Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,985
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,782
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,352
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,589
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,214
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
26/06/2556 17:25 น. , อ่าน 3,157 ครั้ง
Bookmark and Share
ความรู้เกี่ยวกับการ RETROFIT เครื่อง CNC และวิธีการครับเน้นเข้าใจง่าย
อิท
26/06/2556
17:25 น.
เป็นblogของผมครับ น่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังสนใจนะครับ ยินดีรับข้อติชมครับ
http://nitt49.blogspot.com/ (ก้อปไปวางช่อง URL นะครับ)
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
สืบศักดิ์
28/06/2556
11:41 น.
ขออภัย ที่คงต้องบอกว่า ณ วันนี้ เท่าที่มีอยู่ใน บล็อคของท่าน ไม่ได้ช่วยอะไรเลย
นอกจาก เพิ่มสถิติจำนวนผู้เข้าชม ซึ่งผมก็กลายเป็นหนึ่งในนั้น
ยกเว้น ท่านจะ หาข้อมูลเพิ่มเติม ที่ทำให้อ่านแล้ว เข้าใจง่าย อย่างที่คุณบอกไว้ แต่ต้น เพิ่มเติมเข้าไป

การ Retrofit เครื่อง CNC นั้น หลายคนมักบอกว่า ชิ้นส่วนทางกล ไม่ค่อยเสียหาย หรือ เสียหายน้อย เมื่อเทียบกับ ชุดคอนโทรล (จึงมักแนะนำให้เปลี่ยน คอนโทรล รุ่นใหม่ๆเข้าใส่แทน)

แต่ผมขอเตือนว่า ชิ้นส่วนทางกล เป็นสิ่งแรก ที่ทำให้การผลิตมีปัญหา อันมาจากความผิดพลาดของโครงสร้างเครื่อง (Geometry Error)

การทำ รีโทรฟิต โดยเพียงแค่ เปลี่ยนชิ้นส่วน ทางกล บางชิ้น โดยมิได้ ตรวจสอบความถูกต้อง ของโครงสร้าง เท่ากับ ท่านหลงทาง

ความเสื่อมของสายสัญญาณ ประกอบกับ ความซับซ้อน ในระบบความปลอดภัย หรือ ป้องกัน ของเครื่องจักร มักเป็นเหตุให้ผู้ทำการซ่อม ที่มิได้เรียนรู้จาก ผู้ผลิตคอนโทรล หรือ เครื่องจักร อ้างเหตุ ในการเปลียนคอนโทรล ใหม่
ประกอบกับ การดูแลรักษา ระบบอีเล็คทรอนิคส์ ของผู้ใช้เอง ที่ปล่อยปละ ละเลย การดูแลที่ดี ทำให้ แผงวงจรต่างๆ ของคอนโทรล เสื่อมสภาพรวดเร็วกว่า ชิ้นส่วนทางกล และ ระบบไฟฟ้า อีเล็คฯ เช่น แผงวงจร ต่างๆ ก็มีอายุใช้งาน สั้นกว่า โครงเครื่อง หรือ ชิ้นส่วนทางกล ที่ไม่มีการเคลื่อนที่

แต่ชิ้นส่วนทางกล ที่มีการเคลื่อนที่ จะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า ชิ้นส่วนทางไฟฟ้า อีเล็คฯ

ดังนั้น ของสรุป ดังนี้ คือ

หากจะทำ รีโทรฟิต ควรปรับปรุง ความถูกต้องของโครงสร้าง หรือ ชิ้นส่วนทางกล ที่เคลื่อนที่ ด้วย (ไม่ใช่เพียงแค่ ถอดประกอบ และ ทำสีใหม่)

พึงเข้าใจก่อนว่า หลังการทำแล้ว ค่าความถูกต้อง / เที่ยงตรง ของเครื่อง จะไม่สามารถเท่ากับ หรือ ใกล้เคียง กับเครื่องใหม่ได้ ยกเว้น ทำครบทุกกระบวนการ

ขอเล็กๆ น้อยๆ แค่นี้ก่อน ครับ
ความคิดเห็นที่ 2
อิท
03/07/2556
22:56 น.
ขอบคุณสำหรับคำแนะและความรู้ของ คุณสืบศักดิ์ มากครับ ในส่วนของ blogที่เขียน คงแล้วแต่ผู้อ่านนะครับว่าเนื้อหามีประโยชน์หรือเปล่า ถ้าอ่านแล้วคิดว่าไม่มีประโยชน์หรือเสียเวลาก็ต้องขออภัยด้วยครับ เนื้อหาในblogมีจุดประสงค์เพื่อแนะนำงาน รีโทรฟิต ว่าเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ให้กับ ผู้เริ่มต้น ไม่ได้เชี่ยวชาญงานด้านนี้ เข้าใจเนื้อหาได้ ไม่ยาก และได้รู้ไว้เป็นอีกทางเลือกกรณีเครื่องเก่า หาสแปร์พาร์ทไม่ได้ เป็นอีกทางเลือกในการลด cost ให้กับบริษัทได้ แทนที่จะซื้อเครื่องใหม่ราคาแพงๆ และถ้าสนใจ ผมยินดีเข้าไปพรีเซ้นต์เพิ่มเติมครับ ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องก็ได้ครับ ผม อิทธิพล 0813020477 มีทีมให้คำปรึกษาทุกเรื่องเกี่ยวกับ siemens ครับ
ส่วนการรีโทรฟิตของผม แน่นอนว่าต้องตรวจสอบชิ้นส่วนทางกลก่อนทุกครั้ง หากชุดส่งกำลัง เช่น บอลสกรู มีการสึกหรอ คอนโทรลเลอร์ของ siemens สามารถตั้งค่าชดเชยได้ ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าสึกหรอมากเกินไป เราจะแจ้งลูกค้าเปลี่ยน โดยเทียบขนาดของบอลสกรูตามของเดิมของมัน ซึ่งเป็นวิธีการพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะสามารถชดเชยที่คอนโทรลเลอร์ได้
ส่วนชิ้นส่วนทางกลที่คุณบอกว่ามีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่เสมอไป ขึ้นกับ แบรนด์เครื่อง การบำรุงรักษา การใช้งาน โดยเฉพาะค่าย เยอร์มัน หรือ ญี่ปุ่น การสึกหรอน้อยมาก จาก300เครื่องที่รีโทรฟิตมา
เพิ่มเติมในส่วนของ blog ต้องเขียนอีกแน่นอน แต่เป็นหัวข้ออื่น จุดประสงค์อื่น ซึ่งก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมตามที่แนะนำมา และหวังว่า จะได้รับคำติชมอีก ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 3
อิท
09/07/2556
13:53 น.
ขอเปลี่ยนเป็นใช้ลิ้งนี้แทนครับ เนื่องจากหาวิธีเปลี่ยนลิ้งข้างบนไม่ได้ครับ
http://nitt49.blogspot.com/2013/06/retrofit-cnc.html
ความคิดเห็นที่ 4
สืบศักดิ์
09/07/2556
19:38 น.
ดีครับ ถ้าเนื้อหาจะค่อยๆเพิ่มรายละเอียดไปเรือยๆ

ส่วนของผมไม่มีอะไรมาก อยากทราบ ลองดูบรรยากาศเก่าๆ ที่เคยลงไว้ได้ ตามนี้

http://www.9engineer.com/index.php?m=webboard&a=show&topic_id=18397
ความคิดเห็นที่ 5
Retrofitting
15/07/2556
09:54 น.
ขอแทรก ท่านผู้รู้ทั้งสองท่านนะครับ ในการ Retrofitting ท่านสามารถทำให้ดีเกือบเทียบเท่าเครื่องใหม่ได้ก้จริง แต่ก้คือต้องทำเยอะมาก หรือตามความเสียหายของเครื่องนั้นๆ เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วในการทำการ Retrofitting เครื่องให้ลูกค้า มันก้ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้ามีทุนแค่ไหน ต้องการความละเอียดของเครื่องแค่ไหน ส่วนช่างที่จะทำการ Retrofitting ผมเชื่อนะครับว่าหลายท่านคงมีความชำนาญและรู้ดีว่าต้องทำอย่างไร เพราะก่อนทำการ Retrofitting จะต้องมีการสำรวจความเสียหายของเครื่องก่อนเสมอ และช่างเองคงรู้ว่าจะทำให้เครื่องออกมามาดีระดับไหน ต้องทำอย่างไรครับ

ผมยังมั่นใจในช่างไทยครับ พวกคุณเก่งเสมอ เพราะฉะนั้นไม่มีใครผิดใครถูกใครผิดนะครับ ใครรู้เยอะกว่าก้เอามาแชร์กันครับ
ความคิดเห็นที่ 6
zeal_team6
02/08/2556
17:04 น.
ในความเห็นส่วนตัวผมว่า จะชิ้นส่วนทางกลหรือชิ้นส่วนทางไฟฟ้า มันก็สำคัญทั้งสองนะครับ และถ้าหากเราต้องการตรวจสอบโครงสร้างทางกลหรือการซ่อมก็ตาม เราย่อมต้องมีการถอดใช่หรือไม่ครับ และการถอดนี้แหละผมถามว่าคนถอดเข้าใจระบบของคอนโทรล ดีแล้วใช่หรือไม่ เพราะการรื้อแมคคานิค ใช่ว่าเราจะไม่ได้ใช้สกิลของไฟฟ้าและอิเลคเลย ยกตัวอย่าง ง่ายๆ เราถอดบอลสกรู หรือ หัวสปิลเดิล ออกมาเปลี่ยน ลูกปืน ตอนถอดผมถามว่าเราต้องถอดสายไฟออกด้วยใช่หรือไม่
แล้วเราเข้าใจแล้วใช่หรือไม่ว่าสายไหนถอดไปแล้วจะเกิดเอฟเฟคอะไร หรือมีใครในที่นี้ถอดออกโดยปล่อยให้มอเตอร์รั้งสายตามยถากรรมไม่ต้องไปสนใจมัน ถ้าเป็นคอนโทรลรุ่นเก่าสิ่งเหล่านี้มันก็อาจไม่จำเป็น แต่เท่าที่ผมเห็นคอนโทรลรุ่นใหม่เครื่องรุ่นใหม่ๆ ไฟฟ้าค่อนข้างมีบทบาทมากเหมือนกันนะครับ
ความคิดเห็นที่ 7
สืบศักดิ์
09/08/2556
11:11 น.
การทำงานใดๆย่อมมี ลิมิต บางงานเราต้องถอย เพราะผู้สร้างเครื่องวางยาไว้
เหมือนที่ คุณกำลังอธิบาย ผมไม่เจอ เครื่องตัดเลเซอร์ 5 แกน ผมก็ต้องถอย เพราะเขาไม่ให้ คู่มือ การปรับแต่งพารามิเตอร์

ส่วนเรื่องที่คุณเอ่ยถึง การปลดสายด้านไฟฟ้า แล้วอาจมีปัญหา กรณีนี้ มาจากเรื่อง Absolute encoder กับ Increment encoder ที่แตกต่างกัน บางชนิดต้องจ่ายไฟ 24V เลี้ยงไว้

การทำงานใดๆ ย่อมไม่มี ใครเก่งไปทุกเรื่อง แต่การทำงานเป็นทีม หรือ มีเครือข่ายการทำงาน ย่อมจะทำให้ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไปได้

ส่วนงบประมาณ การทำของแต่ละราย อันนี้ เป็นเรื่องของลูกค้า ทุกคนทำงาน บนงบประมาณครับ ใครจะบ้า ทำฟรี
ส่วนจะทำหรือไม่ทำ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

และขอปิด ข้อถกเถียง เรื่อง ทำไมต้อง ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโครงสร้าง ก่อนการซ่อมบำรุง ติดตามหาเอาเอง

เพราะถูกพิสูจน์ ในสถาบันระดับชาติ มาหลายองค์กร แม้แต่ ดร. ของ AIT. ก็ยังยอมรับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: