เรื่องเล่า Power SRC
โดย : Admin

ท่านทราบไหมว่า   SCR  ที่เห็นนี้ราคาตัวละเท่าไหร่ ?
.

(ดูเฉลยด้านล่าง)

 

     หากพูดถึงเรื่อง SRC   ผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงได้สัมผัสและคุ้นเคย โดยเฉพาะ SRC ขนาดเล็กๆขนาดประมาณเท่าๆกับเม็ดถัว หรือ ไม่ก็ขนาดเท่ากับประมาณหัวน๊อต หรือหากใหญ่ขึ้นไปหน่อยก็ขนาดประมาณเท่าแบตเตอร์รี่ไฟฉาย     แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่ๆ ประมาณเท่ากับซาลาเปา ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงไม่คุ้นเคย และจินตนาการไม่ออกว่ามันเอาไปใช้อะไร

 

   สำหรับบทความนี้ ผมจะนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังว่าไอ้เจ้า Power SCR  ขนาดใหญ่ๆประมาณนี้ มันเอาไปประยุกต์ใช้กับงานอะไร   ซึ่งผมผมจะใช้ภาพเล่าเรื่องให้ฟัง     ลองติดตามไปดูกันนะครับ


  

 

  

 

 การใช้งาน
 


ก่อนนำไปประกอบเป็นวงจรเพื่อใช้งาน   ก็ต้องนำเอาแต่ละตัวมาประกอบเข้ากับวงจรจุดชนวนก่อน (Firing circuit)

 


เมื่อประกอบแต่ละยูนิดหรือแต่ละตัวเรียบร้อยแล้ว  ก็นำมาประกอบเป็นวงจร Control  Rectifier  ซึ่งใช้ทั้งหมด 6 ยูนิตด้วยกัน


รูปวงจรภาคกำลัง ( Power) ของวงจร AC-DC Converter  หรือที่นิยมเรียกกันว่าวงจร Rectifier
*** ในอุตสาหกรรมหนักหรืองานที่ใช้มอเตอร์ขนาดใหญ่  ส่วนมากจะใช้วงจร Three Pahse Full Controled Rectifier  หรือเรียกย่อๆว่า B6C เป็นหลัก

 

ความหมายของ B6C 

B = วงจรบริดจ์เร็กติไฟร์ (ฺBridge Recitifier)
6 = จำนวนพัลส์หรือลูกคลื่นทางด้านเอาท์พุต ซึ่งถ้าเป็นวงจรเรียงกระแสแบบสามเฟสจะมีเอาท์พุท 6 คลื่นซึ่งก็จะเรียกว่า B6
C =  Control , ถ้าเป็นวงจรเรียงกระแสแบบใช้ ไดโอดตัวย่อก็จะไม่มี C ลงท้ายเพราะไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าเป็น SRC ซึ่งสามารถควบคุมได้ก็จะมี C ต่อท้าย

 

 
ตัวอย่างตู้ควบคุม SCR

 


ตัวอย่าง DC Module ของ Ross  Hill Electronics

  DC Module (ดีซี โมดูล) 
ดีซีโมดูล ซึ่งเป็นชุดควบคุมการทำงานของ SCR  โดยการส่งสัญญาณเอาท์พุทออกไปควบคุมการจุดชนวนของ SCR   ซึ่งระบบควบคุม SCR รุ่นเก่าๆ จะเป็นแบบ อะนาลอก โมดูล  

การปรับจูน ก็ต้องอาศัยการปรับค่าความต้านทานหรือใช้ decade resistor box  ปรับจูนให้ได้ค่าresistor ที่แน่นอนก่อนจากนั้นจึงทำการบัดกรีติดตั้งถาวรเข้ากับวงจร

ส่วนค่าที่ต้องปรับจูนหลักๆ จะประกอบด้วย  PID   การลิมิตกระแส/ทอร์ค การปรับค่า Dead Band   และอื่นๆ

 ***  โดยทั่วไปถ้าเป็นระบบ  DC Drives ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมาก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ DC drives สำเร็จรูปที่มีทั้ง ชุดควบคุมและวงจรกำลังรวมอยู่ในแพ็คเก็จเดียวกัน    แต่ถ้าเป็นโปรเจ็คใหญ่ มอเตอร์ขนาดใหญ่มากๆ  ก็จะประกอบเป็นตู้ SCR และแยกชุดคอนโทรลออกจากกัน 

 

การประยุกต์ใช้งาน

   ระบบขับเคลื่อนดีซี ขนาดใหญ่ๆ นี้ ส่วนใหญ่จะประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนเรือสินค้า   เครนยกตู้คอนเทนเนอร์ตามท่าเรือ  มอเตอร์ขับลูกรีดในโรงรีดเหล็ก  และอุปกรณ์ในการขุดเจาะน้ำมัน เช่น Mud Pump  Top Drive และ draw work เป็นต้น

หมายเหตุ :   การขับเคลื่อนระบบดีซี  นั้นถือว่าเป็นเทคโนโลยีเก่า  แต่ก็ยังคงมีใช้อยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบหรือเครื่องจักรที่มีการติดตั้งใช้งานมานานแล้ว ซึ่งก็ยังต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านนี้อยู่พอสมควร
แต่ถ้าเป็นระบบหรือเครื่องจักรที่สร้างขึ้นมาใหม่เช่น เรื่อสินค้า  แท่นเจาะน้ำมัน  หรือเครนยกตู้ และอื่นๆ   ปัจจุบันส่วนใหญ่ลูกค้ามักจะเลือกใช้ AC drives เข้ามแทนที่
ครับ

 


ตัวอย่างเครนยกตู้สินค้า ที่ใช้ตามท่าเรือต่างๆ


Mud Pump  หรือ ปั๊มโคลนขุดเจาะที่ใช้บนแท่นเจาะน้ำมัน


การประยุกต์ใช้งานที่โรงรีดเหล็ก


การใช้ขับเคลื่อน draw work บนแท่นเจาะน้ำมัน

 

 

เฉลย :  หากพิจารณาราคาที่ติดที่ถุงจะเห็นว่า SRC นี้ราคา 250.75 USD / ตัว หรือ (250.75 * 32 =  แปดพันกว่าบาทต่อตัวครับ)

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)