ไบโอดีเซลคืออะไร
น้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เมล็ดเรฟ (rape seed, เป็นพืชน้ำมันมีมากแถวยุโรปและอเมริกา) ทานตะวัน งา ฝ้าย ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ละหุ่ง สบู่ดำ มะพร้าว ปาล์ม และน้ำมันเหลือใช้หลังการปรุงอาหารจากภัตตาคาร และร้านอาหารประเภท fast-food เช่น McDonald’s, Burger King และ Kentucky Fired Chicken มาเข้ากระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี(1) เป็น methyl ester ethyl ester หรือ butyl ester หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไบโอดีเซล” ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนปิโตรเลียมดีเซลในสัดส่วนผสมต่างๆ ได้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ กับเครื่องยนต์ดีเซล แม้จะใช้เป็นระยะสั้นและหรือยาว การใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงจะไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้โดยกระบวนการทางชีวภาพ และเกิดมลพิษทางอากาศน้อยกว่าน้ำมันดีเซล เป็นต้น (อ้างอิง Zhang et al., 1988; Sims, 1985,; Wagner et al., 1984; Goering et al., 1982; Kautman and Ziejewski, 1984, Quick and woodmore, 1984; Mora 1985; Melville, 1987 Mosgrove, 1987; Fort et al.,1982; DOE,2000)
การผลิตไบโอดีเซล
องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันพืชและไขมันสัตว์ เป็นไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี ที่ประกอบด้วยกรดไขมัน (Fatty acid) และกรีเซอรีน (Glycerin) เมื่อไตรกรีเซอไรด์นี้ รวมตัวกับสารเร่งปฏิกิริยาชนิดที่เป็นด่าง (Base catalyst) เช่น โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium Hydroxide (KOH)) โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่เกินพอ (Excess alcohol) จะทำให้เกิดการรวมพันธะของกรดไขมัน และแอลกอฮอล์ เกิดเป็น "Biodiesel" โดยได้กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งเป็นสารเคมีที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอุตสาหกรรมยา และเครื่องสำอาง เป็นผลพลอยได้ (By product) ปฏิกิริยานี้ เรียกว่า "Trans-esterification" ดังรูปที่ 1 โดยที่ R คือ คาร์บอน 16-18 อะตอม ซึ่งมีพันธะคู่ระหว่าง C = C ตั้งแต่ 1-3 คู่
ปฏิกิริยา Trans-esterification ในการผลิต Biodiesel จากน้ำมันพืช
หมายเหตุ:
(1) ปัจจุบันมีเทคโนโลยีผลิตไบโอดีเซล (ethyl ester, methyl ester) ในอเมริกาและยุโรป
โดยในอเมริกามี 3 วิธีคือ
- Based catalyzed transesterification
- Direct acid catalyzed esterification of oil with methanol
- Conversion of the oil to fatty acids, and then to alkyl esters with acid catalysis
ส่วนยุโรปมี 6 วิธี แต่ที่นิยมใช้มากคือ
- Batcwise operating technologies
- Henkel technology for tranesterification และ
- CD process for tranesterification
การส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล (Bio-Diesel)
รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของไบโอดีเซลเป็นอย่างดี โดยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลจากปาล์มและเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดัเซลร้อยละ 10 ปี 2555 หรือ 805 ล้านลิตร/วัน ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืใช้แล้วรวมถึงน้ำมันสบู่ดำ และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลผสมน้ำมันดีเซล สัดส่วน 5% (B5) ในบางพื้นที่ตั้งแต่ปี 2548
|
ไบโอดีเซลช่วยประเทศชาติแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงาน เนื่องจากไบโอดีเซลมีคุฯสมบัติเทียบเคียงน้ำมันดีเซล และผลิตได้จากพืชน้ำมันในประเทศจึงช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ การพัฒนาและการส่งเสริมไบโอดีเซลจึงช่วยลด
พิจารณาด้านราคา และปริมาณแล้ว รัฐบาลจึงได้ส่งเสริมให้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไบโอดีเซลซึ่งเป็นการช่วยสร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ช่วยพยุงราคาปาล์มน้ำมัน อีกทั้งรัฐบาลยังมีแผนขยายการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยอีก 4 ล้านไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรของประเทศรวมมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท/ปี **ช่วยสร้างงานในภาคเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาผลปาล์มน้ำมันดิบแลน้ำมันปาล์มให้กับประเทศ ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับภาคเอกชนดำเนินโครงการสาธิตการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วและน้ำมันปาล์มในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันมีการจำหน่ายน้ำมันดีเซล B5 แก่ประชาชนทั่วไปตามสถานีบริการน้ำมันรวม 14 แห่ง ซึ่งราคาน้ำมัน B5 จะถูกกว่าราคาน้ำมันดีเซลทั่วไป 75 สตางค์ต่อลิตร เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาทดลองใช้น้ำมัน B5 เพื่อเป็นการสร้างทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานให้กับประชาชน
==============================
|
|
การพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ นอกจากนี้ไบโอดีเซลยังช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ ในด้านเกษตรอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ในด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซลด้วยสิทธิประโยชน์ทั้งในด้านการลงทุนและในด้านภาษีและนำไปสู่อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับปาล์มน้ำมัน ได้กแ อุตสาหกรรมโอลีโอเคมิคอล โรงไฟฟ้าชีวมวล อุตสาหกรรม เหล่านี้ช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและช่วยลดอัตราการว่างงานของประชากรในประเทศ
ในด้านสิ่งแวดล้อม จากผลการทดลองของสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) การผสมไบโอดีเซลในสัดส่วนต่างๆ ช่วยลดมลพิษทางอาการศได้ร้อยละ 10 -20 และลดควันดำได้ร้อยละ 20 สำหรับไบโอดีเซล 100% ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ร้อยละ 20-40 และลดควันดำได้ถึงร้อยละ 60 National Biodiesel Board, USA ระบุว่าไบโอดีเซลช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่บรรยากาศซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจกภึง 78.5% เทียบกับการใช้ไบโอดีเซล คิดเป็นมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท ในปี 2555
|
|