การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า
โดย : Admin

ที่มา:  www.bkptransformer.com

 

 

 

การบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

การบำรุงรักษาหม้อ แปลงไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้คงสภาวะปกติและยังทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในระบบฉนวนของหม้อแปลงไฟฟ้านั้นมีส่วน ประกอบหลักคือ น้ำมันฉนวน กระดาษฉนวน ซีล ยาง ฉนวนทองแดง โดยวัสดุเหล่านี้จะเสื่อมสภาพ เมื่อมีความชื้นน้ำ เขม่า สิ่งเจือปนอื่นๆ และก๊าซปะปนอยู่ซึ่งอาจ เป็นสาเหตุให้หม้อแปลงเสียหายหรือช๊อตระเบิดได้ ดังนั้นจึงควรทำการตรวจสอบสภาพ และบำรุงรักษาหม้อแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปควรจะบำรุงรักษาหม้อแปลงทุกๆ 6 เดือน เพื่อเป็นการลดค่าความเสียหายอีกทั้งยังทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการ ใช้งาน"

 

วิธีตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าขั้นต้น

  • 1. SILICA-GEL (สารดูดความชื้น) หากเสื่อมคุณภาพจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีชมพูหรือสีดำ ควรเปลี่ยนใหม่ทันที
  • 2. ถังอะไหล่น้ำมันหม้อแปลงมีระดับน้ำมันต่ำจะต้องเติมน้ำมันเพิ่ม
  • 3. อาร์คซิ่งฮอนชำรุด/บิดงอไม่ได้ระยะ (15.5 ซม.)
  • 4. ครีบระบายความร้อนสกปรก/รั่วซึม
  • 5. ถังหม้อแปลงขึ้นสนิม ผุ ชำรุด
  • 6. บุชชิ่งแรงสูง - แรงต่ำ บิ่น/แตก ชำรุด หรือมีฝุ่นเกาะหนาอาจเป็นตัวนำให้ไฟรั่วลงดิน ทำให้ไฟดับได้
  • 7. ขั้วต่อสายแรงสูง – แรงต่ำที่บุชชิ่งหลวมหรือเกิดอ๊อกไซด์จะทำให้เกิดอาร์ค
  • 8. ซีลยางชำรุดทำให้น้ำมันไหลซึมออกมา
  • 9. ประเก็นฝาถังกรอบ/หมดสภาพหรือชำรุดน้ำมันจะไหลซึมออกมา
     

 

 
 

 

ระบบจำหน่าย (Distribution system)

หม้อแปลงไฟฟ้าที่ผู้ ใช้งานทั่วไปใช้เพื่อจ่าย ไฟจากการไฟฟ้าเข้าโรงงานอุตสาหกรรมหรือใช้ในเชิงพาณิชย์ส่วนมากจะเป็นระบบ จำหน่าย เรามาทำความเข้าใจระบบจำหน่ายของการไฟฟ้ากันนะครับ

 

 

ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

  • 1.ระบบจำหน่ายแรงดันสูง
    • ระบบจำหน่ายของแรงดันสูงของ กฟภ. แบ่งเป็นพื้นที่ของการใช้งานมีรายละเอียดดังนี้
    • 1.1ระบบ 11 กิโลโวลต์ ระบบนี้ กฟภ. ใช้ก่อสร้างตามโครงการยันฮีระยะแรกในเขตจังหวัด อยุธยา,สิงห์บุรี,สระบุรี,เชียงใหม่,ลำพูน,ลำปาง แต่ในระยะต่อมาโหลดได้เพิ่มสูงขึ้นมาก และระยะทางไกลมากขึ้น ทำให้ระบบจำหน่ายแรงดันสูง 11 กิโลโวลต์ ไม่เหมาะสม จึงได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ 22 กิโลโวลต์แทน คงเหลือใช้ระบบ 11 กิโลโวลต์ในพื้นที่อำเภอสัตหีบบางส่วนเท่านั้น
    • 1.2ระบบ 22 กิโลโวลต์ เป็นระบบที่ กฟภ.ใช้ส่วนใหญ่เกือบทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้
    • 1.3 ระบบ 33 กิโลโวลต์ใช้ในระบบจำหน่ายทั้งหมดของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดระนองลงไป
  • 2.ระบบจำหน่ายแรงดันต่ำ
    • 2.1 แรงดันต่ำ 400/230 ชนิดสามเฟส
    • 2.2 แรงดันต่ำ 460/230 ชนิดหนึ่งเฟส
       

ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง

  • 1.ระบบจำหน่ายแรงดันสูงมีค่า 12 และ 24 กิโลโวลต์
  • 2.ระบบจำหน่ายแรงดันต่ำจะเป็นระบบ 416/240 V ชนิดสามเฟส 480/240 V ชนิดหนึ่งเฟส

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)