อาการที่ทำให้มอเตอร์เสียหาย
โดย : Admin

ความเสียหายของมอเตอร์ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?


คลิป  การต่อมอเตอร์ ... ต่ออย่างไรไม่ให้เกิดการเสียหาย

 

1. เลือกขนาดของมอเตอร์ไม่เหมาะสมกับโหลด (ใส่มอเตอร์ขนาดเล็กเกินไป) สังเกตจากกระแสรันมอเตอร์กับเครื่องจักรตัวเปล่าๆ ขณะที่ยังไม่ป้อนโหลดลงเครื่องจักรกระแสก็เกือบเต็มโหลดของมอเตอร์แล้ว อย่างนี้รันจริงมอเตอร์ไหม้แน่นอน

2. ต่อวงจรภายในขดลวดของมอเตอร์ผิด ( พาดบัสบาร์สตาร์/เดลต้าผิด ไม่ตรงกับแรงดันไฟของแหล่งจ่ายไฟท่ีต่อมาใช้งาน )ทำให้รันตัวเปล่ามอเตอร์ก็กินค่ากระแสมากหรือน้อยผิดปกติ แต่พอรันจริงมอเตอร์ควันขึ้นทันที

3. มีการออกแบบทางด้านแมคคานิคที่ไม่ดี ตัวอย่างเช่น การทดพู่เลย์สายพานที่ผิด ทำให้มอเตอร์กินกระแส เกินกำลังของมอเตอร์มากเกินไป พอเครื่องจักรทำการป้อนโหลดลงเครื่องกระแสก็จะเกินขนาดของมอเตอร์เมื่อเกินเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเป็นสาเหตุททำให้มอเตอร์ไหม้ได้

4. เนื่องจากมอเตอร์เป็นโหลดที่กินกระแสที่สูงอยู่แล้ว การเชื่อมต่อที่จุดเชื่อมต่อจึงต้องใช้หางปลา น๊อตขันล็อกให้แน่นเพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมจากจุดต่อที่ไม่แน่นจนทำให้สายไฟภายในมอเตอร์ร้อนจนละลายไหม้ จนต้องนำมอเตอร์ไปพันใหม่"

 


 

#ปัญหาจากการใช้งาน

1. จำนวนครั้งในการสตาร์ทมอเตอร์บ่อยครั้งจนเกินไป จนมอเตอร์เกิดความร้อนสะสมภายในขดลวดสูง จึงเป็นสาเหตุให้ฉนวนภายในมอเตอร์เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติจากสาเหตุความร้อนสะสมภายในมอเตอร์

2. เป็นโหลดที่ไม่คุ้นชิน เลยไม่ได้เผื่อขนาดของมอเตอร์ให้มีขนาดที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น พัดลม หรือ ปั๊มนำ้ ตอนเริ่มสตาร์ท มอเตอร์ จะกินกระแสสตาร์ทที่สูง พอรันได้รอบของมอเตอร์กระแสก็จะลดลงตำ่ลง ในการออกแบบจึงต้องมีการเผื่อขนาดของมอเตอร์ให้ใหญ่เพียงพอท่ีสตาร์ทแล้วมอเตอร์ไม่ไหม้

3. มอเตอร์หมุนผิดทิศทางที่เครื่องจักรต้องการเลยทำให้มอเตอร์กินกระแสสูงอยู่เป็นเวลานาน โดยที่ผู้ใช้งานไม่ทราบ

4. มอเตอร์ตัวเก่าเสียเลยนำมอเตอร์ตัวใหม่มาเปลี่ยนทดแทน ที่ไม่ใช่ Spec เดิม แต่มีขนาดของแรงม้า (Hp) หรือ กิโลวัตต์ (Kw) เท่าเดิม เช่นรอบของมอเตอร์ สูงขึ้นจากเดิม คือ จากมอเตอร์ 4 Pole (1,450 รอบ) เปลี่ยนมาใช้เป็นมอเตอร์ 2 Pole (2,900 รอบ) เป็นต้น

5. แรงดันไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายมีค่าเกือบเท่าหรือตำ่กว่าพิกัดของมอเตอร์ที่ต้องการ และแรงดันยิ่งตกมากยิ่งขึ้นเมื่อมอเตอร์เริ่มทำการสตาร์ท จนมอเตอร์สตาร์ทเสร็จสิ้นแล้ว แรงดันไฟฟ้าก็ยังตกอยู่เช่นเดิม จนค่าแรงดันที่ตกเป็นสาเหตุทำให้แรงบิดของมอเตอร์ลดตำ่ลง จนทำให้มอเตอร์กินกระแสสูงกว่าปกติจนเป็นสาเหตุให้โอเวอร์โหลดตัดการทำงาน หรือไหม้ไปก่อนที่โอเวอร์โหดจะทำการตัด

6. ไฟจากแหล่งจ่ายมาไม่ครบเฟส เป็นผลให้กระแสแต่ละเฟสไม่เท่ากัน ทำให้มอเตอร์ไหม้ไปบางขดได้
 

#ปัญหาจากระยะเวลาในการใช้งานและถึงจนถึงระยะเวลาที่ต้องทำการซ่อมบำรุง

1. ลูกปืนแตก เริ่มมีเสียงดังผิดปกติ
2. ฉนวนของมอเตอร์เริ่มเสื่อมสภาพเนื่องจากอายุขัยในการใช้งานท่ีถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน

 

CR:  FB  บริษัท โนเวมเอนจิเนียริง จำกัด
ซอยอ่อนนุช 24 (พึ่งมี11 แยก 11)
โทร 02-331-9941-3 ,02-742-0716-23
ผลิต/จำหน่าย/ซ่อม อินเวอร์เตอร์เพื่อปรับรอบเครื่องจักร



 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)