Flare (แฟลร์) หรือ หอเผาทิ้ง ทำไมต้องเผาทิ้ง ไม่เผาไม่ได้หรือ?
ที่มา : กระทู้พันทิพ https://pantip.com/topic/31981910
กระทู้นี้เกิดจากที่ได้เห็นหลายคนมักจะถามว่า ไฟที่เผาตามปล่องโรงงานนั้นทำไมต้องเผา? / เผาอย่างนี้ไม่อันตรายหรือ? / ถ้าไม่เผาแล้วเอากลับมาใช้ประโยชน์ได้ไหม? / ไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่าเผาทิ้งหรือ? บลาๆๆ พอดีผมมีเอกสารอธิบายเกี่ยวกับ Flare และลอง search หาอ่านเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตจึงขอนำมาเผยแพร่ไว้เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงเผื่อใช้ประโยชน์กันนะครับ (หากท่านใดสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ก็ขอบพระคุณมากครับ)
Flare(แฟลร์) หรือหอเผา คืออะไร
ปล่องไฟ หรือ Flare stack มีลักษณะเป็นท่อตั้งโดดๆบนที่โล่งห่างจากหน่วยผลิต และ อาคารอื่นๆพอสมควร ปลายปล่องติดตั้งหัวเผาลักษณะคล้ายกับเตาแก๊สที่ใช้ตามบ้านแต่ขนาดใหญ่กว่าไว้ โดยเตานี้เปิดทำงานตลอดเวลาไม่มีวันหยุด ปลายปล่องไฟจึงมีเปลวไฟขนาดเล็กปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ (ปรกติกลางวันจะมองไม่ค่อยชัด หรือ บางทีมองไม่เห็น แต่กลางคืนจะเห็นชัดเจน)
ประโยชน์ของ Flare(แฟลร์) หรือหอเผาทิ้ง
จริงๆแล้วหน้าที่สั้นๆและง่ายๆของ Flare นั้นก็คือ “เพื่อความปลอดภัย” ครับ จากที่บอกในย่อหน้าที่แล้วว่า Flare นั้นทำงานตลอด 24 ชั่วโมง อธิบายง่ายๆเปรียบ Flare กับเตาแก๊สที่เปิดไว้ตลอดเวลา (เชื้อเพลิงที่ใช้คือก๊าซธรรมชาติที่เมื่อเผาไหม้จะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ) เพื่อ stand by กรณีที่มีก๊าซส่วนเกินจากระบบออกมา Flare จะทำหน้าที่เผาก๊าซเหล่านั้นไม่ให้ออกสู่สิ่งแวดล้อม
- เผาแก๊สส่วนเกินที่ถูกระบายออกมาจากการผลิต เพื่อลดความดันจากอุปกรณ์ เช่น หอกลั่น ในยามที่เกิดความผิดปกติในการเดินเครื่อง หรือ การเดินเครื่องในภาวะฉุกเฉิน
- ป้องกันการระเบิด หรือไฟไหม้ที่อุปกรณ์ เช่น หอกลั่น
- ใช้งานในช่วงเริ่มเดินเครื่อง และหยุดเดินเครื่องด้วย
- ป้องกันไม่ให้ความดันสูงเกินกว่าที่อุปกรณ์จะทนได้แล้วแตกออก
- เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ส่งรังสีความร้อนจนเป็นอันตรายต่อชุมชนนอกรั้วโรงงาน หอเผามักจะมีความสูงมาก
- หากควบคุมการเผาไหม้ให้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์สารมลพิษที่เหลืออยู่จะมีเพียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นส่วนประกอบ
ก๊าซส่วนเกินทำไมต้องเผาทิ้ง?
- ก๊าซส่วนเกินเหล่านี้หลักๆ คือก๊าซที่ vent ออกมาจากระบบต่างๆ โดยเป็นก๊าซที่มีความดันต่ำ การนำกลับไปใช้ใหม่นั้นไม่คุ้มค่าเพราะต้องทำให้แรงดันสูงพอที่จะกลับเข้าไปในระบบได้ (ซึ่งเป็นแรงดันที่สูงมาก) การจะเอาไปทำเชื้อเพลิงอย่างอื่นก็ไม่คุ้มเพราะต้องมาเพิ่มแรงดันเละปริมาณที่ไม่มากพอ รวมถึงองค์ประกอบที่ไม่แน่นอน ทำให้การเผาทิ้งเป็นการจัดการที่ดีที่สุด
- ก๊าซที่นำมาเผาทิ้งนี้ส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรคาร์บอนที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงโดยมีทั้งที่เบาและหนักกว่าอากาศ โดยเฉพาะกรณีก๊าซนั้นหนักกว่าอากาศหากปล่อยออกมาโดยไม่เผาทิ้งอาจเกิดการสะสมตัวในบริเวณใกล้เคียงแล้วเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือระเบิดได้ ดังนั้นจึงต้องกำจัดทิ้งโดยการเผาซึ่งจะให้ผลพลอยได้ออกมาคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซและน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก
ผลกระทบที่มาจาก Flare(แฟลร์) หรือหอเผาทิ้ง
- แสงสว่าง - เกิดจากการเผาไหม้ กรณีที่ระบบทำงานปกติจะมีความสว่างไม่มาก
- เสียง – อาจเกิดขึ้นได้หากเกิดความดันและอัตราการไหลสูง
- ความร้อน – เกิดจากการเผาไหม้จะทำให้ความร้อนสู่สิ่งแวดล้อมโดยการแผ่รังสี
- อากาศ – เขม่าและควันดำเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ขณะที่มลพิษทางอากาศอื่นๆนั้นก็จะมีการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนดไว้
การเฝ้าระวังและตรวจติดตามการทำงานของ Flare
มาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ
ข้อมูลเพิ่มเติม