วงจรอนุกรม ขนาน ผสม
โดย : Admin

วงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม

 

ลักษณะวงจรไฟฟ้าโดยทั่วไปจะประกอบด้วย 3 แบบด้วยกัน คือ วงจรอนุกรม  วงจรขนาน และวงจรแบบผสม ดังต่อไปนี้




วงจรอนุกรม

    วงจรอนุกรมคือ การนำโหลดมาต่อเรียงกัน โดยให้ปลายของโหลดตัวแรก ต่อกับปลายของโหลดตัวถัดไป หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง การนำโหลดตั้งแต่สองตัวมาต่อเรียงกันไปแบบอันดับ ทำให้กระแสไหลทิศทางเดียวกัน ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้    ( รูปด้านซ้ายมือเป็นการใช้ตัวต้านทานแทนโหลดทั่ว ๆไป  ส่วนรูปขวามือเป็นการใช้โหลดไฟเป็นตัวแทนโหลดทั่วๆไป)

 

 การคำนวณค่าความต้านทานแบบอนุกรม



 


วงจรขนาน
    วงจรขนานคือ การนำโหลดมาต่อขนานกันหรือต่อคร่อมกัน ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปโดยนำจุดต่อของปลายทั้งสองข้างของโหลดแต่ละตัวมาต่อร่วมกัน (ในที่นี้จะขอใช้ตัวต้านทานแทนโหลดทั่ว ๆ ไป)


การคำนวณค่าความต้านทานแบบขนาน

       -   การคำนวณกรณีมีตัวต้านทานขนานกัน 2 ตัว

 


  - การคำนวณกรณีมีตัวต้านทานขนานกัน 2 ตัวขึ้นไป



วงจรผสม
   
วงจรผสมคือ วงจรที่มีการนำโหลดมาต่ออนุกรมและขนานร่วมกันภายในวงจรเดียวกัน (ในที่นี้จะขอใช้ตัวต้านทาน แทนโหลดทั่ว ๆ ไป)




 การคำนวณค่าความต้านทาน

     การคำนวณค่าความต้านทานจะใช้วิธีพิจารณาวงจร ในกรณีที่ต่อแบบอนุกรมจะนำค่าความต้านทานมาบวกกัน ในกรณีที่วงจรต่อแบบขนานก็จะใช้สูตรขนานในการคิดคำนวณ จากรูปด้านบน สามารถที่จะคำนวณค่าความต้านทานได้ดังนี้



จากรูปวงจร จะเห็นว่าด้านขวามือมีโหลดหรือตัวต้านทาน3 ตัว ต่ออนุกรมกันอยู่คือ  R2, R3 และ R4  ซึ่งหากนำมารวมกันก็จะมีค่า = 20   และทำกำหนดค่าความต้านนี้ใหม่เป็น RT1  จากนั้นให้ทำการเขียนวงจรใหม่และทำการคำนวณตามลักษณะวงจรในอันดับถัดไป
 

จากวงจรใหม่ จากรูป จะเห็นว่า RT1 จะต่อขนานกับ R5  ดังนั้นจะต้องใช้สูตรการคำนวณการขนานที่มีโหลดหรือความต้าน 2 ตัว  และหลังจากคำนวณแล้วก็จะผลลัพธ์ = 10   และตั้งชื่อใหม่เป็น RT2



จากนั้นก็ทำการเขียนวงจรใหม่  ซึ่งจากรูปวงจรใหม่ที่แสดงก็จะเป็นว่าค่าความต้านทานที่เหลือจะต่ออนุกรมกัน ซึ่งหากรวมค่าเข้าด้วยกันก็จะได้ผลลัพธ์ซึ่งเป็นคำตอบสุดท้าย = 20   ดังนี้



คลิปตัวอย่างการคำนวณหาค่าความต้านทรานรวมในวงจรผสม





  คำถามท้ายบท


ที่มา : http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/book-06.htm

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)