ประวัติความเป็นมาของอุตสาหกรรมน้ำมัน (History of the Oil Industry)
โดย : Admin

อ้างอิงจาก: www.Rigworker.com       
 โดย: เว็บมาสเตอร์                 
 (
webmaster(at)9engineer.com)

 

 

น้ำมัน(Oil)

         ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบจะมีลักษณะเป็นน้ำมัน  เป็นของเหลวที่สามารถติดไฟได้ ซึ่งเกิดจากการสะสมกันตามธรรมชาติ และมักพบภายใต้พื้นผิวของโลก



 


      นับเป็นระยะเวลาหลายร้อยล้านปี ที่ซากพืชซากสัตว์ตกลงไปทับถมกันใต้ท้องทะเล และทับถมสะสมขึ้นเรื่อยๆจนเกิดชั้นตะกอน เช่นดิน หิน ทราย และวัสดุอื่นๆ
        การที่ซากพืชซากสัตว์ถูกฝังลึกอยู่ใต้ชั้นหินภายใต้สภา
วะที่มีออกซิเจนปริมาณน้อย ทำให้เกิดการย่อยสลายโดยออกานิค(Organic) และกลายสภาพมาเป็นปิโตรเลียมไหลซึมไปอยู่ที่ช่องว่างระหว่างชั้นหิน

   
         
เมื่อเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ทำให้หินเกิดการโค้งงอ หรือห่อตัวกันเป็นพับ หรือบ้างก็เกิดการแตกตามแนวที่เิกิดการเคลื่อนตัว  ทำให้ ปิโตรเลี่่ยมไหลไปรวมตัวกันในบริเวณที่พื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายกับเป็นอ่าง
         ในช่วงแรกๆผู้คนไม่คุ้นเคยกับน้ำมันดิบ (Crude oil) ด้วยความไม่คุ้นเคยทำให้คนในตะวันออกกลางทำการเผาแก๊สปิโตรเลียมที่ไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง และทำการบูชาไฟที่ลุกไหม้ที่เกิดจากแก๊สที่พวยพุ่งออกมา

Fire Worship

     อุตสาหกรรมน้ำมัน (Oil Industry)

Oil_rig_17

        กล่าวกันว่าอุตสาหกรรมน้ำมันได้เริ่มต้นกันมาแล้วมากว่าห้าพันปีในตะวันออกกลาง (Middle East ) ***  โดยได้นำเอาน้ำมันที่ไหลซึมผ่านพื้นดินขึ้นมาไปใช้ประโยชน์บางอย่างในชีวิตประจำวันเช่น ใช้ทำชันเพื่ออุดรอยรั่วเรื่อและถังเพื่อป้องกันน้ำเข้่่า  ใช้ทำสี  ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดไฟแสงสว่าง ตลอดจนถึงการใช้ในทางการแพทย์
        กล่าวกันว่าช่วงเริ่มต้นมนุษย์ใช้น้ำมันปลาวาฬเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดไฟให้แสงสว่าง ซึ่งเป็นเหตุทำเกิดการล่าปลาวาฬอย่างมากมาย ทำให้จำนวนประชากรปลาวาฬลดลงและส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปลาวาฬมีราคาสูงขึ้นในเวลาต่อมา
         และเมื่อความต้องการปริมาณน้ำมันมากขึ้น หรือเรียกว่าดีมานด์มีมากกว่าซัพพลาย จึงทำให้บริษัทและเอกชนต่างๆได้หันมามองหาและค้นหาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ที่เป็นที่นำมาใช้ได้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า และเรียกขานกันว่าเป็นทองสีดำ(
Black gold) ในเวลาต่อมา    หลังจากผ่านยุคช่วงเวลาของถ่านหินน้ำมัน (coal oil) สิ่งที่เป็นคำตอบตามก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการขุดเจาะน้ำมัน     โดยได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการขุดเจาะน้ำมันบนบกก่อนในช่วงต้นๆ   แต่เนื่องจากความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้บริษัทต่างๆหันมาทำการสำรวจและมองหาแหล่งน้ำมันจากใต้ท้องทะเลเพื่อนำมาใช้งานเพิ่มเติม

 

            จากเหตุผลดังกล่าวได้ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างแท่นเจาะน้ำมันแท่นแรกขึ้นกลางน้ำที่อ่าวแม็กซิโก(Gulf of Mexico) ที่ระดับความลึก100 เมตร และเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบ piled jacket ในส่วนของโครงสร้างได้มีการเพิ่มเติมพื้นที่สำหรับเป็นพื้นที่ทำงานบนแท่นเช่น ลานเก็บอุปกรณ์และที่พักสำหรับลูกเรือ ลักษณะของโครงสร้างนี้จะมี fore-runners ช่วยยึดให้เกิดการแข็งแรงและสามารถตั้งอยู่บริเวณน้ำลึกได้ในทุกๆที่ในโลก

           จากสภาพพื้นที่โดยรอบชายฝั่งของเกาะกรีนแลนด์ ได้ให้แนวความคิดกับนักธรณีวิทยาว่าอาจจะมีน้ำมันและแก๊สอยู่บริเวณรอบๆน่านน้ำของชาวสก๊อตแลนด์
          
ในประวัติศาสตร์ในอดีตเคยมีบ่อน้ำมันดิบบนพื้นดินในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920   และก็ไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึง จนกระทั้งในปี 1960    ได้มีการสำรวจในทะเลเหนือได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง แต่ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงปีต้นๆ จนในที่สุดก็ได้ค้นพบน้ำมันในปี 1969 และได้มีการค้นพบน้ำมันในพื้นใหม่ๆตั้งแต่นั้นมา    การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของแหล่งน้ำมันในทะเลเหนือ (North Sea) ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่มีการลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาลที่สุดในโลก

         ต่อจากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันนอกชายฝั่งในบริเวณน่านน้ำ และขยายพื้นที่ต่อไปเรื่อยๆ ทำให้  หลายๆแหล่งตั้งอยู่ห่างจากพื้นดินและห่างออกไปเรื่อยๆ   โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ที่ทำการสำรวจจะตั้งอยู่บริเวณที่มีน้ำลึกและไกลออกไปเรื่อยๆ


Piper Alpha oil platform in the North Sea
 on the night of July 6, 1988

     หลังจากที่ทะเลเหนือของอังกฤษได้เกิดความหายนะในปี 1988  เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม โดยเกิดเหตุไฟไหม้และเกิดการระเบิดขึ้นที่ North Sea Piper Alpha oil platform ทำให้มีคนตาย 167 จากจำนวนผู้ที่ทำงานบนแท่นทั้งหมด  228 คน    หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วงการอุตสาหกรรมและรัฐบาลอังกฤษทำการรอจนกระทั่งถึงปี 1990 จึงได้ทำการประกาศรายงานของของท่านลอร์ด Cullen  ต่อสาธารณะชน  
     ตามรายงานของท่านท่านลอร์ด
Cullen  ได้ทำการสำรวจและลงความเห็นว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการระเบิดเกิดการความผิดพลาดของการทำงานของระบบที่ออกใบอนุญาตให้ทำงาน (operation of the permit to work system) ซึ่งเป็นขั้นตอนและแนวทางที่สำคัญในการทำงาน      ในปัจจุบันระบบนี้ถือว่าเป็นระบบที่สำคัญที่ใช้ในการทำงาน over-sea work        ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างมีศักยภาพ

              จากรายงานในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตามมา เช่นขั้นตอนการทำงานและกฎระเบียบปฏิบัติซึ่งมีผลมากกว่ากว่าการระวังด้านความปลอดภัย   ทุกๆวันนี้ในอุตสาหกรรมได้มีการตื่นตัวในเรื่องของความปลอดภัยเป็นอย่างมาก  ตัวอย่าง บริษัทใดก็ตามที่เป็นเจ้าของแท่นเจาะน้ำมัน หากมีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยไม่ดี  จะไม่ค่อยได้รับการพิจารณาว่าจ้างจากบริษัทที่เป็นเจ้าของสัมปทานน้ำมันให้ไปทำการขุดเจาะ   บริษัทน้ำมันจะพิจารณาบริษัทที่มีสถิติอุบัติเหตุในการทำงานที่ต่ำก่อน เป็นต้น
            สำหรับคนที่เคยไปแท่นเจาะน้ำมัน จะสังเกตได้ว่าเมื่อคุณไปถึงที่แท่นเจาะน้ำมันครั้งแรก คุณจะได้รับการแนะนำและข้อมูลค่อนข้างละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของแท่นเจาะน้ำมัน  บรรยายในหัวข้อเรื่องของความปลอดภัย รวมถึงระบบป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง  จุดรวมพลกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน  ตำแหน่งที่คุณจะมาขึ้นเรื่อที่จะใช้หนีไฟกรณีเกิดไฟไหม้(
Lifeboat stations) และขั้นตอนการใช้งาน  

             นอกจากนั้นทุกๆคนที่อยู่บนแท่นเจาะน้ำมันจะต้องเข้าร่วมประชุมเรื่องความปลอดภัยประจำสัปดาห์ และประชุมย่อยรายวัน   โดยทั่วไปหัวข้อการประชุมรายสัปดาห์จะกล่าวถึงรายละเอียดเรื่องข่าวความปลอดภัย และเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมัน   นอกจากนั้นในวงการจะมีการแชร์ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยกับบริษัทอื่นๆที่อยู่ในวงการเดียวกัน  ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับหลีกเลียงการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก   มีการจำลองเหตุการณ์กรณีเกิดไฟไหม้ทุกสัปดาห์ภาษาบนแท่นเรียกว่า Fire drill เพื่อซักซ้อมความเข้าใจของลูกเรือที่ทำงานอยู่บนแท่นเจาะน้ำมัน   นอกเหนือจากหัวข้อที่ผ่านมาท่านยังจะได้รับการแนะนำสถานที่  งานที่จะต้องรับผิดชอบ รวมถึงวิธีการทำงานของคุณที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ 

             ในความเป็นจริงอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามจากสถิติในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าวิธีการทำงานนอกชายฝั่งได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันอุบัติที่เกิดจากการทำงานนอกชายฝั่งนั้นมีน้อยกว่าการทำงานในสถานที่ก่อสร้าง

       ปิโตรเลียม (petroleum จากภาษากรีก petra – หิน และ elaion น้ำมัน หรือภาษาละติน oleum – น้ำมัน ) หรือน้ำมันดิบ บางครั้งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ทองคำสีดำ หรือ "น้ำชาเท็กซัส" คือของเหลวขุ่นข้นสีน้ำตาลเข้มหรือเขียวเข้ม




***
 
หมายเหตุ  บางแหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงที่มาของน้ำมันไว้ดังนี้ (ซึ่งจะต่างกับงานแปลนี้ ดังนั้นขอให้ใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูลนี้) 
        
ในอดีตกาล ชาวจีนได้ค้นพบปิโตรเลียมจากการเจาะบ่อเกลือ และรู้จักใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมเพื่อเป็นเชื้อเพลง ในการต้มน้ำเกลือให้ระเหยจนได้เกลือสินเธาว์ ชาวอียิปต์โบราณใช้ปิโตรเลียมดองศพก่อนนำไปฝังในสุสา น เพื่อช่วยป้องกันมิให้ศพเน่าเปื่อย ในอาณาจักรเมโสโปเตเมีย มีการนำเอาน้ำมันดิบมาเป็นวัสดุเชื่อมประสานก้อนอิฐเ ข้าด้วยกันในการก่อสร้างและใช้ปูลาดถนน ในสมัยกรีกและโรมัน ได้มีการใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงสำหรับตะเกียง และเป็นยาขี้ผึ้งสำหรับรักษาโรค ในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก อาทิเช่น บริเวณรอบๆ ทะเลสาบแคสเปียน โรมาเนีย พม่า และอินเดีย ได้มีการนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ คือ เป็นเชื้อเพลิง สำหรับจุดให้แสงสว่าง และใช้ในการประกอบอาหาร ใช้เป็นวัสดุหล่อลื่น และใช้เป็นยารักษาโรค

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)