เรียบเรียงโดย: สุชิน นายเอ็นจิเนียร์
ดรัม มอเตอร์ คืออะไร
ดรัมมอเตอร์ (Drum Motor) คือมอเตอร์ที่มีรูปร่างหรือรูปทรงลักษณะคล้ายกลองหรือถัง (Drum) ซึ่งบางครั้งก็จะอ้างอิงถึงล้อข้บหรือพู่เล่ (Pulley)ที่มีใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนอยู่ในตัว โครงสร้างภายในถังจะประกอบด้วยมอเตอร์และเกียร์ทดรอบประกอบเข้าด้วยกันและหุ้มปิดผนึกด้วยเหล็ก อลูมิเนียม หรือ แสตนเลส ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ซึ่งหากพิจารณาจากรูปโฉมโนมพรรณจากภายนอกจะดูคล้ายกับถัง หรือกลอง ดังคำนิยาม
แนวคิด (Concept)
ดรัมมอเตอร์ได้มีการบันทึกไว้ว่ามีจุดเริ่มต้นตั้งในปี ค.ศ. 1928 แต่ว่ายังไม่มีความชัดเจนในการใช้งาน จนกระทั่งเวลาได้ผ่านมาถึงต้นปี ค.ศ. 1950 เมื่อมีการผลิตชิ้นแรกและนำออกมาใช้งานกับสายพานลำเลียง สำหรับแนวคิดในการพัฒนาดรัมมอเตอร์ ก็เพื่อให้ได้เครื่องจักรที่มีขนาดกระทัดรัดและเล็กลง โดยได้รวมมอเตอร์และเกียร์ทดรอบผนึกเข้าไว้เป็นแพ็จเกจเดียวกัน เพื่อลดความสูญเสียเนื่องจากความฝึดให้น้อยลงกว่ามอเตอร์เกียร์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไป และเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรให้สูงขึ้น
การออกแบบขั้นพื้นฐาน (Basic Design)
ภายในดรัมจะประกอบด้วยมอเตอร์ที่ใช้ในการขับเคลื่อน (ซึ่งอาจจะเป็นอะซิงโครนัน (Asynchronous) หรือ ซิงโครนัสมอเตอร์ (synchronous) หรือ ไฮดรอลิกส์มอเตอร์ (Hydraulic motor) อย่างใดอย่างหนึ่ง) ต่อกับเพลาด้านที่อยู่กับที่ (stationary shaft) ที่ด้านหนึ่งของดรัม และต่อผ่านตรงไปทีโรเตอร์ซึ่งต่อแนวเดียวกับชุดเกียร์ซึ่งอาจจะเป็นเกียร์หรือเฟืองทดแบบ helical หรือ planetary ซึ่งต่ออยู่กับเพลาที่อยู่กับที่ของอีกด้านหนึ่ง ส่วนแรงบิดหรือทอร์คจะถูกโอนถ่ายจากมอเตอร์ผ่านทางชุดเกียร์ไปที่เปลือกของผ่านชุดเกียร์ด้านข้างที่ติดอยู่กับเปลือกถัง ดังรูปประกอบจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
ระบบโอนถ่ายกำลัง (Transmission)
ระบบการส่งถ่ายกำลังจะใช้เกียร์แบบ Helical หรือ planetary ชนิด 2 หรือ 3 เสตท ซึ่งทำให้ได้รับการโอนถ่ายกำลังด้านขาออก(output power) ซึ่งผลิดจากมอเตอร์ ได้ถึง 95%
มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor)
สำหรับมอเตอร์ที่ใช้ก็มีทั้งแบบ เฟสเดียว หรือ สามเฟสอินดัคชั่นมอเตอร์แบบกรงกระรอก ที่ใช้ฉนวนป้องกันความร้อนคลาส F ซึ่งเหมาะสมกับการป้องกันความร้อนสะสมจากภายใน สำหรับมอเตอร์เฟสโดยทั่วไปสามารถสร้างแรงบิดขณะออกตัวหรือขณะสตาร์ทได้ถึง 200% ซึ่งเพียงพอเมื่อเทียบกับมอเตอร์แบบเฟสเดียว และยังสามารถใช้งานควบคู่กับอินเวอร์เตอร์ ที่สามารถควบคุมความเร็วได้อีกด้วย
สำหรับมอเตอร์แบบ ซิงโครนัส ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับอินดัคชั่นมอเตอร์ จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างไหม่สำหรับประยุกต์ใช้งานในประเภทนี้ แต่ว่ามีจุดเด่นในด้านไดนามิคส์ที่สูงกว่า มีอัตราเร่งที่ยอดเยียม และสามารถควบคุมความเร็วและแรงบิดได้ง่ายกว่า ทำให้เป็นที่นิยมในงานขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติในปัจจุบัน
ข้อดี
จุดเด่นของมอเตอร์ชนิดนี้มีหลายอย่างด้วยกัน เช่นติดตั้งง่าย ลดการบำรุงรักษา การสูญเสียกำลังน้อยและให้ประสิทธิภาพทางกลสูงถึง 96% ชิ้นส่วนต่างๆถูกปิดผลึกมิดชิดด้วยมาตรฐาน IP66 จะไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง ความสกปรกจากจารบีหล่อลื่น ความปลอดภัยสูงกว่าเนื่องจากไม่มีส่วนเคลื่อนทีภายนอก เช่น โซ่ เฟืองโซ่ เพลาขับ และอื่นๆ นอกจากนั้นยังเงียบไม่ส่งเสียงรบกวน
|