การดูแลและบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก
บทนำ
|
1.
|
เช็คระดับน้ำใน Gauge glass หากพบว่าระดับน้ำไม่คงที่สามารถจะเกิดจากปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น การปนเปื้อนของน้ำมัน, การทำงานเกินตัว (overload) , การทำงานผิดพลาดของระบบควบคุมการจ่ายน้ำเป็นต้น นอกเหนือจากเช็คระดับน้ำแล้ว จะต้องมั่นใจว่ามีน้ำอยู่ใน gauge glass ทุกครั้งที่ทำการตรวจเช็ค
|
2.
|
ทำการ blow down หม้อไอน้ำโดยจะต้องเป็นไปตามคำแนะนำของที่ปรึกษาทางด้านระบบน้ำป้อน ทุกครั้งที่ทำการ blow down จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำและส่วนประกอบทางเคมีด้วย
|
3.
|
ตรวจสอบการเผาไหม้ด้วยสายตาโดยการดูลักษณะของเปลวไฟ หากลักษณะของเปลวไฟเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่าต้องมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว จะต้องทำการสืบหาต้นเหตุของปัญหาต่อไป
|
4.
|
ปรับสภาพน้ำให้เป็นไปตามโปรแกรมที่ตั้งเอาไว้และต้องมีการสุ่มตรวจเช็คทุกวัน
|
5.
|
บันทึกความดันหรืออุณหภูมิของน้ำในหม้อไอน้ำ (อาจจะบันทึกมากกว่าหนึ่งครั้งในหนึ่งวัน)เพราะค่าทั้งสองหากเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหรือค่าที่ตั้งเอาไว้แสดงว่าต้องเกิดความผิดปกติกับหม้อไอน้ำ
|
6.
|
บันทึกอุณหภูมิและความดันของน้ำป้อนหากอุณหภูมิและความดันมีค่าเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นในกระบวนการทำงาน เช่น ปั๊มน้ำป้อน เป็นต้น
|
7.
|
บันทึกอุณหภูมิของปล่องไอเสียหากอุณหภูมิของปล่องไอเสียเปลี่ยนแปลงไปแสดงว่าปล่องไอเสียมีเขม่าจับเยอะ, มีหินปูนเกาะภายในหม้อไอน้ำ, เกิดปัญหากับอิฐทนไฟหุ้มหม้อไอน้ำเป็นต้น
|
8.
|
บันทึกอุณหภูมิและความดันของน้ำมันเชื้อเพลิง (หม้อไอน้ำที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง)การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความดัน จะส่งผลต่อการเผาไหม้ โดยปัญหาอาจจะเกิดจาก oil heater หรือ oil regulator
|
9.
|
บันทึกความดันของ oil atomizer เพราะการเปลี่ยนแปลงของความดันจะส่งผลกระทบต่อการเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ
|
10.
|
บันทึกค่าความดันของแก๊ส (หม้อไอน้ำที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง) การเปลี่ยนแปลงของความดันจะส่งผลต่อการเผาไหม้ โดยปัญหาอาจจะเกิดจากระบบการจ่ายแก๊ส
|
11.
|
เช็คการทำงานโดยทั่วๆไปของหม้อไอน้ำและระบบการเผาไหม้พยายามให้การทำงานอยู่ที่ระดับประสิทธิภาพสูงสุดอยู่เสมอ หากมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติต้องตอบให้ได้ว่าเพราะอะไร และจะส่งผลต่ออะไรบ้าง
|
12.
|
บันทึกอุณหภูมิของไอน้ำที่ผลิตได้และน้ำที่กลับสู่หม้อไอน้ำเพื่อเป็นการเผ้าระวังการทำงานของหม้อไอน้ำ
|
13.
|
บันทึกปริมาณการเติมน้ำเข้าสู่หม้อไอน้ำหากปริมาณการเติมน้ำมากเกินไป แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นภายในระบบต้องรีบหาต้นตอของปัญหาและรีบแก้ไข
|
14.
|
เช็คการทำงานของอุปกรณ์เสริมต่างๆให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น (หมายถึงว่าจะต้องทำงานได้ตาม Spec ที่อุปกรณ์นั้นๆ ถูกตั้งค่าเอาไว้)เพราะการทำงานที่ผิดปกติของอุปกรณ์เสริมอื่นๆสามารถทำให้หม้อไอน้ำเกิดปัญหาขึ้นได้
|
|
1. ตรวจสอบว่าวาล์วของท่อจ่ายเชื้อเพลิงแน่นสนิทดีหรือไม่ตรวจสอบเพื่อความมั่นใจว่าหากหม้อไอน้ำหยุดการใช้งานจะไม่มีเชื้อเพลิงรั่วไหลจากวาล์วได้
|
2. ตรวจสอบรอยต่อ หรือ หน้าแปลนที่ยึดท่อต่างๆ ให้มั่นใจได้ว่าสกรูขันแน่นสนิทดีไม่มีการรั่วไหลของเชื้อเพลิงหรืออากาศออกมาตามหน้าแปลนเหล่านั้น
|
|
3. ตรวจสอบการทำงานของไฟส่องสว่างฉุกเฉินและสัญญาณเตือนในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในห้องหม้อไอน้ำว่ายังทำงานปกติดีอยู่หรือไม่ ตรวจสอบไฟสัญญาณทุกหลอดและสัญญาณเตือนอื่นๆที่จะต้องทำงานสัมพันธ์กับหม้อไอน้ำว่ายังทำงานปกติดีอยู่หรือไม่
|
|
4. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมว่ายังทำงานตามค่า set point ที่ได้ตั้งเอาไว้หรือไม่และควรทวนสอบการทำงานของเกจวัดความดันและอุณหภูมิของหม้อไอน้ำว่ายังแสดงค่าที่ถูกต้องอยู่หรือไม่
|
|
5.
|
ตรวจสอบอุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยและ Interlock เพื่อความแน่ใจได้ว่าหากเกิดเหตุผิดปกติกับหม้อไอน้ำ อุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยและ interlock จะยังทำงานได้ตามปกติ
|
6.
|
ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ
|
7.
|
ตรวจสอบการรั่ว, เสียงดัง, การสั่นสะเทือน และ การทำงานอื่นๆ ที่ผิดไปจากปกติ เป็นต้น เนื่องจากหากทำการตรวจสอบเป็นประจำแล้วจะทราบได้ทันทีว่าหม้อไอน้ำทำงานผิดปกติ ซึ่งจะได้รีบดำเนินการแก้ไขต่อไป ก่อนที่จะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โต
|
8.
|
ตรวจสอบการทำงานของมอเตอร์ขับทุกตัวที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำ เช่น ฟังเสียง ตรวจเช็คอุณหภูมิของมอเตอร์ ดูการสั่นสะเทือน หากผิดปกติจะต้องรีบดำเนินการแก้ไข
|
9.
|
ตรวจสอบระดับของน้ำมันหล่อลื่นของอุปกรณ์ทุกตัวตามที่คู่มือกำหนดเอาไว้ ว่ายังมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่
|
10.
|
ตรวจสอบ gauge glass เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีรอยแตกร้าวขึ้น และต้องไม่มีรอยรั่วโดยรอบ
|
ขอขอบทุกๆแหล่งที่มาของข้อมูล