วิศวกรรมนั้นเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ, การผลิต, การก่อสร้าง และการบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์, ระบบ, และโครงสร้างต่าง ๆ ในวิศวกรรมขั้นสูงแบ่ง วิศวกรรม 2 ประเภท: วิศวกรรมก้าวหน้าและวิศวกรรมย้อนกลับ วิศวกรรมก้าวหน้าเป็นกระบวนการที่ทำตามแบบแผน จากทฤษฎีพื้นฐาน และการออกแบบตามหลักการ ไปสู่ การผลิตและสร้างผลงานจริงจากการออกแบบ ให้มีความถูกต้อง ในบางสถานการณ์, อาจมีชิ้นส่วนบางอันที่ไม่มีรายละเอียดทางด้านเทคนิค, เช่น drawings, รายการของวัตถุ, หรือไม่มีข้อมูลทางวิศวกรรม, เช่นคุณสมบัติทางด้านความร้อนและไฟฟ้า กระบวนการที่จะสร้างซ้ำชิ้นส่วนที่มีอยู่ นั้น ๆ โดยปราศจาก Drawings, เอกสารประกอบ, หรือข้อมูลโมเดลในคอมพิวเตอร์ กระบวนการนี้เรียกว่า วิศวกรรมที่ย้อนกลับ วิศวกรรมย้อนกลับ เป็นวิธีที่ทำกัน ในสาขาต่าง ๆ ที่ ทำงานในลักษณะย้อนกลับ เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์, วงการบันเทิง, ยานยนต์, สินค้าอุปโภคบริโภค, ไมโครชิป, เคมี, อิเล็กทรอนิกส์, และการออกแบบเครื่องกล ตัวอย่างเช่น , เมื่อมีเครื่องจักรรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด, บางครั้งผู้ผลิตรายที่เป็นคู่แข่ง ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่นั้น ไปเรียนรู้การทำงาน ซึ่งบางครั้งต้องแยกเป็นชิ้น ๆ เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการประกอบ บริษัททางด้านเคมีบางครั้งใช้วิศกรรมย้อนกลับเพื่อค้นหากระบวนการผลิตของบริษัทคู่แข่ง ในส่วนของวิศวกรรมโยธา, การออกแบบตึกและสะพาน เป็นการทำลอกเอาจากสิ่งที่เคยทำสำเร็จมาแล้วในอดีต ซึ่งจะมีโอกาสผิดพลาดน้อย ในวิศวกรรมที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์, source code ที่ดี คือการนำเอา source code อื่นมาปรับปรุง ในบางสถานการณ์, นักออกแบบสร้างรูปทรงตามจินตนาการของพวกเขา โดยใช้ดินเหนียว , ปูนปลาสเตอร์, ไม้, หรือ ยาง, แต่ยังคงมีความต้องการ โมเดล CAD ในคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปสร้างจริง ยิ่งรูปทรงผลิตภัณฑ์ดูมี ชึวิตมากเท่าไร การออกแบบด้วย CAD ต้องใช้ความท้าทายมากหรือเป็นไปไม่ได้เลย สิ่งนี้ไม่รับประกันว่าโมเดล CADจะใกล้เคียงกับโมเดลตามจินตนาการหรือไม่ วิศวกรรมย้อนกลับมีทางออก สำหรับปัญหานี้เพราะว่าลักษณะทางกายภาพของโมเดลคือ ต้นกำเนิดข้อมูล สำหรับโมเดล CAD นั่นเอง เหตุผลอื่น ๆ ที่ต้องใช้วิศวกรรมย้อนกลับ คือ เวลาที่จำกัดสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดทั่วโลก, ผู้ผลิตจำต้องหาทางเลือกใหม่อยู่เสมอ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วที่สุด Rapid product development (RPD) กล่าวถึง เทคโนโลยีล่าสุดที่ได้รับการพัฒนา ขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ผลิตและนักออกแบบให้บรรลุความต้องการที่จะลดเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น , บริษัททำแม่พิมพ์ฉีด จะต้องลดเวลาในการพัฒนา tool และ die ให้ได้มากที่สุด โดยการใช้วิศวกรรมย้อนกลับ, ชิ้นงาน 3 มิติจริงจากลูกค้า จะถูกก๊อปปี้ ให้ได้เป็น ข้อมูลดิจิตอล เพื่อ สร้างโมเดลซ้ำ จากเครื่องสร้างต้นแบบอย่างเร็ว rapid prototyping
เหตุผลที่วิศวกรรมย้อนกลับถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ: วิศวกรรมย้อนกลับของ ชิ้นส่วน เครื่องกล คือการได้มาของข้อมูลตำแหน่ง 3 มิติใน กลุ่มข้อมูลจุด (point cloud) ที่ได้จากการใช้วิธี laser scanners หรือ computed tomography (CT) |
ที่มา : www.mtec.or.th & www.cadcamcaecenter.com/article/detial/re.pdf