASI ย่อมาจากคำว่า Actuator Sensor Interface เป็นระบบที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ทำงาน (Actuator) และเซนเซอร์ (Sensor) เข้ากับคอลโทรลเลอร์อย่างเช่น PLC (Programmable logic control) , NC (Numerical controller) , RC (Robot controllers) หรือ PC (Personal computers) โดยจุดประสงค์เพื่อมาแก้ปัญหาเรื่องการติดตั้งแบบเก่า (Traditional cable tree) ซึ่งจะใช้สายไฟฟ้าเพียงแค่ 2 เส้นเท่านั้น (ดังแสดงตามรูป) ซึ่งสามารถป้อนสัญญาณควบคุม (Signal) และพลังงานไฟฟ้า (Power) ในเวลาเดียวกันทำให้สามารถลดจำนวนสายไฟได้มากซึ่งประหยัดทั้งต้นทุนของสายไฟและงานติดตั้งรวมถึงช่วยให้การดูแล และซ่อมบำรุงระบบเป็นไปได้ง่ายอีกด้วย

 


Actuator Sensor Interface (ASI)

              หัวใจสำคัญของระบบ ASI ก็คือ Slave-chip (ASIC : Application Specific Integrated Circuit) ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่าง Actuator / Sensor กับ Controller เปรียบเสมือนกับว่า slave-chip เป็นป้ายบ้านเลขที่เพื่อให้ controller ติดต่อ Actuator / Sensor ได้ถูกต้อง ซึ่ง salve-chip จะมี 2 แบบคือ



1) External ASI slave-chip slave - chip จะฝังอยู่ในโมดูลตัวหนึ่งซึ่งโมดูลนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อให้ Actuator และ Sensor ที่เป็นระบบเก่า (Conventional) ให้สามารถคุยกับคอลโทรลเลอร์ได้ (ตามรูป)
2)  Integrated ASI slave – chip , slave – chip จะฝังอยู่ใน Actuator และ Sensor ซึ่งหมายความว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถคุยกับคอลโทรลเลอร์ได้โดยตรง (ตามรูป) ซึ่งทำให้บทบาทของ Actrator และ sensor เปลี่ยนไปจากแบบเก่า (Conventional) ที่เคยใช้กันอุปกรณ์สามารถสื่อสารข้อมูลได้สองทิศทางคือ ข้อมูลสามารถถูกส่งจากคอลโทรลเลอร์ไปยังอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral) ได้ และข้อมูลยังสามารถส่งจากอุปกรณ์ต่อพ่วงไปยังคอลโทรลเลอร์ได้อีกด้วยนั้นหมายถึงว่า เซนเซอร์จะเปลี่ยนบทบาทจากที่เคยเป็นอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลไปยังคอลโทรลเลอร์อย่างเดียวมาเป็นเซนเซอร์ที่สามารถ รับคำสั่งให้ทำงานจากคอลโทรลเลอร์ได้อีกด้วย




โครงสร้างระบบ Actuator sensor Interface


              ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็น Intelligent sensor และเช่นเดียวกันสำหรับ Actuator จะเปลี่ยนบทบาทจากที่เคยแต่รับคำสั่งจากคอลโทรลเลอร์อย่างเดียวมาเป็น Actuator ที่สามารถตรวจสอบตัวเองได้และรายงานผลไปยังคอลโทรลเลอร์ได้อีกด้วย ซึ่งเราจะเรียกว่า Intelligent Actuator


ตัวอย่างเครื่องจักร Pick and Place


โครงสร้างเครื่องจักรแบบ เก่า ( Conventional System )

โครงสร้างเครื่องจักรโดยใช้ระบบ ASI bus system




ตัวอย่าง ตู้ควบคุมไฟฟ้าแสดงปริมาณสายไฟของระบบเก่าและระบบ ASI

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)