Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,987
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,352
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,589
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,901
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,215
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
23/04/2556 11:30 น. , อ่าน 14,208 ครั้ง
Bookmark and Share
Breaker 1 pole และ 2 pole
novice
23/04/2556
11:30 น.
รบกวนถามพี่ วิศวกรหน่อยครับ

พอดีผมมีข้อสงสัย

กรณีการใช้ breaker 1 pole ป้องกัน แค่ สาย line

และการใช้ breaker 2 pole ป้องกัน สาย line และ netrual

ในกรณีที่โหลด 220 VAC

มีข้อแตกต่างกันอย่างไร บ้างครับ

ขอบคุณมากครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
LEKS
25/04/2556
21:55 น.
มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้ากำหนดไว้ครับ ลองไปเปิดอ่านดู บอกไว้ว่าอุปกรณ์ตัดตอนให้ติดตั้งที่สายมีไฟครับ กรณีติดตั้งทั้งสายมีไฟและสายนิวตรอล มาตรฐานกำหนดไว้ว่าจะต้องให้ทำงานพร้อมกัน จะเห็นว่าเบรกเกอร์ที่มี 2P ตรงหัวจะเชื่อมถึงกัน จะได้เปิดหรือปิดพร้อมกัน
ความคิดเห็นที่ 2
novice
26/04/2556
13:08 น.
ขอบคุณมากครับ คุณ LEKS

ผมมีข้อสงสัยอีกอย่างครับ

แล้วมันต่างกันตรงไหน

ทำไม เราถึงไม่ตัดไฟ แค่สาย line ที่เดียว

แต่บางกรณี ทำไมถึงต้องตัด สาย line และสาย neutral ด้วย

ขอบคุณมากนะครับ
ความคิดเห็นที่ 3
LEKS
26/04/2556
21:42 น.
ไม่ต่างกันครับ พูดแบบบ้านๆคือต้องตัดเส้นมีไฟ แต่ถ้าจะตัดนิวตรอลด้วยจะต้องตัดพร้อมกัน 2 เส้น (หมายความว่าห้ามตัดวงจรที่สายนิวตรอลถ้าไม่ได้ตัดวงจรที่สายมีไฟด้วย ก็แค่นั้น ส่วนถ้าตัดวงจรที่สายมีไฟแล้ว จะตัดวงจรที่สายนิวตรอลด้วยหรือไม่ก็ได้)
ความคิดเห็นที่ 4
acilis
29/04/2556
10:28 น.
ถ้าใช้ทั่วไป ตามบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม เช่น ตัดจ่ายมอเตอร์ปั๊ม 220 โวลต์ วงจรแสงสว่าง ระบบตู้คอนโทรลที่ไม่มีความสลับซับซ้อนและระบบการป้องกันที่แยกออกจากกัน คงไม่มีประเด็นอะไร ทีนี้ว่า ในการใช้งาน หากตัดจ่าย 2โพล (ไลน์และนิวตรัล) เรามักจะมองในเรื่อง ISOLATOR TRANSFORMER เช่น เราใช้หม้อแปลง เข้า ไลน์ทูไลน์ 380 โวลต์ ออก ไลน์ทูนิวทรัล 220 โวลต์ เพียงเพื่อป้องกันในภาคส่วนชุดคอนโทรล เมื่อมีการลัดวงจรไม่ให้ สไปท์ หรือ ผลกระทบจากการลัดวงจร(เช่นซิงเกิลไลน์ทูกราวด์ฟอล์ต ) เข้าไปสู่ระบบควบคุม เช่น ชุด PLC ,MICROPROCESSOR.
ผมมองว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และการออกแบบ ว่าต้องการป้องกันอะไร ดังนั้น การตัดวงจรแบบ 1 โพล กับ 2 โพล ต่างกันแน่นอน ในแง่การป้องกันและการออกแบบ
ความคิดเห็นที่ 5
novice
30/04/2556
08:32 น.
ขอบคุณครับ คุณ acilis พอจะยกตัวอย่าง กรณีพอสังเขปได้ไหม ครับ

หรือมีหนังสือแนะนำ ไหมครับ
ความคิดเห็นที่ 6
acilis
05/05/2556
11:02 น.
ขออภัยครับ เพิ่งแวะเวียนเข้ามาอีกครั้ง แบบสังเขปนะครับ

เราลองไปดูที่ตู้คอนโทรลเรานะครับ พิจารณาที่แหล่งจ่ายเข้าชุดคอนโทรล โดยทั่วไปสายเพาเวอร์จะเข้าที่เมนเบรคเกอร์อาจจะ 3 เส้น (ไลน์) หรือ 4 เส้น (L+N) เราละเลยเรื่องการพูดถึงสายกราวด์ไปนะครับ เอาพักไว้ก่อน

ถ้าไฟที่จ่ายเป็น 3 เฟส 380 หรือ 400 โวลต์ โดยทั่วไปโรงานไทย แรงดันวงจรคอนโทรลจะเป็น 220 โวลต์ ในตู้คอนโทรลจะมีหม้อแปลงขนาดสัก 100 – 1500 VA 380/220 เจ้าใบนี้แหละครับจ่ายชุดคอนโทรล และจะมีเบรกเกอร์ 2 โพลไว้ตัดตอน (ละเลยการเลือกเบรคเกอร์2โพลไว้นะครับ มีความเร็วในการตัดมาเกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรจากยุโรป) ต้องตัดทั้งไลน์และนิวทรัลครับ ไม่อย่างนั้นอุปกรณ์จะชำรุดเสียหายขณะเกิดฟอลต์ หรือ ฟอลต์จากภายนอกจะเข้ามาในวงจร.

พอมาเบรกเกอร์ 1 โพล มันจะตัดจ่ายเช่น ไป โซลีนอยด์เป็นต้น หรือ ตู้คอนโทรลสตาร์ –เดลต้า ชุดคอนโทรลใช้เบรกเกอร์ 1 โพลตัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ ISOLATE TRANSFORMER (อย่าฟันธง 100% นะครับ ต้องดูขบวนการผลิตทั้งหมดด้วย ) หนังสือที่แนะนำ เช่น Power circuit and control, design circuit, Voltage control in power system เป็นต้น อย่าไปเสียเงินซื้อเลยครับ (ถ้าจะซื้อก็ไม่เป็นไร) แนะนำให้หาในเวป แล้วปริ๊นซ์เฉพาะที่เราจะใช้ไปอ่าน อ่านบนจอมอนิเตอร์มากๆ สายตายเราจะได้รับผลกระทบในระยะยาวครับ


ความคิดเห็นที่ 7
ผ่านมา
27/05/2556
02:41 น.
การแนะนำทางวิชาการ ต้องอ้างอิงมาตรฐานด้วยเช่น IEC, MEMA, ANSI, IEEE
วสท, การไฟฟ้าฯ ถ้าไม่อ้างอิงมาตรฐานก็ต้องบอกให้ชัดว่า มาจากประสบการณ์ที่เคยทำมา ส่วนมากจะทำตามกันมา แต่ผลงานที่ทำดีหรือไม่ไม่ทราบ เพราะเสร็จงานแล้วรับประกัน 1 ปีจึงไม่อาจทราบผลงานที่ตัวเองทำไว้ ผู้ที่จะตอบได้ว่าผลงานท่านเหล่านนี้ดีหรือไม่ดี คือผู้ที่เฝ้าโรงงานนั่นเอง


ความคิดเห็นที่ 8
attaphon
29/04/2559
12:01 น.
ยังงงอยู่ครับ สรุป 1P หรอ 2P ก็ตัดระบบในตู้ control ได้ ใช่มั้ยครับ
ที่ใช้ 1P ในตู้ control คือเพื่อความประหยัดใช่มั้ยครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: