what is PWM ?
โดย : Admin
สุชิน เสือช้อย
PWM หรือ Pulse Width Modulation คืออะไร ?
PWM หรือ Pulse Width Modulation คือการแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรงวิธีหนึ่ง หรือเรียกว่า DC to DC converter (ดีซี ทู ดีซี คอนเวอเตอร์) ซึ่งเป็นการแปลงแรงดันไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่มีค่าคงที่ (อินพุท) ให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับได้ โดยที่ระดับแรงดันทางทางด้านเอาท์พุทจะมีค่าตั้งแต่มากกว่าศูนย์โวลท์จนกระทั้งถึงระดับของแรงดันอินพุท
การทำงาน
วิธีการแปลงไฟฟ้าระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงทางด้านเอาท์พุทนี้ จะทำงานโดยใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์กำลัง (power electronics) เช่น มอสเฟต (Mosfet) ทรานซิสเตอร์ (Transitor) หรือ ไอจีบีที (IGBT) ทำหน้าที่เป็นตัวอุปกรณ์ตัดต่อสัญญาณหรือทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สวิทซิ่ง ( Switching) โดยใช้วิธีการควบคุมให้อุปกรณ์เหล่านั้นให้ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ทำงานเป็นช่วงๆ หรือ on-off เป็นช่วงๆ เป็นคาบเวลา ด้วยความถี่คงที่
ส่วนแรงดันเฉลี่ยทางด้านเอาท์พุทจะมีค่ามากหรือน้อย ก็จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่อุปกรณ์สวิทซิ่งหรือขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่มีการ ออน(ON) ของอุปกรณ์ตัดต่อวงจร เช่น ถ้ามีการออน (on) หรือต่อวงจรนาน ความกว้างของสัญญาณเอาท์พุทซึ่งมีลักษณะเป็นรูปพัลส์ก็จะกว้างขึ้นและก็จะส่งผลทำให้ค่าเฉลี่ยทางด้านเอาท์พุทมีค่าสูงขึ้นตาม แต่ในทางกลับกันถ้ามีการออนหรือต่อวงจรในช่วงสั้นๆ ความกว้างของพัลส์ทางด้านเอาท์พุทก็จะแคบและก็จะส่งผลทำให้ค่าเฉลี่ยทางด้านเอาท์พุทมีค่าน้อยลง
และด้วยเหตุผลดังที่กล่าว ก็เลยทำเทคนิคการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงนี้มีชื่อเรียกว่า PWM หรือ Pulse Width Modulation ซึ่งก็หมายถึง การมอดูเลชั่นด้วยวิธีการกำหนดความกว้างของสัญญาณพัลส์ทางด้านเอาท์พุตนั้นเอง ( pulse width = ความกว้างของสัญญาณพัลส์)
*** การทำงานแบบนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า pulse-duration modulation (PDM)
ส่วนช่วงเวลาที่อุปกรณ์สวิทซิ่งต่อวงจรจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือ ช่วงออน (on) นั้นจะถูกเรียกว่า ดิวตี้ไซเคิล (Duty Cycly) และจะคิดคำนวนออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้
ดิวตี้ไซเคิล (Duty Cycly %) = ช่วงเวลาช่วงที่อุปกรณ์ต่อวงจร (Ton) / คาบเวลา ( Time Period ( Ton + Toff) )
Ton = ช่วงเวลาช่วงที่อุปกรณ์ต่อวงจร
Toff = ช่วงเวลาที่ อุปกรณ์เปิดวงจร หรือ ตัดวงจร
*** การทำงานจะคล้ายกับการปิด-เปิดสวิตซ์เป็นช่วงๆ ด้วยช่วงเวลาที่คงที่ .... ส่วนความถี่จะเริ่มต้น โดยทั่วไปจะออกแบบมาให้เหมาะสมกับอุปกรณ์หรือโหลดที่จะนำไปใช้งาน และส่วนใหญ่จะมีค่าคงที่ โดยทั่วไปจะไม่สามารถปรับได้
ส่วนแรงดันเฉลี่ยทางด้านเอาท์พุท ก็สามารถคำนวนได้ดังนี้
แรงดันขาออกหรือแรงดันทางด้านเอาท์พุท (Vo) = %ดิวตี้ไซเคิล (Duty Cycly) x ขนาดของแรงดันอินพุท
ตัวอย่างของอุปกรณ์เพาเวอร์อิเลคทรอนิกส์ที่นิยมนำมาใช้งานในวงจร PWM
ตัวอย่างวงจร PWM
คลิปเรื่อง PWM
ตัวอย่างอุปกรณ์สำเร็จรูป PWM ซึ่งนยิมใช้มากในงาน ควบคุมความเร็วดีซีมอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวร ซึ่งเป็นควบคุมระดับแรงดันที่จ่ายให้กับอาร์เมเจอร์ ( แรงดันที่จ่ายเข้าไปที่อาร์เมเจอร์มาก มอเตอร์ก็จะวิ่งเร็ว ถ้าจ่ายน้อยมอเตอร์ก็จะวิ่งช้าลง ความเร็วแปรผันตามระดับแรงดัน)
เนื้อหาโดย:
9engineer.com
(
https://9engineer.com/
)