Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,978
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,576
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,986
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,767
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,548
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,506
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,816
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,342
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,445
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,357
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,507
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,582
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,513
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,554
17 Industrial Provision co., ltd 39,221
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,372
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,296
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,617
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,436
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,218
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,955
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,580
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,515
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,945
28 AVERA CO., LTD. 22,585
29 เลิศบุศย์ 21,681
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,244
32 แมชชีนเทค 19,891
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,183
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,135
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,797
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,601
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,895
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,474
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,299
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,236
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,205
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,130
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,065
47 Systems integrator 16,709
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
06/01/2556 00:47 น. , อ่าน 58,037 ครั้ง
Bookmark and Share
เรื่องของ HEATER และ วงจรควบคุมอุณหภูมิ SSR+ Temp.Control
Run AND Run
06/01/2556
00:47 น.
สวัสดีครับ ผมมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการต่อโหลด 3 เฟสแบบ Y ครับ โดยโหลดเป็น HEATER (Resistive load) ครับโดยผมกำลังสร้างตู้อบเรซิน จากการคำนวนต้องใช้ฮีตเตอร์ทั้งหมด 30 Kw โดยเลือกใช้ระบบ 3 เฟส ต่อแบบ Y กระแสโหลด = 45.5A โดยแบ่ง HEATER ออกแบ่ง 3 เฟสๆ ละ 10kw แต่ละเฟสมี HEATER ต่ออนุกรมกันตามภาพเพื่อให้ได้ 10kw ในแต่ละเฟสตามภาพ มีข้อสงสัยดังนี้ครับ

1. ในชุด HEATER 10 kwแต่ละชุด HEATER ที่นำมาต่ออนุกรมกันผมตองสั่งทำเป็นแบบที่ใช้กับแรงดัน 220V ใช่หรือไม่
2. ในส่วนของการ ON-OFF HEATER ผมใช้ตัว TEMP.CONTROL ควบคุมแบบ PID และสั่งให้ SOLID STATE RELAY แบบ 3ph ON-OFF HEATER แสดงว่า การทำงานของ SSR เป็นแบบ ON-OFF ใช่ไหม หรือ มันมีแบบที่สามารถปรับกำลังไฟฟ้่าของโหลดให้เปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมได้ ที่เรียกว่า Phase Angle Controller ใช่หรือไม่ครับ ถ้าตอนเลือกดูอุปกรณ์จากแคตตาล็อค ตัวไหนที่สามารถปรับหรี่ได้จะระบุว่าทำงานแบบ Phase Angle Controller มาเลยใช่ไหม ถ้าไม่ระบุแสดงว่าทำงานแค่ ON-OFF อย่างเดีวใช่ไหม ของความรู้เรื่องนี้ด้วยครับ

ขอคำชี้แนะด้วยครับ ไม่เคยจับด้านนี้เลย
ความคิดเห็นทั้งหมด 15 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างวรเดช
06/01/2556
19:51 น.
เห็นคำถามพอดีเคยทำมาก่อนเลยขออนุญาติวิศวกรใหญ่ตอบก่อน อิอิ

การที่จะควบคุมแบบPID -phase angle control
ตัว SolidState Relayหรือ Power SCR มันต้องการSignal เป็น Input Analog control
4-20mA , 0-10V , 1-5V
และมันต้องระบุรุ่นว่าเอาเป็นโหลด R หรือโหลด L


นั่นคือตัว ควบคุมอุณหภูมิต้องมี Analog Out ตามค่าที่ว่า ด้วย

หากเอาControllerรุ่นที่ออกเป็น หน้ารีเลย์ ON OFF เพียงอย่างเดียวหรือPULSE
อิอิ เหนื่อย อีกครับ


ส่วนเจ้าฮีตเตอร์อนุกรม = 240V/5ตัว = 44V
สั่งทำตัวละ10KW@50V=200A บรื๋ออออ
ฮ่าๆ
ทำไมไม่ขนานกันที่แรงดัน240Vครับ มันจะตัวเล็กกว่านะ

10KW/240V ~@42A/5ตัว =ตัวละประมาณ8.5Aที่ /240V แล้วเอามาต่อขนานกันครับ
มันก็จะได้เฟสละ10KW
อิอิ


หากงง มาก ติดต่อกันเพื่อความเข้าใจได้ครับอีกหลายทาง


ช่างวรเดช 0839921379
mr.worradej@hotmail.com
mdbpanel@hotmail.com
ความคิดเห็นที่ 2
acilis
07/01/2556
14:41 น.
แบบที่คุณคำนวณมา ผมขอแนะนำว่าใช้ แมกเนติค คอนแทคเตอร์เถอะครับ เลือกที่เป็น AC1 RESISTANCE LOAD กระแสสัก 250 แอมป์ ตัวเบิ้มเลยทีเดียวเชียว ไม่เป็นไร เดี๋ยวผมอธิบายต่อ เอาแบบอื่นดีกว่านะ ไปกันต่อเถอะ
ความคิดเห็นที่ 3
acilis
07/01/2556
14:47 น.
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างของตู้อบคือ พัดลมหมุนเวียนอากาศนะครับ ความร้อนจะได้สม่ำเสมอกัน ผมขอแนะนำว่าเอาฮีตเตอร์มาต่อขนานกันแล้วต่อแบบสตาร์ ก็ได้ ให้แผ่น INSULATOR หน้าสัก 20-30 มิล เจาะรู ยึดฮีตเตอร์ ที่ขั้วต่อใช้แผ่นทองเหลือง หรือบัสบาร์ทองแดงจั๊มถึงกัน ถ้าใช้หางปลาย้ำกับสายทนความร้อน หางปลาจะเสียสภาพไปก่อนเพื่อน แบบนี้ง่ายดี และใช้กันในตู้อบทั่วๆ ไป แรงดันก็อยู่ที่ตัวละ 220-240 โวลต์
ความคิดเห็นที่ 4
Run AND Run
09/01/2556
21:15 น.
ขอบคุณมากเลยครับ คุช่างวรเดชเด๋วผมติดต่อไปครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 5
Run AND Run
09/01/2556
23:47 น.
ช่วยชี้แนะด้วยรับ เดิมทีผมใช้สูตรคำนวณดังต่อไปนี้ ผิดถูกอย่างไรช่วยแนะนำผมด้วย ถ้าช่วยแสดงวิธีคำนวนด้วยยิ่งดีครับ
*** ขออภัยครับจากรูป ในชุด Heate ต้องเป็น Heater 4 ตัว อนุกรมกัน ตัวละ 2.5 kW ในแต่ละชุด Heater 10 kW ไม่ใช่ตัวละ 10 kW นะครับ ขออภัย
ระบบไฟฟ้าที่ของเตาอบเ็ป็นระบบ 3 เฟส 380V ดังนั้นการต่อโหลด ต้องเป็นแบบ Y หรือ Delta ผมเลือกการต่อแบบ Y
จากความสัมพันธ์การต่อโหลดแบบ Y : VL = root 3 Vph , IL = Iph
ถ้าผมจ่ายไฟฟ้า 3 เฟสให้กับ HEATER ที่ต่อแบบ Y แสดงว่าแต่ละเฟสจะได้รับแรงดัน VL = 380V : VL = root3 Vph :
แรงดันที่ตกคร่อมโหลด Vph = 380v/1.732 = 219.4v
ขนาด Heater จากการคำนวณต้องใช้ขนาด 30 kW
ผมคำนวณค่ากระแสจาก P = Root3 x VL X IL CosO
---> I = P/Root3 X Vl XCos(1)
= 30kW / 1.723 x 380 x1
= 45.58 A
จากการต่อแบบ Y จะได้ IL = Iph = 45.58 A
ผมแบ่งฮีตเตอร์ออกเป็น 3 ชุด เท่าๆ กันชุดละ 10 kW ผมมอง Heater เป็น R ตัวหนึ่ง นำ็ Heaterมาต่ออนุกรมกันตัวละ 2.5 kW Watt รวม เฟสละ 10kw Vตกคร่อมแต่ละตัว = 55V
กระแสในแต่ละเฟส = 45.45 A (หาจากสูตร P=IV=I2R=V2/R)

ครับจากการคำนวนมีแรงดันตกคร่อม Heater แต่ละตัวในแต่ละเฟส 55V ตอนนี้ปัญหาคือแรงดันตกคร่อมแต่ละตัวไม่ถึง 220V ครับผมพอเห็นภาพแล้ว

**** ฮีตเตอร์ที่สั่งทำนะครับเป็น ฮีตเตอร์ท่อกลมดัดตัว U ขนาด 11 mm 2.5 kW ความยาวทั้งหมด 2000 mm ระยะดัดโค้งที่ 60 mm ต้องการติดตั้งแนบกับผนังตู้โดยเว้นระยะห่างจากผนังตู้ และติด Heater ฝั่งละ 6 ตัว ด้านข้างซ้าย - ขวา ใีนลักษณะตัว U เรียงกันด้านบนติดไม่ได้ครับ ติด Blower

ตอนผมโทรไปสั่งทำ Heater ช่างเขาถาม ความยาว , ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง , แรงดันที่ใช้งาน Watt ที่ต้องการ และเขาก็บอกกำลังวัตต์ที่สามารถสร้างได้สูงสุดมา หรือ กำลังวัตต์สูงสุดที่สร้างได้ที่เหมาะสม ไม่ทราบว่า พี่ๆ รู้สูตรการคำนวนไหมว่าสามารถคำนวนได้อย่างไรบ้าง
ความคิดเห็นที่ 6
acilis
10/01/2556
14:15 น.
เพื่อป้องการการสับสน ผมคิดว่าควรถามเป็นข้อๆ นะครับ อันนี้ผมแสดงความคิดเห็น อันหนึ่งผมคิดว่าเราต้องกลับไปทำความเข้าใจกับมันใหม่ให้ลึกซึ้งและตรงประเด็น รวมทั้งห้างร้านที่ไปติดต่อนั้นเป็นไปได้เปลี่ยนเถอะครับ ไม่อธิบายใดๆเลย ฮีตเตอร์ที่เรากำลังกล่าวถึง เรียกว่า TUBULAR HEATER ถ้าหากจะใช้แบบนั้นจริงๆ แบบกังวลว่าจะร้อนไม่สม่ำเสมอกัน ก็ทำเป็นแบบแท่งเดียวยาวไปเลย แล้วขดเป็นรูปตัว 4 ตัวยู เอาไปยึดติดผนังตู้ไปเลย การออกแบบนั้น สามารถต่อได้ทั้งแบบสตาร์และเดลต้า ขึ้นอยู่ที่ว่าเราสั่งซื้อไปพิกัดไหน 380V 2500 W หรือ 220V 2500W หรือ 55 V 2500 W คุณภาพของวัสดุ ดูเส้นลวดความร้อนว่ามาจากประเทศไหน วัสดุท่อกลม SUS316 หรือ SUS304 ที่คอท่อเป็นแบบอินคอเนลหรือเปล่า ที่อุณหภมิปกติ เอามิเตอร์วัดความต้านทานดูว่าได้กี่โอห์ม เช่น 2500w 380v = (380*380)/2500 = 57.76 โอห์ม บวกลบเกิน5% ถือว่าคุณภาพแย่ ไม่ควรใช้ ส่วนมากถ้าสั่งจากญี่ปุ่น จะวัดโอ ห์มและเขียนกำกับมาให้เลยด้วยทศนิยม2ตำแหน่ง ทีนี้ว่าการออกแบบ เท่าที่ผมทำงานมา เช่น ออกแบบเพลทแบบญี่ปุ่น จะไล่ขนาดฮีตเตอร์ออกมา ด้านในสุด 1000 – 1200 วัตต์ และตัวนอกสุด 1500 วัตต์ เป็นต้น ในไลน์ผลิตจำพวกตู้โอเว่น ต้นทางจะเป็นชุดไมโครเวฟ ตรงตู้โอเว่น จะใช้ฮีตเตอร์ชุด และนำอากาศร้อนด้วยโบลว์เวอร์ แต่จุดด้อยของมันคือ แบริ่งโบลว์เวอร์เสียสภาพบ่อย พอมาฝั่งของเยอรมัน ต้นทางใช้ระบบแก๊สเบริ์นเนอร์ ตู้โอเว่นใช้ ไมโครเวฟ ไม่ใช้ฮีตเตอร์ แต่ผมจะชี้ให้เห็นว่า พอมาตรงโบลว์เวอร์ เขาเลือกที่จะนำมอเตอร์แยกออกจากชุดโบลว์เวอร์และส่งแรงขับด้วยสายพาน ดังนั้น ผมจึงบอกได้ว่าอยู่ที่คุณออกแบบ ตามความต้องการของคุณเพื่อตอบโจทย์กับขบวนการผลิตของคุณนั่นเอง และขณะนี้คุณกำลังกังวลว่า ถ้าวางฮีตเตอร์ไม่กระจายเต็มพื้นที่ ความร้อนจะไม่ทั่วถึง หากมองในมิติของผมสำหรับงานตู้อบโอเว่น วางฮีตเตอร์ไว้จุดเดียวแล้วทำไลน์ลมร้อนหมุนเวียนให้เหมาะสม ดีกว่าวางฮีตเตอร์กระจายไปทั่วตู้ (ผมมองดูตู้อบของต่างประเทศที่มีขนาดไลน์ยาวๆ)
สูตรคำนวณมีครับ ปัจจัยขึ้นอยู่ที่ว่า พื้นที่ท่อที่สร้างฮีตเตอร์มีเท่าไร และจะสามารถใส่เส้นลวดความร้อนเข้าไปได้เท่าไร มันมีพิกัดของมันอยู่ครับ แต่จะมาถึงตรงนี้ เอาเรื่องฮีตเตอร์ให้เคลียร์ก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมเลยนะครับ
ความคิดเห็นที่ 7
Run AND Run
11/01/2556
11:44 น.
ขอบคุณมากครับเป็น ความรู้ใหม่ที่ดี สำหรับ การเริ่มต้น
ความคิดเห็นที่ 8
Run AND Run
13/01/2556
01:56 น.
ผมมีข้อสงสัยอีกแล้วครับ ถ้าผมนำฮีตเตอร์มาต่อขนานกัน ค่า R มันต้องลดลงครึ่งหนึ่งตามภาพต่อขนาน 4 ตัว เพื่อให้เป็นกลุ่มโหลดในเฟสนั้น ดังนั้นพิกัด Watt ก็ต้องเปลี่ยนเพื่อให้ได้ค่า Watt ที่ต้องการ (p=I2R) ปัญหานี้มีทางแก้อย่างไรครับ
ความคิดเห็นที่ 9
acilis
15/01/2556
21:49 น.
เป็นคำถามที่ดีครับ ปัญหาเรื่องความต้านทานคำนวณตามสูตรครับ ขนานหรืออนุกรมกันแล้ว อาจจะต่อแบบสตาร์ หรือเดลต้า อยู่ที่พิกัดแรงดันที่เราสั่งฮีตเตอร์มา เรื่องกำลังวัตต์มองที่กำลังวัตต์รวมครับ ออกแบบตู้ไว้อย่างไร โหลดสูงสุดเท่าไหร่ คำนวณกำลังวัตต์เอาครับ ภาพที่ผมโฟสเป็นชุดฮีตเตอร์ที่ทำขึ้นในไทยนี่แหละครับ นำมาแทนชุดของเดิม ของญี่ปุ่น อายุการใช้งานอยู่ที่ 8000 ชั่วโมง (ทำpredictive maintenance)ถ้าพี่ไปถามช่างบางคนอาจจะบอกว่านานเป็น 5ปี10ปี ทีนี้ว่าขอให้พี่มองในการใช้งานอย่างตัวนี้ควบคุมด้วยเทอร์โมคัพเพิ้ล 2 ตัว ตัวแรกควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ชุดนี้ ที่ 400 องศาเซสเซียส เทอร์โมอีกตัวควบคุมกระแสลมร้อนหมุนเวียนใช้งานที่ 350องศาเซลเซียล ทำงานสัมพันธ์กัน บางกลุ่มผมจะพบแบบฮีตเตอร์ 24 ตัว วัตต์ต่างๆกัน บางชุดทำงานตลอดเวลา บางชุดตัดต่อ ผมเคยถามญี่ปุ่นที่มาทำ yearly maintenance เขาบอกว่าเป็นดีไซน์ของเขาให้มองดูเงื่อนไขของเครื่องจักรกับผลของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก
ขออภัยที่เข้ามาในเวปไม่ต่อเนือง เพราะผมต้องวางงานวันหยุดสงกราต์ต่อ เพิ่งเสร็จจากงานปีใหม่มาครับ ผมคิดว่าคนตอบในเวปนี้มีมากแต่มีภาระกิจกันเยอะครับ
ความคิดเห็นที่ 10
Run AND Run
26/01/2556
15:05 น.
เยี่ยมเลยครับ ผมมีข้อสงสัยอีกนอดหนึ่งนะครับ ผมแบ่งกลุ่มฮีตเตอร์ เป็น 3 กลุ่ม ต่อแบบ Y ครับ สิ่งที่อยากทราบคือ เวลาที่จะเดินสายไฟฟ้าที่เป็นสายทนความร้อนมาเชื่อต่อกันแบบ Y เพื่อให้ได้ปลายสาย ออก 3 เส้น มีวิธีการหรือแนวทางปฏิบัติอย่างไรบ้างครับในการเชื่อมต่อสายควรใช้ ควรวางไว้บริเวณไหนของตู้ ครับ

อีกประการ ผมเลือกใช้สายไฟแบบทนความร้อนหุ้มด้วยฉนวนไฟเบอร์กลาส ผมอยากทราบว่าเวลาผมคำนวนหาขนาดสายไฟฟ้าแล้ว ต้องทำการคูณตัวคูณลดอุณหภูมิเข้าไปด้วยหรือไม่ครับ
ความคิดเห็นที่ 11
Ghoffari
06/03/2556
12:35 น.
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ครับ ไม่แน่ใจว่าโปรเจคนี้ทำเสณ็จหรือยัง
แต่ยังไงก็ขอสนับสนุนความคิดเห็น ตาม คหที่ 6 ร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ
ความคิดเห็นที่ 12
Ghoffari
06/03/2556
12:44 น.
จากข้อกังวลต่างๆข้างต้นของ จขกท
ขออนุญาติแสดงความเห็นดังนี้ครับ

ข้อกังวลของ จขกท พอจะสรุปได้ดังนี้
1. จะเลือกอุปกรณ์ ต่างๆ spec ไหนดี
2. การประกอบอุปกรณ์ดังกล่าว ทำแบบไหนดีกว่ากัน จุดไหนที่ต้องระวังเป็นพิเศษที่อาจทำให้อุปกรณ์พังเสียหาย
3. ประกอบเสร็จแล้ว เครื่อง/ระบบที่ออกแบบไว้ จะทำงานได้ครบ function หรือไม่
4. ปรับพารามิเตอร์เท่าไหร่ดี ในเรื่อง อุณหภูมิ แรงลม ความร้อนสูญเสีย เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่เราต้องการ

ขออนุญาตเสนอทางเลือก ในการใช้ เครื่องเป่าลมร้อนที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิในตัว เพื่อลดงานและหลีกเลี่ยงปัญหาในข้อ 1-3 แล้วเราก็มาทำงานในส่วนของข้อ 4 ที่เป็นความต้องการหลักของท่าน

เครื่องเป่าลมร้อนในไทย เช่น HAKKO, FARITECH, LEISTER, สวนหลวง
ความคิดเห็นที่ 13
เด็กฝึกหัด
25/08/2557
17:42 น.
อยากทราบว่าจะคำนวณหา R และ L ของฮีตเตอร์ ได้ยังไงครับ ฮีทเตอร์ ที่ผมใช้ 1500kw /220 V รบกวนผู้รู้หน่อยครับ
ความคิดเห็นที่ 14
alnabvayojbu
02/06/2563
07:38 น.
http://mewkid.net/when-is-xaxlop/ - Amoxicillin <a href="http://mewkid.net/when-is-xaxlop/">Amoxicillin Online</a> uia.hpuo.9engineer.com.mdn.ez http://mewkid.net/when-is-xaxlop/
ความคิดเห็นที่ 15
austquy
02/06/2563
08:04 น.
http://mewkid.net/when-is-xaxlop/ - Dosage For Amoxicillin 500mg <a href="http://mewkid.net/when-is-xaxlop/">18</a> lrw.ybtp.9engineer.com.trq.mf http://mewkid.net/when-is-xaxlop/
ความคิดเห็นทั้งหมด 15 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: