Soldering Iron หัวแร้งบัดกรี
โดย : Admin

หัวแร้งบัดกรี Soldering Iron

 


หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในงานช่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับช่างอิเลคทรอนิกส์และช่างไฟฟ้า  ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้เชื่อมและประกอบอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเข้ากับแผ่นวงจร หรือ เชื่อมต่อ่เข้าด้วยกัน   นอกจากนั้นก็ยังมีฟังก์ชั่นรองลงมาอีกก็คือใช้เจาะรูพลาสติก ใช้เป็นเครื่องมือเกาะกลักลายไม้ด้วยความร้อนหรือแม้กระทั่งการวาดลายผ้า ฯลฯ ในกลุ่ม DIY

หัวแร้งที่ ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ หลายขนาดตามลักษณะการใช้งาน   แต่โดยส่วนมากแล้ว หัวแร้งที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปจะเป็นแบบหัวแร้งแช่ จนบางท่านอาจไม่รู้เลยว่ายังมีหัวแร้งแบบอื่นๆ อีก

 



หัวแร้งที่ใช้ในงานบัดกรีและเชื่อมประสาน Soldering Iron  จะแยกออกเป็น 2  กลุ่ม คือ กลุ่มหัวแร้งรุ่นเก่าชนิดเผาด้วยถ่านและหัวแร้งแบบใหม่ที่ไฟฟ้า และแก๊สหรือแบตเตอรี่ ชนิดที่เป็นแบบพกพา  แต่สำหรับในที่นี้จะขอแนะนำเฉพาะกลุ่มหัวแร้งกลุ่มที่สองซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมทั่วไปเท่านั้น  ซึ่งแยกประเภทเป็นแบบต่างๆดังนี้


หัวแร้งแช่ (Soldering iron)


หัวแร้งแบบนี้ เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน  ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของช่างอิเลคทรอนิกส์ ช่างไฟฟ้า และนักประดิษฐ์ทั่วไป ซึ่งขนาดของหัวแร้งแช่นี้ ถูกแบ่งตามกำลังวัตต์ ซึ่งหากมีกำลังวัตต์ต่ำ ความร้อนก็ต่ำ แต่หากมีกำลังวัตต์สูงความร้อนก็จะสูงตาม เช่น 60W  80W  100W  เป็นต้น

ข้อดี : ใช้งานง่ายมีกำลังวัตต์ให้เลือกซื้อมาใช้งานตามความต้องการ มีอะไหล่ขายอยู่ทั่วไปทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
ข้อเสีย :  เมื่อจะนำไปใช้งานต้องรอให้ความร้อนถึงจุดใช้งานก่อน  หากจ่ายไฟเลี้ยงหรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้ปลายของหัวแร้งเสียหายได้

 

 

หัวแร้งปืน (Soldering gun)


หัวแร้งบัดกรีแบบนี้จะรูปลักษณ์จะมีด้ามจับเหมือนปืนและมีปุ่มเร่งความร้อนเหมือนไกปืน ด้วยลักษณะพิเศษที่มีปุ่มเร่งความร้อนได้นี้เองจึงเป็นที่นิยมของช่างที่ชอบความรวดเร็ว  กดเร่งปุ๊บ ร้อนปั๊บ

การทำงานของหัวแร้งปืนนั้นจะเหมือนกับหัวแร้งแช่ แต่จะแตกต่างกันตรงที่หัวแร้งแบบนี้จะมีขดลวดความร้อนหรือฮีตเตอร์ (heater) ภายในจะมีอยู่ 2 ขด โดยจะมีขดลวดความร้อนต่ำและขดลวดความร้อนสูง  การใช้งานขึ้นอยู่กับปุ่มเร่งความร้อนที่มีลักษณะเหมือนไกปืน


***  ถ้าไม่มีการกดปุ่มนี้จะเป็นการใช้ขดลวดความร้อนต่ำ แต่เมื่อมีการกดปุ่มเร่งความร้อนจะเป็นการเปลี่ยนให้ขดลวดความร้อนสูงทำงานแทน

ข้อดี    : ใช้งานสะดวก มีปุ่มเร่งความร้อนทำให้สามารถบัดกรีในจุดที่ต้องการใช้ความร้อนสูงได้
ข้อเสีย : ถ้ามีการกดปุ่มเร่งความร้อนเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้ด้ามจับเกิดความเสียหายได้ รวมทั้งจะมีผลต่อขดลวดความร้อนด้วย



หมายเหตุ : หัวแร้งปืนในอดีตเป็นหัวแร้งที่ให้ความร้อนจากขดลวดทองแดงใช้กำลังไฟฟ้าสูงหลัก 100 วัตต์ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะกินไฟมากประกอบกับอุปกรณ์และลายทองแดงในสมัยนี้มีขนาดเล็กลง จึงไม่เหมาะในการนำไปใช้งานเพราะจะทำให้อุปกรณ์และลายทองแดงเสียหาย และมีราคาแพงกว่าหัวแร้งแช่ที่มีปุ่มเร่งความร้อน
 

 

หัวแร้งไร้สาย (Cordless Soldering Iron)

หัวแร้งไร้สายเป็นหัวแร้งที่เหมาะสำหรับงานนอกสถานที่ งานที่ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ เช่น บนเสาสัญญาณสูง ๆ บนดาดฟ้า เป็นต้น

 

  หัวแร้งแก๊ส (Portable gas soldering)



หัวแร้งชนิดนี้เป็นชนิดที่ใช้แก๊สให้ความร้อนแทนการใช้ไฟฟ้า ดังนั้นจึงสะดวกสำหรับการพกพาไปใช้งานตามสภานที่ต่างๆ  หัวแร้งแก๊สจะให้ความร้อนได้สูงสุดประมาณ 1,300 องศาเซลเซียส หรือ 2,400 อา ศาฟาเรนไฮต์

หัวแรงแบบนี้สามารถปรับความร้อนได้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่เราต้องการ โดยการใช้งานจะมีลักษณะเดียวกับเตาแก๊สในครัว กล่าวคือจะวาล์วใช้ เปิด ปรับ ปิด ปริมาณแก๊ส โดยหัวแร้งแก๊สมี 2 ลักษณะคือ หัวแร้งแก๊สแบบปากกาและแบบปืน

ข้อดี   : มีขนาดกระทัดรัด พกพาง่ายใช้งานสะดวกทุกสถานที่ สามารถใช้งานในลักษณะอื่นที่นอกจากการบัดกรีก็ได้
ข้อเสีย : การใช้หัวแร้งแก๊สนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังพิเศษ และต้องเก็บรักษาไว้ในที่ๆ อุณหภูมิไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะกระป๋องแก๊สสำหรับบรรจุแก๊ส


 
 *** หัวแร้งแก๊สเป็นหัวแร้งที่เหมะสำหรับงานนอกสถานที่ใช้เป็นครั้งคราว ต้องตรวจสอบก่อนใช้งานทุกครั้งเพราะอย่าลืมหัวแร้งตัวนี้ใช้แก๊ส อาจจะระเบิดได้



หัวแร้งไร้สายแบบใช้แบตเตอร์รี่ (Cordless Batteries Soldering Iron)

 


หัวแร้งที่ใช้แบตเตอรี่จะมีลักษณะคล้ายหัวแร้งแก๊ส  การนำไปใช้งานก็เหมือน ๆ กัน ต่างกันตรงที่ หัวแร้งที่ใช้แบตเตอรี่จะใช้ถ่าน AA 3 ก้อนซึ่งจะมีความปลอดภัยมากกว่าหัวแร้งแก๊ส



หัวแร้งที่ นำมาแนะนำนี้เป็นเพียงแค่บางส่วนซึ่งเป็นชนิดที่นิยมทั่วไปเท่านั้น ซึ่งไม่รวมถึงหัวแร้งบัดกรีที่ใช้ในงานเชื่อมประสานอื่นๆ เช่นหัวแร้งแบบหัวฆ้อน หรือแบบหัวแบน เป็นต้น

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)