fluorescent & Starter
โดย : Admin

การทำงานของสตาร์ทเตอร์ ในวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ (fluorescent & Starter )
 

 

หลอดฟลูออเรสเซนต์ (หรือที่เรียกว่าหลอดนีออน)  เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง ที่มีลักษณะเป็นหลอดแก้วรูปทรงกระบอก  ลักษณะทั่วไปจะเป็นหลอดตรงหรือดัดโค้งเป็นรูปอื่นๆ  เมื่อทำงานจะเปล่งแสงออกมาจากสารฟลูออเรสเซนต์ที่เคลือบอยู่บนผิวภายในของหลอด เนื่องจากถูกกระตุ้นโดยรังสีอุลตราไวโอเลตไปกระทบกับสารเรืองแสงที่เคลือบไว้ที่ผิวด้านในของหลอดซึ่งทำให้เกิดการเปล่งแสงและเกิดแสงสว่างออกมา



 


การต่อวงจร
 
วงจรของหลอดฟลูออเรสเซนส์ จะประกอบด้วยสามส่วนที่สำคัญ คือสวิตซ์ปิด-เปิดวงจร เพื่อควบคุมการทำงาน   หลอดฟลูออเรสเซนส์  บัลลาสต์ และสตาร์ทเตอร์   ซึ่งในที่นี้จะขอเน้นรายละเอียดของสตาร์ทเตอร์เป็นหลัก



สตาร์ทเตอร์

หน้าที่หลักของสตาร์ทเตอร์ในหลอดฟลูออเรสเซนต์ คือ เป็นอุปกรณ์ช่วยจุดหลอดไฟ   ซึ่งจะต่ออยู่ในวงจรดังรูป


การทำงาน เมื่อมีการจ่ายไฟหรือกดสวิทซ์ไฟ  ก็จะมีกระแสไฟฟ้าจะไหลออกจากบัลลาสท์  ไหลผ่านขั้วหลอดและผ่านสตาร์ทเตอร์  ซึ่งก็จะทำให้กระแสไหลครบวงจรและส่งผลทำให้ไส้หลอดตรงขั้วหลอดร้อนขึ้นและปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาในหลอด

โครงสร้างของสวิทซสตาร์ทเตอร์ทำจากหลอดก๊าซขนาดเล็กซึ่งบรรจุด้วยก๊าซซีนอน   และเมื่อเรากดสวิทซ์จ่ายไฟจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระโดดข้ามช่องว่างในหลอดดังรูป


 

ขั้วไฟฟ้าข้างหนึ่งของสตาร์ทเตอร์ทำด้วยโลหะติดกัน  2  ชนิดเรียกว่าไบเมทาลิค(Bimetallic)   ซึ่งโลหะดังกล่าวจะเกิดความร้อนและเกิดการบิดตัวเมื่อมีกระแสไหลผ่านและและกลายเป็นสวิตซ์ปิดวงจร

และเมื่อหลังจากที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดแล้ว กระแสไฟฟ้าก็จะไม่ไหลผ่านสตาร์ทเตอร์อีกและทำให้โลหะไบเมทาลิคเย็นลงและแยกออกจากกันกลายเป็นสวิตซ์เปิดวงจร


 ภายในสตาร์ทเตอร์คือหลอดก๊าซ



ขณะที่สตาร์ทเตอร์ต่อวงจรไฟฟ้า  การทำงานของหลอดจะอาศัยการแตกตัวก๊าซกลายเป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งในที่นี้จะต้องอาศัยพลังงานจากไส้หลอดเพื่อทำให้ก๊าซเกิดการอิออไนซ์กลายเป็นตัวนำไฟฟ้า   ซึ่งต้องอาศัยแรงดันไฟฟ้าในระดับที่สูงกว่าปกติทั่วไปเพื่อทำให้ก๊าซเกิดการแตกตัว

จากหลักการดังกล่าวในวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์นี้จึงจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัวซึ่งเรียกว่า "บัลลาสต์"

 

การต่อสตาร์ทเตอร์เข้าก้บบัลลาสต์    

หน้าที่สำคัญของบัลลาสต์คือเป็นตัวเพิ่มแรงดันไฟฟ้าเพื่อเพียงพอที่จะทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นอิออน และเรียกว่าสถานะนี้ว่า  พลาสม่า   และมีผลทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้   (อิเล็กตรอนไหลออกจากไส้หลอด ผ่านพลาสม่า จุดหลอดให้ติดขึ้น  )

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)