ความหมายของตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor : PF)
จากนิยามของตัวประกอบกาลังไฟฟ้าแสดงให้เห็นว่า ระบบไฟฟ้าใดที่มีตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำ นั่นคืออัตราส่วนระหว่างกาลังไฟฟ้ารีแอคทีฟหรือกำลังไฟฟ้าเสมือน (kVar) ต่อกำลังไฟฟ้าจริง (kW) มีค่าสูง ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียทั้งในระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าและของผู้ใช้ไฟฟ้าเอง
ดังนั้นประสิทธิภาพของการจ่ายไฟฟ้าในกรณีระบบที่มีตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำ จะต่ำกว่าระบบที่มีตัวประกอบกำลังไฟฟ้าสูง ทั้งนี้เป็นเพราะอาจเกิดแรงดันไฟฟ้าตก กระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ามีค่าสูงขึ้นและทำให้เกิดกำลังไฟฟ้าสูญเสียในระบบไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งเราสามารถใช้ค่าตัวประกอบกาลังไฟฟ้านี้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของการจ่ายไฟฟ้าได้
สาเหตุที่ต้องปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้สูงขี้น
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำ มีผลทำให้ระบบการจ่ายไฟฟ้ามีคุณภาพต่ำไปด้วย เนื่องจากประโยชน์ที่จะได้รับจากกำลังไฟฟ้าจริง (kW) ในระบบไฟฟ้าจะต่ำกว่า ซึ่งทำให้การไฟฟ้าจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์จำหน่ายและอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณพลังไฟฟ้าส่วนที่ไม่จำเป็นหรือ รีแอคทีฟ (kVar) ที่เกิดขึ้นด้วย อันไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม
เราจะปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้นได้อย่างไร
เราสามารถทำให้มีค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าสูงขึ้นได้โดยการติดตั้งตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) ซึ่งทำหน้าที่จ่ายกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (kVar) แทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อต่อตัวเก็บประจุไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการสร้างสนามแม่เหล็กที่ก่อให้เกิดกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ เช่น มอเตอร์ เข้าด้วยกัน กำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟที่จ่ายจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าหรือการไฟฟ้าจะลดลงหรือหมดไปขึ้นอยู่กับปริมาณกำลังไฟฟ้าที่จ่ายโดยตัวเก็บประจุไฟฟ้านั้น
ผลประโยชน์ต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor : PF) สามารถลดกำลังไฟฟ้าสูญเสียและเพิ่มความสามารถในการรับโหลดของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ใช้ไฟฟ้า ระบบจำหน่าย ระบบส่งไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าและของประเทศชาติโดยรวม อันจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะสามารถพิจารณาความสามารถในการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า โดยสรุปได้ดังนี้
ผลประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
ผลประโยชน์ที่มีต่อส่วนรวม
ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง
บทความโดยบริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษาบทความเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.pq-team.com