คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับการใช้แผงโซล่าเซลล์
โดย : Admin

ที่มา: www.prigpiroot.com

 

 

 

1.  อยากติดโซล่าร์เซลที่บ้าน เพื่อลดค่าไฟฟ้าจะคุ้มหรือไม่?

    	ตอบ   กรณีถ้าบ้านท่านมีไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว ทางเราขอแนะนำว่ายังไม่ควรติดตั้งครับ
	เนื่องจากราคาแผงโซล่าร์เซลและอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆยังแพงอยู่มากเมื่อเทียบกับซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้า
 อีกทั้งต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องเปลี่ยนแบตเตอรี่อีก 2-3 ปีต่อครั้งด้วยครับ ซึ่งหากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีหลายชนิด
 และต้องการชั่วโมงใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้ายิ่งเยอะด้วยแล้ว ระบบก็ต้องใหญ่ตามไปด้วย นั่นหมายถึงว่า
 ค่าใช้จ่ายต่างๆก็จะเพิ่มขึ้นด้วยครับ


......................................................................................................................................
 
 2.  ที่บ้านไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ถ้าต้องการติดตั้งจะเหมาะหรือไม่ มีค่าใช้จ่ายเท่าใด ?
    	ตอบ เหมาะสมที่สุดครับสำหรับพื้นที่ที่แสงอาทิตย์ส่องถึง โดยการคำนวณต้องทราบข้อมูลต่อไปนี้ก่อนครับ   
 	1. รวบรวมรายการอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะใช้ไฟฟ้า เช่น มี
		ทีวี1เครื่อง(ขนาดเท่าไหร่ไม่ทราบสมมุติ 100W.) ต้องการใช้วันละ  6 ชั่วโมง
				= 100 x 6 = 600
		หลอดประหยัด(ขนาดเท่าไหร่ไม่ทราบสมมุติ 15W.) ต้องการใช้วันละ  8 ชั่วโมง มี 5 หลอด
				=15 x 8 x 5 = 600
		รวมแล้ววันนึงใช้ไฟฟ้า = 600 + 600 = 1200 W  
  หลังจากทราบค่ากำลังไฟฟ้ารวมที่ต้องการต่อวันแล้ว จึงจะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้ครับ

2. หากยังไม่มีไอเดียว่าจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้าง อาจจะแจ้งงบประมาณคร่าวๆที่ท่านคิดไว้ว่าจะ
	ใช้ในการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซล่าร์ให้แก่เรา เช่น 3,000...10,000...50,000...300,000 ฯลฯ
	เราจะแนะนำได้ว่าบนงบนี้น่าจะใช้ทำอะไรได้บ้าง
.............................................................................................................................................
   3.  โซล่าร์เซลใช้กับอะไรได้บ้าง? ใช้กับแอร์ได้มั้ย? ปั้มน้ำ? 
    	ตอบ   ใช้ได้ทุกอย่างครับ แม้แต่สร้างโรงไฟฟ้าระบบพลังงานแสงอาทิตย์ก็ยังมีที่แม่ฮ่องสอน ปัญหาคืองบครับ
	ทุกอย่างขึ้นกับงบประมาณเท่านั้น อย่าลืมว่าถ้าท่านใช้ไฟเยอะท่านก็ต้องติดเยอะ ลงทุนเยอะ 
	สิ่งที่ต้องคิดที่สุดคือถ้าไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เราควรมองหาอุปกรณ์ประหยัดไฟไว้ก่อน เช่น หลอดไฟก็ใช้
	แบบหลอดตะเกียบ หรือเป็นไปได้ LED จะยิ่งประหยัด  สำหรับแอร์คงต้องลงทุนสูงมากครับ และข้อสำคัญอีกประการ 
 คือ เมื่อต้องใช้พลังงานทดแทนแล้วควรมากที่จะเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมทดแทนด้วย เช่น ก่อนเคยซักผ้าด้วยเครื่อง 
 ก็เปลี่ยนมาเป็นซักด้วยมือ หรือ การหุงข้าวก็เปลี่ยนมาเป็นหุงด้วยฟืนแทน จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล
.............................................................................................................................................
4.  ต้องการนำไปใช้ต่อกับเครื่องสูบน้ำเข้าไร่ น้ำบาดาล ปะปาหมู่บ้าน
   ตอบ   ในอดีตปั้มน้ำเกือบทุกชนิด จะมีช่วงการสตาร์ทมอเตอร์ซึ่งจะกินกระแสสูงมาก ดังนั้นอุปกรณ์โซล่าเซลล์
	จะต้องมีเครื่องแปลงไฟที่มีขนาดใหญ่มากรวมทุกอุปกรณ์แล้วราคาจะสูงมาก 
  แต่ปัจจุบันมีการผลิตปั๊มน้ำกระแสตรง (dc pump)หรือ โซลาร์ปั๊ม เพื่อให้ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า
  พลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ จึงไม่ต้องใช้เครื่องแปลงไฟฟ้าดังกล่าว ทำให้ราคาระบบ
  สูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ถูกลงเป็นอย่างมาก  
.............................................................................................................................................
5.   ปั๊มน้ำสูบน้ำได้นานแค่ใหน
       ตอบ  สูบได้เท่าที่จะมีกระแสไฟให้มันทำงานครับ(กระแสไฟในแบตเตอรี่)              
       เปรียบเสมือนรถยนต์ถ้ามีน้ำมันรถก็วิ่งไปได้เรื่อยครับ
........................................................................................................................
6.  หากติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงจะสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นร่วมด้วยได้หรือไม่
      ตอบ   ได้ครับ เพราะกระแสไฟฟ้าที่เราต้องการใช้ถูกเก็บใว้ในแบตเตอรี่เรียบร้อยแล้ว เราสามารถใช้ Inverter
    มาแปลงไฟจากแบตเตอรี่เป็นไฟบ้านเท่านั้นเองครับ
........................................................................................................................
7. ปั๊มน้ำส่งน้ำได้ไกลแค่ใหน
      ตอบ  ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปั๊มตัวนั้นๆครับ หากสูบระยะทางแนวดิ่งมาก ระยะทางแนวราบก็จะส่งได้ไกลลดลง
       บางครั้งเราสามารถลดขนาดท่อลงเพื่อให้ส่งได้ระยะทางที่ไกลขึ้นครับ
..........................................................................................................................

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)