เครื่องยนต์สองจังหวะ (Two Stroke Engine)
โดย : Admin

   

      
        เครื่องยนต์หากแยกประเภทตามกลวัตรการทำงานของเครื่องยนต์ก็จะแยกเป็นเป็นสองประเภทคือ เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (2 Stroke engine)  และ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ (4 Stroke engine ) แต่ในหัวข้อนี้จะอธิบายการทำงานของเครืองยนต์สองจังหวะดังนี้


เครื่องยนต์สองจังหวะ  (Two Stroke Engine)
        เครื่องยนต์สองจังหวะเป็นเครื่องยนต์ทีมีรูปแบบพื้นฐานที่ง่ายสร้างและการทำงาน มีเพียงสามส่วนหลักทีเคลื่อนไหวนั้นคือ  ลูกสูบ(Piston), แกนเชื่อมต่อ(connecting rod) และเพลาข้อเหวี่ยง (crankshaft) . แต่อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์สองจังหวะ ก็เป็นอะไรที่ไม่ง่ายเพื่อเห็นครั้งแรก เนื่องจากวงรอบการทำงานมันเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทำให้มันยากที่จะอธิบายว่าช่วงไหนคือการเริ่ม และจุดสุดท้ายของวงรอบเครื่องยนต์
 
        เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ถูกออกแบบมาไม่เหมือนกับเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ กล่าวคือ เครื่องยนต์ 4 จังหวะจะใช้วาล์ว ไอดี และวาล์วไอเสีย เป็นกลไก ในการจ่ายไอดี และไอเสียสลับกัน แต่เครื่อง 2 จังหวะ ถูกออกแบบให้มีช่องไอดี และไอเสีย อยู่ที่กระบอกสูบ ซึ่งช่องนี้ จะเปิด หรือปิดได้ อยู่ที่การเคลื่อนที่ของตัวลูกสูบ เท่ากับว่าลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นวาล์วไปในตัว



หลักการทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีรายละเอียดดังนี้
 
1. จังหวะคาย(transfer/exhaust) กับดูด (intake) 
 
         เป็นจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ระหว่างการเคลื่อนที่นี้เอง ด้านบนลูกสูบคือการอัดอากาศไอดี ในขณะเดียวกัน ช่องไอเสีย จะถูกปิดด้วยตัวลูกสูบ โดยอัตโนมัติ โดยที่เวลาเดียวกันนี้เอง ความสูงของลูกสูบก็พ้นช่องไอดีออกไป ทำให้อากาศไอดี ใหลเข้าสู่ห้องเพลาข้อเหวี่ยง โดยอัตโนมัติ เช่นกัน


 
2.   จังหวะอัด(compress) กับระเบิด(power stroke)

         เมื่อลูกสูบ เคลื่อนที่ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบน ก็จะเกิดประกายไฟจากหัวเทียนทำให้เกิดระเบิดเพื่อดันลูกสูบลงไปสู่ศูนย์ตายล่าง อีกครั้ง ในระหว่างการเคลื่อนที่ลงครั้งนี้ ความสูงของลูกสูบ ก็จะไปปิดช่องอากาศทางเข้าไอดี และด้านบนของลูกสูบก็จะพ้นช่อง ทางออกของไอเสีย ทำให้อากาศไอเสียใหลผ่านออกไป ในขณะเดียวกันนี้เองที่ด้านบนของลูกสูบก็จะพ้นช่องใหลเข้าของไอดี ที่มา จากห้องเพลาข้อเหวี่ยง เข้าไปแทนที่
      

 

 

ข้อดี
 
เครื่องยนต์สองจังหวะมีการจุดระบิดบ่อยกว่าเครื่องยนต์สี่จังหวะ 2 เท่า ดังนั้นเครื่องยนต์สองจังหวะ จึงมีกำลังมากกว่าเครื่องยนต์สี่จังหวะที่มีขนาดเท่ากันสองเท่า นอกจากนั้นยังมีน้ำหนักเบา สร้างง่าย เนื่องจากมี ช้นส่วนน้อยกว่า เหมาะสำหรับงานที่ต้องการเครื่องยนต์กำลังสูง ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เช่น เลื่อยโซ่(chainsaw)เครื่องตัดหญ้า เครื่องเรือติดท้าย รถลุยหิมะ(snow mobile) เจ็ตสกี รถมอเตอร์ไซด์ เครื่องบินเล็กเครื่องพารามอเตอร์ เป็นต้น
 

 
ข้อเสีย
 
ของเครื่องยนต์สองจังหวะคือ มีประสิทธิภาพต่ำ และ มีมลพิษสูง เนื่องจากมีน้ำมันที่ยังไม่เผาไหม้ปนออกมากับ ไอเสียด้วย บางแบบต้องผสมน้ำมันเครื่องรวมกับไอดี ทำไห้มีความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องสูง
 
 
 
 


ขอขอบคุณที่มาของทุกแหล่งข้อมูล
อ้างอิงจาก :  ฟิสิกส์ราชมงคล



 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)