การช่อมพัดลมตั้งโต๊ะ
โดย : Admin

หลักการทำงาน การบำรุงรักษา และการซ่อมบำรุง

 
พัดลมไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากจะช่วยคลายความร้อนจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว หลักการของพัดลมไฟฟ้ายังเป็นส่วนหนึ่งของระบบระบายความร้อน ที่ถูกใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จนถึงระบบระบบความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

 

 

การทำงานของพัดลมตั้งโต๊ะ
พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือเร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุน ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดเป็นลมพัดออกมา

 

 

 

เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 1 กระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลท์ผ่านฟิวส์ไหลเข้าแคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท  L 1      เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1 ไหลไปผ่านสวิทซ์ S1 (สวิทซ์เบอร์ 1 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน ในจังหวะนี่เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มอยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน ) ไหลผ่านผ่าน L3 และ L2 ผ่านสวิทซ์ S1 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 1 ซึ่งเป็นความเร็วที่ช้าที่สุด (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL L3 และ L2 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานมากที่สุด กระแสจึงไหลได้น้อย ความเร็วในการหมุนจึงน้อยลงไปด้วย )

 



 

เมื่อกดเบอร์2   กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวด MAIN COIL และ L3 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยกว่าการกดเลือกที่เบอร์ 1   กระแสจึงไหลได้มากขึ้นซึ่งความเร็วในการหมุนก็เพิ่มไปด้วย

และเมื่อกดสวิทซ์เบอร์3   กระแสจะไหลผ่านเฉพาะขดลวด MAIN COIL เพียงอย่างเดียว ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยที่สุดกระแสจึงไหลได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเบอร์ 1 และเบอร์ 2  ความเร็วในการหมุนจึงมากที่สุด


อ้างอิง  https://pantip.com/topic/35372340



 

การบำรุงรักษาเเละข้อควรระวัง


การบำรุงรักษาพัดลมตั้งโต๊ะ 

หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับ และดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหักหรือชำรุด หรือโค้งงอผิดส่วน จะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง

หมั่นทำความสะอาดช่องลมบริเวณฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

ทำความสะอาดมอเตอร์พัดลม เนื่องจากฝุ่นละอองมีโอกาสเข้าไปในมอเตอร์พร้อมกับลมได้ ถ้ามีรูหยอดน้ำมันก็ควรหยอดน้ำมันทุก ๆ 6 เดือน ถ้าพัดลมสั่นเนื่องจากความไม่สมดุลควรแก้ไขทันที เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ บูช เสียเร็วขึ้น


วิธีการบำรุงรักษาที่เหมาะสมและถูกวิธีในแต่ละกรณี

1.กรณีที่ไม่สกปรกมาก ให้ถอดตะแกรงแล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด ๆ  เช็ดตะแกรงด้านนอกและด้านในของพัดลม

 




2.ถ้าฝุ่นละอองและหยากไย่เกาะ มีคราบน้ำมันหรือความชื้นมาก ให้ใช้แปรงทำความสะอาด

 

 

 

 

3.กรณีที่มีฝุ่นเกาะอยู่ในที่ลึก ผ้าและแปรงปัดออกไม่หมด หรือมีชิ้นส่วนปิดบังให้ใช้ลูกยางเป่า




 

4.กรณีที่สกปรกมาก  ควรถอดชิ้นส่วนทั้งหมดออกตั้งแต่ฝาตะแกรงครอบด้านนอก ปุ่มยึดใบพัดกับแกน ใบพัด ฝาตะแกรงครอบด้านใน นำไปล้างในอ่างน้ำหรือถังน้ำ แล้วแช่น้ำในผงซักฟอก น้ำยาเช็ดทำความสะอาด ล้างด้วยน้ำสะอาด นำผึ่งให้แห้งแล้วประกอบเข้าที่เดิม

 
 

 



ข้อควรระวังในการใช้พัดลมตั้งโต๊ะ

- ดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง ก่อนถอดประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆของพัดลม
- ไม่ควรตั้งพัดลมในที่ที่เปียกน้ำ หรือในที่ที่มีอุณหภูมิสูงมาก ๆ เช่น ในบริเวณที่ใกล้เตาไฟ
- ขณะที่ใบพัดลมกำลังหมุนห้ามใช้นิ้วมือหรือสิ่งของต่าง ๆ แหย่เข้าไปในตะแกรงพัดลม


วิธีใช้พัดลมเพื่อให้ประหยัดพลังงาน

- ควรใช้พัดลมตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะแทนพัดลมติดเพดานเพราะจะกินไฟน้อยกว่าพัดลมติดเพดาประมาณครึ่งหนึ่ง
- อย่าเปิดพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนอยู่
- เมื่อเลิกใช้แล้วควรปิดพัดลมและถอดปลั๊กออก
- ปรับระดับความเร็วลมพอสมควร
- เลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้


การประกอบชิ้นส่วนของพัดลมตั้งโต๊ะ

      สิ่งที่ถอดมาทีหลังให้นำใส่เข้าก่อน สังเกตสัญลักษณ์พวกลูกศร ปุ่มล็อกต่าง ๆ ให้ดี ดังภาพประกอบ

 
อ้างอิง http://119.46.166.126/self_all/selfaccess7/m1/527/lesson3/lesson.php

 

 

 


อาการ สาเหตุ แนวทางแก้ไข

 

อาการ

สาเหตุ

แนวทางการแก้ไข

1.พัดลมไม่หมุน

   ·  มอเตอร์เสีย

   ·  สายไฟขาด

· ให้เปลี่ยนแกนใหม่ แล้วก็เปลี่ยนบุชหน้าหลัง
· เปลี่ยนสายไฟ AC

2.พัดลมหมุนช้า

  · Capacitorเสื่อมสภาพ

· เปลี่ยนตัว Capacitor ที่ทำงานกับมอเตอร์

3.มอเตอร์ของพัดลมมีเสียงดัง

· บุชหลวม ทำให้พัดลมมีอาการสั่น

· แกะบุชออกและทำความสะอาด

4.อาการฝืด

· แกนและบุชมีระยะเวลาการใช้งานที่นานแล้วมันจึงมีอาการสึกจนฝืด

· ควรเปลี่ยนทั้งแกนและบุช วิธีเช็คดูลองเอาน้ำมันหยอดก่อน

 

5. ใบพัดของพัดลมแตก

· ตัวฝาเกลียวล็อคใบพัดมันคลายตัวหรือ ลวดตะแกรงฝาครอบ มีบางส่วนบิดงอ

· ซื้อใบพัดลมใหม่มาเปลี่ยน

 



 
ซ่อมแซมจุดที่ชำรุดเบื้องต้น  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ประกอบ 4 ขั้นตอน ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1 
  - การสังเกต   ตรวจดูพัดลมที่ไม่หมุน พบว่า สายไฟเป็นรอยหักและที่ปลั๊กเสียบ  จากการสังเกตจะพบสายไฟที่ต่อภายในดูไม่แน่นขยับได้
 



ขั้นตอนที่ 2  การวิเคราะห์
  - ตำแหน่งที่สายมีรอยหักสายไฟภายในอาจหักชำรุด 


ขั้นตอนที่ 3  สร้างทางเลือกเพื่อการซ่อมแซม
   - แสดงการต่อสายไฟแบบหางหมูพร้อมการบัดกรีด้วยหัวแร้ง 

 
ขั้นตอนที่ 4  ประเมินทางเลือก
   - เมื่อพบว่าสายไฟที่ขั้วยึดปลั๊กเสียบคลายตัว ได้ทำการซ่อมแซมพันสายไฟที่ขั้วปลั๊กเสียบด้วยการใช้ไขควงขันให้แน่น   ส่วนรอยหักที่สายไฟได้ทำการซ่อมแซมต่อเชื่อมพันสายบัดกรีจนแน่น พร้อมพันสายไฟด้วยเทปแน่นสนิท
    

แสดงการซ่อมแซมบัดกรีสายไฟที่ขาดใน พร้อมพันเทปรอบรอยต่อ ป้องกันอันตรายเมื่อใช้งาน

การตรวจสอบสภาพทั่วไป ของความเร็วของพัดลมและการส่ายปรับทิศทางลม ดังนี้

การปรับความเร็วลม

    -  เริ่มต้นใช้งาน กดปุ่มใดปุ่มหนึ่ง (1 2 หรือ 3) ตามต้องการ
    -  กดปุ่มเบอร์ 0   เมื่อต้องการเลิกใช้งาน หรือหยุดการทำงาน
    - กดปุ่มเบอร์ 1   เมื่อต้องการลมอ่อน
    - กดปุ่มเบอร์ 2   เมื่อต้องการลมแรงปานกลาง
    - กดปุ่มเบอร์ 3   เมื่อต้องการลมแรง

การปรับส่ายซ้ายขวา
    - กดปุ่มควบคุมการส่ายลง พัดลมจะ ทำการส่าย
    - ดึงปุ่มควบคุมการส่ายขึ้น พัดลมจะหยุด ส่าย

 
การปรับทิศทางลม

   - สามารถปรับทิศทางลมขึ้น – ลง  ซ้าย – ขวา โดยการปรับที่ส่วนของมอเตอร์

 

 

อ้างอิง https://www.sanook.com/home/10449/ /  อ้างอิง https://pantip.com/topic/33408587

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)