อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์
Variable Speed Drive : VSD
อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable Speed Drive : VSD)
เป็นอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาวะของโหลด
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์ในชบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบปั๊มน้ำ พัดลม และระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ อุปกรณ์ VSD ใช้เทคโนโลยีแบบ Voltage
Vector Control (VVC)
ทำให้ประสิทธิภาพการควบคุมไม่ให้มีการสูญเสียพลังงานความร้อนในตัวมอเตอร์ (Derating)
และมีอุปกรณ์กำจัดสัญญาณรบกวน (Harmonics Filters)
ที่เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องป้องกันการรบกวนสัญญาณควบคุมและยังส่งผลดีในการประหยัดพลังงานอีกด้วย
VSD นำมาใช้กับงานอะไรบ้าง
VSD ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลายในทางอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
ลดต้นทุนและงานทั่วไปในระบบปั๊มน้ำและระบบปรับอากาศ อาทิ
งานด้านการผลิตในอุตสาหกรรม
-
เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้มอเตอร์เป็นแรงขับเคลื่อน
- ระบบสายพานลำเลียง -
กระบวนการผลิตที่ต้องการควบคุมประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตให้คงที่ - อื่น ๆ
งานทั่วไป ที่มีมอเตอร์เป็นตัวกำเนิดพลังงานกล
- ระบบควบคุมปั๊มน้ำ พัดลม - ระบบปรับอากาศในโรงงาน
และอาคารขนาดใหญ่ - การลำเลียง เช่น ลิฟท์ขนส่ง บรรไดเลื่อน
- ระบบอัดอากาศ ระบบกำจัดคาร์บอนมอน๊อกไซด์ในที่จอดรถ ฯลฯ -
อื่น ๆ
อะไรคือข้อดีของการใช้ VSD ?
1. สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้จากเดิมซึ่งคงที่ ทั้งมอเตอร์ ปั๊มน้ำ และพัดลม
ทำให้ได้ความเร็วรอบที่เหมาะสมตามความต้องการทำงานในแต่ละลักษณะ
และยังทำการควบคุมแบบ Closed Loop Control
เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพคงที่อยู่ตลอดเวลา 2.
เพิ่มคุณภาพของชิ้นงานให้ถูกต้องตามความต้องการ และลดต้นทุนในการผลิต
3. ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักร และป้องกันการสูญเสียของมอเตอร์ พัดลม และปั๊มน้ำ
4. ลดการกระชากไฟฟ้าตอนเริ่มต้น ทำให้ลดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
โดยเฉพาะมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ 5. ประหยัดพลังงาน
โดยใช้พลังงานตามความจำเป็นของโหลด

แผนภูมิแสดงการใช้กำลังงานของพัดลม/ปั๊ม
ความคุ้มค่าการลงทุน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ สามารถเปรียบเทียบระหว่างการใช้ VSD และการไม่ใช้ VSD
ได้ดังนี้ สมมุติ
ในงานระบบปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ เช่น ในโรงแรม ในอาคารขนาดใหญ่
หรือในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมอเตอร์ขนาดใหญ่ในระบบทำความเย็น
ซึ่งในที่นี่ยกตัวอย่าง 75 กิโลวัตต์ ปกติทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน
และประมาณการค่าไฟฟ้า และค่าดีมานด์ชาร์จ หน่วยละ 1.70 บาท
โดยกรณีศึกษาจะเปรียบเทียบระหว่างกรณีการใช้ VSD และกรณีไม่ใช้ VSD
ดังนี้ กรณีที่ไม่ใช้ VSD ในกรณีนี้จะเห็นว่า มอเตอร์ทำงานเต็มพิกัดตลอดเวลา
ดังนั้นการเสียค่าไฟต่อวันจะคำนวณได้จาก ค่าไฟฟ้าต่อวัน = 75
กิโลวัตต์ x 24 ชั่วโมง x 1.7 บาท = 3,060 บาท/วัน
ค่าไฟฟ้าต่อวัน = 3,060 บาท x 360 วัน = 1,101.600 บาท/ปี
ตัวอย่าง
จากรูปเป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้ VSD ในการทำงาน โดยใช้ Pressure Transmitter
เป็นตัวเซ็นเซอร์ให้กับระบบ
ทำให้การทำงานของเครื่องปรับความเร็วมอเตอร์ไปตามโหลดจริงที่ต้องการใช้ซึ่งแสดงให้เห็นจากกราฟได้ดังนี้ |
 |
จากกราฟการทำงานในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
มอเตอร์ปรับความเร็วไปตามโหลดจริงดังนี้
ช่วงเวลา |
จำนวนชั่วโมง |
%
ของความเร็วรอบที่ใช้จริง |
06.00 - 08.00 |
2 |
40% |
08.00 - 18.00 |
10 |
20% |
18.00 - 24.00 |
6 |
90% |
24.00 - 06.00 |
6 |
60% |
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ
เราต้องรู้ถึงความสัมพันธ์ของพลังงาน (Power), Flow/Speed และ Pressure
สัมพันธ์กันได้ดังรูปข้างล่างนี้
อัตราการไหล Flow (n) |
แรงดันในท่อ Pressure (n2) |
พลังงานที่ใช้ Power (n3) |
0.0% 10.0% 20.0% 30.0% 40.0% 50.0% 60.0% 70.0% 80.0% 90.0% 100.0% |
0.0% 1.0% 4.0% 9.0% 16.0% 25.0% 36.0% 49.0% 64.0% 81.0% 100.0% |
0.0% 0.1% 0.8% 2.7% 6.4% 12.5% 21.6% 34.3% 51.2% 72.9% 100.0% |
เห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบกับพลังงาน ดังนี้ * Flow
มีค่าแปรผันตามความเร็วรอบ (Speed หรือค่า n) ; Q1/Q2 =
N1 /N2 * แรงดัน (Pressure)
มีความสัมพันธ์ยกกำลังสองของความเร็วรอบ (n2) ; P1 /
P2 = (N1 / N2)2 * และพลังงาน =
ความเร็วรอบยกกำลังสาม (n3); HP1 / HP2 =
(N1 / N2)3 นั่นคือ Flow / Speed (n) =
Pressure (n2) = Power (n3)
กรณีที่ใช้
VSD
เราสามารถนำข้อมูลจากตารางข้างต้นมาหาค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป
โดยความสัมพันธ์ของความเร็วรอบ (Speed :Hz) อัตราการไหลของลม (Flow)
และพลังงานไฟฟ้าเป็น % เมื่อเทียบกับมอเตอร์ที่ความเร็วเต็มพิกัดที่ 75
กิโลวัตต์
ความเร็วรอบ (n) |
พลังงาน (n3) |
จำนวนกิโลวัตต์เทียบกับมอเตอร์ 75 (100%) |
คูณกับจำนวนชั่วโมง |
100% =
1 90% = 0.9 60% = 0.6 40% =
0.4 30% = 0.3 |
1.03 = 1.0 =
100% 9.03 = 0.729 =
72.9%
21.6%
6.4%
2.7% |
100% x
75 = 75 กิโลวัตต์ 72.9% x 75 = 54.7
กิโลวัตต์
= 16.2
กิโลวัตต์
= 4.8
กิโลวัตต์
= 2.0 กิโลวัตต์ |
75 x
0 = 0 54.7 x
2 = 109.4 16.2 x 10 = 162.0 4.8 x
6 = 28.8 2.0 x
6 = 12.0 |
จะได้จำนวนหน่วยที่ใช้ต่อวัน
= 312.2 หน่วย |
จำนวนพลังงานที่ใช้ต่อปี
= 312.2 x 360 =
122,392 ค่าไฟฟ้าต่อปีในกรณีที่ใช้ VSD = 112,392
x 1.70 = 191.066 บาทต่อปี *
ความแตกต่างของตัวเงินระหว่างการเลือกใช้ VSD และกรณีไม่ใช้
VSD
= 1,101,600 191,066 = 910,534
บาทต่อปี *
ระยะเวลาคืนทุน
= เงินลงทุน /
เงินค่าไฟที่ประหยัดได้ต่อปี
= 700,000 /
910,534
= 0.77 ปีหรือประมาณ 9 เดือน** หมายเหตุ ** คำนวณจากตัวเลขตารางข้างต้น
ระยะคืนทุนอาจแตกต่างตามการใช้งานจริง สรุป
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสำคัญของการใช้ VSD สามารถช่วยลดปัญหาการสูญเสียพลังงานได้
และหากคิดในด้านการลงทุนแล้ว สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้น
ซึ่งสงผลดีต่อผู้ใช้งาน
|