ประมาณปี ๑๘๗๐ จักรยานทำด้วยโลหะก็เกิดขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ หลายส่วน หนึ่งในนั้นคือมีล้อด้านหน้าที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการยืดขาของผู้ขี่ การเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกอย่างคือการเปลี่ยนมาใช้ล้อยางแข็ง
การออกแบบยังทำมารองรับการใช้งานโดยผู้หญิง ด้วยการออกแบบจักรยานสามล้อสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้ผู้หญิงสามารถขี่จักรยานได้แม้จะใส่กระโปรงยาวอยู่ พัฒนาการอื่น ๆ ได้แก่การติดตั้งชั้น เฟืองเล็ก เบรกมือและระบบเปลี่ยนเกียร์ ใช้สำหรับเปลี่ยนเกียร์และถ่ายกำลังจากแกนหนึ่งไปยังอีกแกนหนึ่ง ซึ่งสำคัญมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ บางอย่างยังมีใช้อยู่ในจักรยานและรถยนต์จนถึงทุกวันนี้ ปลายทศวรรษที่ ๑๘๐๐ ยางรถจักยานยังคงเป็นแบบยางแข็งแต่ในวันหนึ่งในปี ๑๘๘๗ เมื่อลูกชายวัยสี่ปีของนักประดิษฐ์ชาวสก็อต จอห์น ดัลลอป (John Dunlop ค.ศ. ๑๘๔๐-๑๙๒๑) บ่นว่าจักรยานของเขานั้นกระเด้งมากเกินไป เขาจึงได้คิดทำยางลม (pneumatic) หรือยางบรรจุลมสำหรับจักรยาน จักยานที่มีลมอยู่ระหว่างยางและขอบยางทำหน้าที่เป็นเครื่องลดแรงกระแทก ทำให้ส่วนล้อของจักยานรับแรงกระแทกแทนผู้ขับขี่
การใช้ยางลมถูกพัฒนาใช้กับยางรถยนต์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการพัฒนารถและพื้นผิวการขับขี่ ที่จริงแล้วยุคของรถยนต์ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการคิดค้นของ ดัลลอป ซึ่งนับได้ว่าจักรยานก็มีความสำคัญในฐานะที่เป็นต้นกำเนิดของการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ
ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข้อมูล https://lungjaidee.com/bicycle/bicycle-1.htm
|