Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,580
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,989
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,778
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,464
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,348
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,448
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,511
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,130
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,519
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,376
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,440
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,949
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,382
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,899
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,477
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,329
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,211
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,133
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,067
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,443
21/04/2557 10:00 น. , อ่าน 14,069 ครั้ง
Bookmark and Share
ทำไมการสตาร์ทมอเตอร์โดยใช้Soft Starterถึงมีกระแสสูงกว่าใช้Resistance Step?
dastanz
21/04/2557
10:00 น.
ทำไมการสตาร์ทมอเตอร์โดยใช้Soft Starterถึงมีกระแสสูงกว่าใช้Resistance Step
มอเตอร์ที่ใช้เป็นแบบSlip Ring 350Hp
ความคิดเห็นทั้งหมด 42 รายการ | 1  2  3    »
ความคิดเห็นที่ 1
พี่เสือ
21/04/2557
21:14 น.
โดยหลักการแล้ว Soft Starter จะสามารถลิมิตกระแสขณะสตาร์ทได้ ซึ่งหากเป็น Soft Starter รุ่นเก่าๆก็สามารถลิมิตให้อยู่ในกรอบ 2.5-5 เท่าของกระแสพิกัด

*** ส่วนรุ่นใหม่ๆ ไม่แน่ใจเพราะไม่ได้เล่นนานแล้ว

ส่วนของสลิป-ริง starting current ที่ step แรก ณ.ที่ High rotor resistance) ก็อยู่ประมาณ 200 เปอร์เซ็นต์กว่าหรือสองเท่ากว่าๆ แต่จะสร้าง starting torqueสูง


โดยหลักการแล้ว ทั้งสองวิธีใช้เทคนิคและวิธีที่ต่างกัน

Soft Starter ใช้หลักการลดแรงดันที่จ่ายให้กับขดลวดสเตเตอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสตาร์ทโดยการลดแรงดันแบบหนึ่ง ทอร์คจะแปรผันตามแรงดันยกกำลัง (ลดแรงดันลง 10 % จะส่งผลทำให้ทอร์คลดลง 19 % )

ส่วนการใช้ Resistance Step ไม่มีการลดแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ แต่จะไปเพิ่มค่าความต้านให้กับโรเตอร์ขณะสตาร์ทและค่อยๆลดลงมาจนกระทั่งเป็นค่าความต้านทานภายนอกเป็น 0

ซึ่งก็จะส่งผลให้สมรรถนะหรือ characteristic ของการสตาร์ททั้งสองแตกต่างกัน

ข้อดีของ Resistance Step คือเพิ่มค่าความต้านโรเตอร์ให้เหมาะสม มอเตอร์จะให้ starting torque ที่สูง ในขณะเดียวกัน starting current ก็จะต่ำ

ส่วน Soft Starter จะแตกต่าง กระแสจะแปรผันตามกับ torque load ซึ่งถ้าระบบต้องการ starting torque ต่ำ เราก็สามารถลิมิตกระแสให้ต่ำลงได้ตามที่ต้องการ
แต่ถ้าระบบที่ต้องการ starting torque สูงเราก็ต้องลิมิตกระแสให้สูงขึ้นตามไปด้วยตามสัดส่วนเพื่อมอเตอร์สร้างทอร์คได้มากว่าทอร์คโหลด

ดังนั้นหากถามว่าทำไมกระแสของ Soft Starter ถึงมีกระแสสูงกว่าใช้Resistance Step
คำตอบก็น่าจะตอบว่ามันขึ้นอยู่กับ torque load
Soft Starter น่าจะตอบโจทย์ได้ดีกว่าหากโหลดเป็นกลุ่มที่ต้องการ starting torque ต่ำ เช่น Fan Blower Pump เป็นต้น


*** หมายเหตุ อธิบายตามที่เข้าใจนะครับ ผิดถูกต้องขออภัย ใครมีความรู้ที่เหนือกว่าช่วยชี้แนะด้วยครับ

ความคิดเห็นที่ 2
พี่เสือ
21/04/2557
21:17 น.
พื้นฐานเกี่ยวกับ Soft Starter
http://9engineer.com/index.php?m=article&a=show&article_id=2174


ความคิดเห็นที่ 3
พี่เสือ
21/04/2557
21:18 น.
torque
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
22/04/2557
09:31 น.

ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ

ถ้าเราช๊อตสลิปริง และจ่ายไฟเข้าโดยตรงที่สเตเตอร์ สิ่งที่เราได้จากมอเตอร์คือ กระแสสตาร์ทที่สูง และสตาร์ทติ้งทอร์คที่ต่ำ (กระแสสูงกว่า และทอร์คต่ำกว่า ตอนสตาร์ทแบบใชค่าความต้านทาน) ที่เป็นเช่นนี้เพราะมอเตอร์สลิป ริงถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทานวงจรโรเตอร์ต่ำ ซึ่งในขณะสตาร์ทมอเตอร์สลิปริง ซึ่งเป็นมอเตอร์ประเภทเหนี่ยวนำ ความถี่เหนี่ยวนำที่ส่งถ่ายจากสเตเตอร์ไปยังโรเตอร์มีค่าสูงสุด หรือก็คือความถี่ของสเตเตอร์ ในจังหวะนี้ ค่า XL ของโรเตอร์ จะมีค่าหนีห่างจากค่าความต้านทานขดลวดมาก ทำให้แรงดันเหนี่ยวนำและกระแสที่ไหลในวงจรโรเตอร์ มีเฟสต่างกันเกิน มุม 45 องศาซึ่งเป็นมุมที่ทำให้เกิดค่าทอร์คสูงสุดที่มอเตอร์ ฉะนั้นในจังหวะนี้ ถ้าเราต้องการค่าทอร์คสูงสุดที่ได้จากมอเตอร์ เราต้องหาค่าความต้านทานภายนอกมาต่อเพิ่มเพื่อ ปรับค่าความต้านทานรวมของวจรโรเตอร์ เพื่อให้ แรงดันเหนี่ยวนำและกระแสที่ไหลในวงจรโรเตอร์ มีค่าใกล้เคียง มุม 45 องศา มากที่สุด ประกอบกับในสภาวะที่มีตัวต้านทานภายนอกมาต่อ จะส่งผลให้อิมพีแดนซ์ ( R+JXL) ของวงจรโรเตอร์มีค่าสูง ส่งผลต่อเนื่องให้กระแสโรเตอร์มีค่าต่ำ และส่งผลต่อไปยังขดลวดสเตเตอร์ให้มีค่าต่ำตามไปด้วย ( พฤติกรรม Transformer Effect )

ต่อมาเมื่อมอเตอร์เร่งตัวออกไป และเพิ่มความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความถี่เหนี่ยวนำจะลดลง ส่งผลให้ค่า XL ของวงจรโรเตอร์เปลี่ยนแปลงลดลง ก็จะส่งผลให้ค่ามุมต่างเฟสของกระแสและแรงดันที่โรเตอร์ ที่ออกแบบไว้ที่แรกเริ่มเปลี่ยนตามความเร็วรอบ จึงจำเป็นให้ต้องปรับเปลี่ยนค่าความต้านทานที่นำมาต่อ ในลักษณะเปลี่ยนให้ลดลง เนื่องจากค่า XL ลดลง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องลดค่าความต้านทานภายนอก ลงมาเป็นสเต็ปๆ เรื่อยๆ จนถึงจุดที่ไม่ต้องใช้แล้ว และช๊อตในที่สุด

และเรารู้กันอยู่แล้วว่า ซอร์ฟสตาร์ท เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สตาร์ทมอเตอร์โดยการใช้วิธีการลดแรงดัน และเรารู้กันอีกว่า ทอร์คของมอเตอร์แปรผันตามค่าแรงดันที่ป้อน เมื่อความถี่คงที่ ฉะนั้นเมื่อนำ ซอร์ฟสตาร์ทไปจ่ายให้กับมอเตอร์สลิปริงที่ช๊อตขดลวดโรเตอร์ไว้ มอเตอร์จะผลิตทอร์คได้น้อยกว่าแบบเดิมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุสองปัจจจัย ( ไม่มีตัวต้านทาน และลดแรงดัน ) ส่งผลให้ต้องปรับค่าโวลท์หรือกระแสที่ใช้สตาร์ทที่มีค่าสูง และแน่นอนว่าทอร์คที่ต่ำและอิมพีแดนซ์ของของวงจรโรเตอร์ที่ต่ำย่อมส่งผลให้กระแสโรเตอร์ที่มีค่าสูง และกระแสสเตเตอร์มีค่าสูงในที่สุด

สรุปก็จะสอดคล้องกับพี่เสือที่ว่า การใช้งานซอร์ฟสตาร์ทไปสตาร์ทมอเตอร์สลิป ริงที่ช๊อตขดลวดโรเตอร์ ไม่เหมาะกับมอเตอร์ที่ต้องไปขับโหลดที่ต้องการสตาร์ทติ้งทอร์คสูงๆ
ความคิดเห็นที่ 5
Elec_Prew
25/07/2557
08:10 น.
การควบคุมแบบ Resistance Step คือการควบคุมอัตราส่วนความต้านทานโรเตอร์กับความเร็วรอบ (R2/slip) เนื่องจากค่าแรงบิดสูงสุด (Pull out Torque) จะแปรผันตามค่า R2/slip

ส่วนเรื่องที่ท่านช่างฯ อธิบายเรื่องค่า XL และ มุม 45 องศา ผมได้ลองเช็คกับ Text Book ดูแล้วปรากฏว่ามีจุดที่ไม่ถูกต้องอยู่ครับ เดี๋ยวจะเขียนอธิบายตามที่ผมเข้าใจจาก Text Book ให้อ่านกัน
ความคิดเห็นที่ 6
Elec_Prew
25/07/2557
08:18 น.
ตามรูปที่ 2 ของพี่เสือ ที่แต่ละ R2 จะให้ค่า Torque-Speed Characteristic ที่แตกต่างกัน แต่ค่าแรงบิดสูงสุด (Pull out Torque) มีค่าคงที่เนื่องจากการควบคุม R2/slip
ความคิดเห็นที่ 7
Elec_Prew
25/07/2557
20:34 น.
ขออธิบายเรื่อง Torque-Speed Characteristic หน่อยนะครับ
แรงบิดของมอเตอร์ = K x Br x Bnet x cosQ
Br คือ สนามแม่เหล็กบนโรเตอร์ แปรผันตรงกับกระแสในโรเตอร์
Bnet คือสนามแม่เหล็กรวมระหว่างสเตเตอร์กับโรเตอร์
Q (ใช้แทนสัญลักษณ์ Theta) คือมุมเฟสระหว่างแรงดันกับกระแสบนโรเตอร์
cosQ จะมีค่ามากที่สุดที่มุมระหว่างแรงดันกับกระแสโรเตอร์ = 0 ( in phase)

ตอนออกตัว ความเร็วรอบเป็น 0 slip (s) มีค่ามากที่สุด (=1)ความถี่บนโรเตอร์จะมีค่ามากที่สุดเท่ากับความถี่ของระบบไฟฟ้า (fr = s x ความถี่ระบบไฟฟ้า) XL ขอโรเตอร์ จะมีค่ามาก (XL = 2 x pi x fr)
ค่าแรงดันบนโรเตอร์จะมีค่ามากที่สุด ทำให้กระแสในโรเตอร์มีค่ามาก ส่งผลให้ Br มีค่ามาก
cosQ มีค่าน้อยเนื่องจากกระแสจะล้าหลังแรงดันเยอะจากผลของ XL

เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น slip จะมีค่าลดลง ความถี่นบโรเตอร์จะมีค่าลดลว XL จะมีค่าลดลง ทำให้กระแสล้าหลังแรงดันลดลง ทำให้ cosQ มีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันแรงดันบนโรเตอร์จะมีขนาดลดลงเนื่องจากความเร็วสัมพัทธ์ของสนามแม่เหล็กที่วิ่งตัดโรเตอร์มีค่าลดลงทำให้กระแสในโรเตอร์ลดลง และ Br มีค่าลดลง
ที่จุดนี้ แรงบิดจะมีค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลของการเพิ่มขึ้นของ cosQ มีมากกว่าการลดลงของ Br

เมื่อความเร็วเพิ่มจนถึงจุดนึงเนื่องจาก XL มีค่าลดลงมาก ค่า cosQ จะเพิ่มขึ้นช้า ขณะที่แรงดันบนโรเตอร์และกระแสยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง (Br ยังคงลดลง) เมื่อผ่านจุดนี้ไปค่าแรงบิดจะมีค่าลดลง เนื่องจากผลของ Br จะมีมากกว่าผลของ cosQ ที่จุดนี้จะเป็นจุดที่แรงบิดมากที่สุด (Pull out Torque) และไม่จำเป็นที่จุดนี้จะเกิดที่มุมล้าหลัง 45 องศานะครับ

จากวงจรสมมูล จุดที่เกิด Pull out Torque จริงๆคือที่
slip = R2 / sqrt (RTH^2 + (XTH + X2)^2)

โดย
R2 คือ ความต้านทานโรเตอร์
X2 คือ ความเหนี่ยวนำของโรเตอร์
XTH ~ X1 คือ ความเหนี่ยวนำของสเตเตอร์
RTH ~ R1(Xm/X1+Xm)^2 R1 ความต้านทานสเตเตอร์ และ Xm คือ ค่าความเหนี่ยวนำสร้างสนามแม่เหล็ก

ดังนั้นถ้าเราสามารถปรับเปลี่ยนค่า R2 (โดยการเอาความต้านทานภายนอกมาต่อกะขดลวด) เราสามารถเปลี่ยนจุดที่ทำให้เกิด Pull out Torque ได้
ความคิดเห็นที่ 8
เด็กใต้
09/08/2557
11:27 น.
กระทู้นี้วิชาการมากเกินความสามารถผมครับ แหะๆ
คห.4 กะ คห.7 อันไหนถูกกันแน่ครับ อ่านแล้วงงทั้งคู่
ความคิดเห็นที่ 9
ช่างมือใหม่
14/08/2557
18:41 น.
ผมเชื่อพี่ช่างซ่อมมอเตอร์ครับ ผมว่าเรื่องมอเตอร์แกรู้ลึกรู้จิง
ความคิดเห็นที่ 10
จบใหม่
17/08/2557
23:54 น.
ทำไมมุม 45 องศาถึงให้ค่าทอร์คสูงสุดครับพี่ๆ
ความคิดเห็นที่ 11
ช่างซ่อมมอเตอร์
21/08/2557
20:58 น.

ขอบคุณครับ สำหรับการคอมเมนท์ และดีใจมากเลย ที่มีคนอ่านเนื้อหาของผมที่เขียนไปแล้วนำไปวิเคราะห์ ซึ่งหายากมาก ก็เห็นจะมีท่าน Elec Prew คนเดียวจริงๆ ต้องขอขอบคุณจริงๆ

ก่อนอื่นขอเล่าที่มาที่ไป สักนิดนึงก่อน เรื่องมอเตอร์สลิป ริงว่าพอดีได้โจทย์ให้ไปบรรยายเรื่องการบำรุงรักษามอเตอร์สลิป-ริง ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการพูดถึง ทฤษฏี แต่ผมเองก็ไม่อยากยกมามาก ก็เลยรวบรัดตัดเอาเฉพาะสูตร ที่เกี่ยวกับช่วงระยะเวลาการสตาร์ท มาพูดเท่านั้น ซึ่งก็ได้สูตรตามนี้
ความคิดเห็นที่ 12
ความคิดเห็นที่ 13
ช่างซ่อมมอเตอร์
21/08/2557
21:04 น.

ซึ่งในการบรรยาย เหตุผลที่ยกสูตรนี้มา ต้องการเพื่อที่จะอธิบายถึงว่า ทอร์ค มีค่า R2 เป็นปัจจัยหลัก ที่มีผลต่อทอร์ค และเมื่อพิจารณา ตรงสูตรบรรทัดแรก ก็เข้าใจเหมือน ท่าน Elec-Prew เลยว่า กระแส และแรงดัน ต้องมีเฟส เดียวกัน คือ Cos Fi = 1 จึงจะทำให้ได้ค่าทอร์คสูงสุด ตามสไลด์ที่ผมได้ทำไว้ตอนที่ไปบรรยาย
ความคิดเห็นที่ 14
ความคิดเห็นที่ 15
ช่างซ่อมมอเตอร์
21/08/2557
21:15 น.

โดยปกติ ในการบรรยาย ซึ่งลูกค้าส่วนมากไม่ใช่กลุ่มลูกค้าทางระยอง ยังไม่เคยมีให้ผม Derive สูตรให้ดู พอดีวันนั้นลูกค้าเป็นลูกค้ากลุ่มระยอง ต้องการให้ผม Derive ซึ่งผมเองไม่ได้เตรียมตัวไป เพราะจุดประสงค์ไม่ต้องการไปสอนวิชาเครื่องกล แต่อยากให้เอาสุตร นำไปใช้เลย เลยขอที่จะส่งข้อมูลไปให้ทีหลัง

และเมื่อมาหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้อ่าน Tech และได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มุมที่จะทำให้แรงบิดขณะสตาร์ท มีค่าสูงสุดได้ กระแส และแรงดัน ต้องมีมุมห่างกัน 45 องศา ตอนแรกก็ไม่เชื่อ แต่ลองมาพิจารณา สูตรที่เขาตัดค่าคงที่ ออกไปแล้ว จะเป็นว่ามีแต่ค่า R2 และ X2
ก็เลยลองแทนค่าใน Exel ดูตามตามราง
ความคิดเห็นทั้งหมด 42 รายการ | 1  2  3    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: