ปั๊มและการแยกประเภทปั๊ม (Type of Pumps)
โดย : Admin

 

ปั๊ม หรือ เครื่องสูบ อาจให้คำจำกัดความได้ว่า เป็นเครื่องมือกลที่ทำหน้าที่เพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลว เพื่อให้ของเหลวนั้นไหลผ่านระบบท่อปิดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามความต้องการ พลังงานที่นำมาเพิ่มให้แก่ของเหลวนั้นอาจได้มาจากเครื่องยนต์ มอเตอร์ แรงลม แรงคน หรือพลังงานแหล่งอื่นๆ ก็ได้


   การแยกประเภทปั๊ม


       ปั๊มแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกัน (ตามลักษณะของพลังงานที่จ่ายให้กับน้ำหรือของเหลว)  คือประเภทแบบการเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวหรือการไหลของของเหลวในปั๊ม และแบบการขับดันของเหลวในเครื่องสูบ ซึ่งแต่ละประเภทจะประกอบด้วยปั๊มที่มีหลักการทำงานแตกต่างกันออกไปดังนี้

 
 
1 :   ประเภทที่แยกตามลักษณะการเพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวหรือการไหลของของเหลวในปั๊ม ซึ่งประกอบด้วยปั๊มแบบต่างๆดังนี้
 
                      ก. ประเภทเซนตริฟูกอล (Centrifugal) : เพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง
                      ข. ประเภทโรตารี่ (Rotary) : เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลาง
                      ค. ประเภทสูบชัก (Reciprocating) : เพิ่มพลังงานโดยอาศัยการอัดโดยตรงในกระบอกสูบ
                      ง. แบบอื่นๆ (Special) :  ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่กล่าวมา
 
 
        นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ยังมีการดัดแปลงอออกไปเป็นแบบต่างๆ อีกหลายแบบและมีชื่อเรียกของแต่ละแบบแตกต่างกันออกไป ดังแสดงในรูปต่อไปนี้
 


 




 

 

2. แยกประเภทตามลักษณะการขับดันของเหลวในเครื่องสูบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

 
ก. ปั๊มแบบไม่แทนที่ (Non – Positive Displacement) :  ทำงานโดยไม่อาศัยหลักการแทนที่ของเหลว    ปกติใช้ในงานความดันต่ำ อัตราการไหลสูง ไม่สามารถรับความดันสูง ๆ ได้ ปั๊มประเภทอาศัยแรงเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลางอาจจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ได้

 
ข. ปั๊มแบบแทนที่ (Positive Displacement) :   ทำงานโดยอาศัยหลักการแทนที่ของเหลวในห้องสูบด้วยการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องสูบ ปั๊มชนิดนี้จะจ่ายของไหลด้วยปริมาตรที่แน่นอนค่าหนึ่ง ต่อการหมุนรอบหนึ่งของเพลา สามารถรับความดันที่สูงขึ้นในระบบได้ดี ปั๊มประเภทนี้รวมแบบโรตารี่และลูกสูบชักเข้าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

 

  ขอบคูณทุกๆแหล่งที่มาของข้อมูล 

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)