Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,987
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,362
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,590
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,624
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,446
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,480
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,304
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,216
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
02/05/2557 05:02 น. , อ่าน 3,234 ครั้ง
Bookmark and Share
อยากเข้าทำงานบริษัทน้ำมันดิบ
Pupipo
02/05/2557
05:02 น.
อยากเข้าทำงานบริษัทน้ำมันดิบครับ ผมเป็นวิศวะไฟฟ้าของโรงงานหนึ่ง แต่ผมจบ อสบ.เทคโนโลยีโทรคมมนคมมาครับ ทำงานมา 3 ปีกว่าครับ ต้องอบรมหรือเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมครับถึงจะเข้าบริษัทพวกนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด 5 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
Pupipo
02/05/2557
05:13 น.
พอดีบ้าผมอยู่ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชรครับ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบแหล่งใหญ่ ผมเคยสมัครหลายบริษัทแล้วครับแต่เขาไม่รับ บางบริษัทก็รับครับแต่ตอนนั้นติดปัญหาส่วนตัว บางบริษัทก็เอาใบสมัครผมโยนถังขยะครับ(เพื่อนผมในนั้นโทรมาบอก) ต้องมีประสบการณ์เรื่องอะไรบ้างเขาถึงรับเข้าทำงาน ปมเคยออกแบบวงจรไฟฟ้าทั้งหมดให้โรงงานในเครือครับตอนสร้างโรงงานใหม่ทั้ง power และ control ของเครื่องจักร และออกแบบวงจรไฟฟ้าตู้คอนโทรลเครื่องจักรมาหลายตู้แล้วครับ เขียน plc และ ทัชสกรีนเป็น scada พอเขียนเป็น ออกแบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดได้ และเป็น ผชร. โรงงานด้วยครับ ผมอายุ 28 ปีครับ
ความคิดเห็นที่ 2
พี่เสือ
02/05/2557
08:01 น.
โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างสายงานทางด้านการขุดเจาะน้ำมันดิบ ก็คล้ายๆกับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งมีเส้นทางให้เลือกสองทางหลักๆ คือ

1) เป็นวิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ในกระบวนการผลิต หรือ Support กระบวนการขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งมีหลายอย่างด้วยกัน ตัวอย่างดังรูปที่เอามาแสดงให้ดู

*** กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะจบทางได้วิศวกรรมปิโตรเคมี + วิศวกรรมเคมี หรือเครืองกล / instruments/electric และไฟฟ้า เป็นต้น
แต่คนที่อาจทางด้านไฟฟ้า อิเลคฯ หรือ วัดคุมฯ อาจใช้ความรู้ที่เรียนมาไม่มาก

ความคิดเห็นที่ 3
พี่เสือ
02/05/2557
08:02 น.
2 ) สายงานทางด้านวิศวกรรม ซึ่งระบบแท่นขุดเจาะน้ำมันก็จะแยกเป็นสองแผนกใหญ่ๆ คือ Mechanics กับ Electrical

- Mechanics งานส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับ เครืองยนต์กลไกต่างๆที่ใช้ในการปั่นเจนเนเรอเตอร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบไฮดรอลิกส์ ระบบนิวเมติกส์ และ ระบบเครืองยนต์กลไกอื่น

- ส่วน Electrical สโคปงานก็เยอะพอสมควร ซึ่งต้องดูแลและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ห้องน้ำถึงอุปกรณ์ต่างในสำนักงาน LAN & Network + CCTV

ระบบไฟฟ้า + แสงสว่าง การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า + Generator+ อุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังที่ใช้ในการควบคุมเครืองกลไฟฟ้า + Power management system

และระบบควบคุมอื่นๆ เช่น scada PLC ระบบคอนโทรลวาล์วต่างๆ และ อุปกรณ์ขับเคลื่อนทางไฟฟ้า

ระบบขับเคลื่อนทางไฟฟ้า ซึ่งถ้าเป็นระบบเก่าหรือแท่นเก่าๆก็จะใช้ ดีซีมอเตอร์เป็นหลักและใช้ SCR + DC module เป็นตัวควบคุมความเร็วและแรงบิด
ส่วนถ้าเป็นแท่นใหม่ๆส่วนใหญ่ก็จะใช้ระบบขับเคลื่อนทางเอซี ใช้เอซีมอเตอร์ + เอซีไดร์ฟหรืออินเวอร์เตอร์เป็นหลัก

PLC ยี่ห้อหลักที่ใช้ก็คือ Siemens , GE fanuc ส่วนไดร์ฟหรืออินเวอร์เตอร์ ส่วนใหญ่ที่เห็นก็มีสองยี่ห้อหลักคือ ABB ACS800 และ Siemens Master drives



สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดดูเหมือนสโคปงานค่อนข้างจะกว้างและหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่กล่าวมา จะมีคนที่รับผิดชอบหลักคือ chief electrician + E.T (electronics Technician)

สำหรับคนที่จบใหม่ๆถึงแม้จะมีดีกรีเอ็นจิเนียร์ หากถ้าไม่ใช่ฝรั่ง หรือวิศกรสัญชาติที่มากับแท่นแล้วละก็ ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นไต่เต้าจากตำแหน่ง Rig electrician หรือ assist electrician ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยงานระบบล่างๆเหมือนช่างไฟฟ้าทั่วไปก่อน เช่น งานติดตั้ง ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า+อุปกรณ์สำนักงาน ระบบแสงสว่าง หรือ โอเปอร์เรท อุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าเป็นต้น

ส่วนระบบควบคุมขั้นสูงหรือระบบอัตโนมัติเช่น plc หรือ ไดร์ฟ ระบบ switch gear อื่นมักจะไม่ได้รับอนุญาติให้ทำ

*** และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ภาษาอังกฤษ อันนี้จำเป็นต้องสามารถสื่อสารกับคนต่างชาติได้


อุตสาหกรรม Oil & Gas ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าตอบแทนสูงในลำดับต้น ซึ่งค่อนข้างจะเข้ายากหากไม่มีประสบการณ์
ความคิดเห็นที่ 4
Pupipo
02/05/2557
08:56 น.
ขอบคุณครับ เห็นเพื่อนจบ ปวส.อิเล็กทรอนิกส์ ตอนเรียนยังลอกการบ้านผมอยู่เลยแม่สูตรคูณก็ท่องไม่ได้แต่เข้าไปทำงานได้ก็เลยคิดว่าผมน่าจะเข้าไปทำได้ครับ เงินดีแถมได้อยู่บ้านอีกต่างหาก
ความคิดเห็นที่ 5
พี่เสือ
04/05/2557
21:16 น.
เป็นกำลังใจ

ความคิดเห็นทั้งหมด 5 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: