ไดแอค ( Diac )
โดย : Admin

ไดแอค ( Diac ) คืออะไร


 



ไดแอค(Diac) หรือไดโอด-แอก เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่อยู่ในกลุ่มของของไทริสเตอร์ มี 2 ขั้วคือ ขั้วแอโนด 1 (Anode1,A1) และขั้วแอโนด 2 (Anode2,A2) เพราะไดแอคสามารถนำกระแสได้สองด้าน ไดแอคสามารถนำไปใช้กับแรงดันไฟฟ้าสลับและแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงได้
 



โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอค ( DIAC )

ไดแอคเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มี 3 ตอนใหญ่ชนิดสาร PNP และยังประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ 2 ตอนย่อยชนิด N ต่อร่วมในสารกึ่งตัวนำชนิด P    โดยที่ทั้ง 2 ตอนด้านนอกจะมีขาต่อออกมาใช้งานเพียง 2 ขา แต่ละขาที่ต่อใช้งานจะต่อร่วมกับสารกึ่งตัวนำทั้งชนิด N และชนิด P จึงทำให้ไดแอคสามารถทำงานได้ทั้งแรงดันไฟบวกและแรงดันไฟลบ กล่าวคือไดแอคสามารถนำกระแสได้ทั้ง 2 ทางที่ระดังแรงดันค่าหนึ่ง   โดยขาแอโนด1 (Anode1,A1) เรียกว่า ขาเทอมินอล 1 (Main Terminal 1 หรือ MT1)  และขาแอโนด2 (Anode2,A2) เรียกว่า ขาเทอมินอล 2 (Main Terminal 2,MT2 ) โดยแต่ละขาสามารถต่อสลับกันได้


 



การทำงานของไดแอค

ไดแอคมี 2 ขา แต่สามารถทำงานได้ทั้งกับแรงดันช่วงบวกและแรงดันช่วงลบ หรือนำกระแสได้ทั้ง 2 ทิศทาง ดังนั้นในการใช้งานจึงไม่จำเพาะเจาะจงในการต่อวงจร ใช้ขาด้านใดด้านหนึ่งต่อเข้าวงจรก็จะได้คุณสมบัติเหมือนกัน การทำงานของไดแอคเปรียบเหมือนกับชอคเลย์ไดโอด 2 ตัวต่อกลับหัวกัน (ฺBack to back connection) ดังขวามือสุดรูปด้านบน

***  ไดแอคนำกระแสได้สองทิศทางโดยจะอาศัยช่วงแรงดันพังทลาย (Break Over Voltage) เป็นส่วนของการทำงาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
 


 รูปซ้ายมือ : ป้อนแรงดันบวก (+) เข้าที่ขา A1 และแรงดันลบ (-) เข้าที่ขา A2 
รูปซ้ายมือ : ป้อนแรงดันลบ (-) เข้าที่ขา A1 และแรงดันบวก (+) เข้าที่ขา A2

 

กราฟลักษณะสมบัติ  diac vi characteristics




 

   เงื่อนไขการนำกระแส และการหยุดนำกระแส

    1.  ไดแอคจะนำกระแสเมื่อได้รับแรงดันถึงจุดพังทลาย(Break Over Voltage ; UBR)
    2.  เมื่อไดแอคนำกระแสความต้านทานภายในไดแอคจะลดลงเนื่องจากรอยต่อ PN แคบลงทำให้แรงดันตกคร่อมไดแอคลดลง
    3.  ไดแอคจะหยุดนำกระแส เมื่อกระแสไหลผ่านไดแอค มีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง (Holding Current ; IH)


ตัวอย่าง ค่าแรงดันของไดแอคเบอร์ต่างๆ

            GT – 32 แถบสีแดง        VBO = 27-37 V

            GT – 35 แถบสีส้ม          VBO = 30-40 V

            GT – 40 แถบสีเหลือง    VBO = 38-48  V

            GT – 50 แถบสีเขียว       VBO = 56-70 V



การตรวจเช็คไดแอคด้วยโอห์มมิเตอร์

สามารถตรวจสอบไดแอคได้โดยใช้มัลติมิเตอร์วัด ตั้งมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัด Rx1 แล้วทำการวัดสลับสายดังนี้

 


ซ้ายมือ :   ทำการวัดสลับสายกัน ถ้าเข็มมิเตอร์ชี้ที่ ∞ ทั้งสองครั้งแสดงว่าไดแอคมีสภาพดี
ขวามือ:  ทำการวัดสลับสายกัน ถ้าเข็มมิเตอร์ชี้ไปที่ค่าความต้านทานค่าค่าหนึ่งแสดงว่าไดแอคช็อต

 


 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

 


การใช้ไดแอค ทำหน้าที่ในวงจรคอนโทรลหรือวงจรจุดชนวนให้กับไตรแอค (Triac)
 

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)