Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,771
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,462
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,345
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,447
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,128
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,518
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,224
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,684
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,380
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,139
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,327
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,207
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,711
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,454
50 Advanced Technology Equipment 16,442
13/10/2555 20:47 น. , อ่าน 5,078 ครั้ง
Bookmark and Share
เครื่องspinning machine กับเครื่องCNC ทำงานต่างกันอย่างไร เห็นว่าใช้ G code เหมือนกัน
baiitaey
13/10/2555
20:47 น.
spinning machine ใช้จีโค้ดเหมือนกัน ลองดูจากคลิปนี้เลยสงสัยว่าเขียนg code ยังไงต่างกับCNCยังไง

http://www.youtube.com/watch?v=nU7r2UMiDqM
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
CNC_TECH
15/10/2555
09:09 น.
เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้วเคยทำโปรเจ็คตัวนี้ คือเรื่องมีอยู่ว่าทางเยอรมันได้จ้างทำรีโทรฟิตเครื่อง spinning โดยนำโครงสร้างเก่าส่งมาให้ทางต้นสังกัดเก่าผมทำ ตอนนั้นทำไปสองเครื่องโดยการเปลี่ยน controller ใหม่ ชุด servo แกนต่างๆใหม่ ส่งกลับไปเยอรมันบอกเป็นเครื่องจักร cnc spinning ทางศุลกากรไม่เชื่อขอตรวจกล่อง (ปกติมีแต่พี่ไทยนำเข้าเครื่องจักรจากเยอรมัน ไม่เคยมีหรืออาจน้อยที่ส่งออกไปเยอรมัน) Software ที่ลงจะเป็นของเครื่องกลึงการเขียน Program G-CODE แบบเดียวกันตัวเดียวกันเลยครับ แต่ของเจ้าอื่นผมไม่รู้แต่ที่เคยทำตามที่เล่าเลยครับ

CNC_TECH

prs.cnc@gmail.com
ความคิดเห็นที่ 2
baiitaey
15/10/2555
10:19 น.
แล้วการใช้งานคล้ายกับ CNC LATHE รึเปล่าคะ น่าจะใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่spinning ไม่กินชิ้นงาน
ความคิดเห็นที่ 3
สืบศักดิ์
15/10/2555
13:14 น.
คำสั่ง G-Code นั้น
1.เป็นรูปแบบคำสั่ง มาตรฐาน ที่มีข้อกำหนด ISO แนะนำ และสามารถเพิ่มเติมได้ ตามที่ผู้ผลิตชุดคอนโทรลเลอร์ จะทำเพิ่มแต่ต้องไม่น้อยไปกว่าที่มีระบุอยู่ใน ISO
2.เป็นคำสั่งมาตรฐาน สำหรับใช้สั่งงาน การเคลื่อนที่ ตั้งแต่ 1 มิติขึ้นไป ที่ต้องการให้มีความถูกต้องเที่ยงตรง เหมือนเช่นการเขียนโปรแกรมทำงานให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเป็นการเคลือน ภายใต้ระบบโคออดิเนต ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือ รูปทรงใดๆ ที่สามารถบอกตำแหน่งพิกัดต่างๆในระบบโคออดิเนต เพื่อการเคลื่อนที่ได้

ดังนั้น ไม่ว่าเครื่องจักรใดๆ ที่ใช้ระบบควบคุมการเคลื่อนที่ และมีการสั่งการ กำหนดตำแหน่งการเคลื่อนที่ โดยใช้ พิกัดเลขสัมบูรณ์ (ค่าตำแหน่ง ตามระบบแกนโคออดิเนต) ก็ย่อมต้องสามารถใช้ คำสั่ง G-Code เขียนในคอนโทรลต่างๆเหล่านั้นได้

ดังนั้น จึงไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สำหรับเครื่องจักร ที่ใช้ ระบบคอนโทรลแบบ CNC ที่จะไม่สามารถใช้โปรแกรมคำสั่ง แบบ G-Code ได้ เพราะนั่นเป็น มาตรฐานทางการค้า ของผู้ผลิตคอนโทรล ที่ถูกกำหนด แม้ว่า บางคอนโทรลจะมี ภาษาของตนเอง เช่น Hidenhien, Mazak, Siemens เป็นต้น

ความคิดเห็นที่ 4
CNC_TECH
15/10/2555
18:52 น.
เอาเป็นว่าเล่าเท่าที่จำได้นะครับ ตัวเครื่อง spinning นั้นรูปแบบการทำงานตามที่ vdo นั่นแหละครับ ของผมที่ทำมันจะมี tool เดียว โดยตัวทูลจะมีลักษณะเหมือนลูกล้อและหมุนได้ หมายถึงเมื่อประกบกับชิ้นงานตัวลูกล้อนี้จะหมุนตามชิ้นงานและ spindle ส่วนแกน Z แกน X จะเป็นตัวเคลื่อนที่ตาม G-CODE ที่ระบุเพื่อให้เกิดรูปร่างชิ้นงานที่เราต้องการ แต่การทำงานชิ้นใดๆนั้น สิ่งที่ต้องมีคือตัวโมลด์หรือแม่พิมพ์รูปทรงชิ้นงานที่เราต้องการ ซึ่งตัวแม่พิมพ์นี้จะถูกติดตั้งที่ส่วนของ Spindle เมื่อเราทำการติดตั้งแมททีเรี่ยลที่เราจะทำการขึ้นรูปแล้ว จะมีอุปกรณ์อีกตัววิ่งมากดแมททีเรียลของเราเรียกว่ายันศูนย์หรือ Tall stock ในเครื่องกลึง เพื่อไม่ให้วัสดุหลุดตอนหมุน ตัวนี้อาจสั่งงานด้วย M-CODE หรือแมนนวลก็ได้ชุดนี้ควรจะเป็นแบบระบบไฮดรอลิคส์จะดีกว่า ในการเขียนโปรแกรมนั้นจะมีลักษณะเหมือนเครื่องกลึงทุกอย่าง คือผมจะใช้วิธีเขียนให้วิ่งตามแม่พิมเลย(หมายถึงให้ลูกล้อแตะกับแม่พิมพ์) แต่พอใช้งานจริงหมายถึงใส่แมทแล้ว ผมจะใช้วิธีใส่ค่า Shift ในหน้า work piece coordinated ตามขนาดความหนาของแมททีเรียล ในกรณีที่งานมีความหนาไม่มากนะครับ แต่หากหนามากก็จะเขียนโปรแกรมวิ่งกดเข้าทีละหน่อย อาจหลายรอบหน่อย ถ้าทางคุณมีคนใช้ cnc lath เป็นอยู่แล้วก็ไม่น่ายากครับ
ผมอาจอธิบายไม่ค่อยดีเท่าไหร่นะครับ ผมอยู่ในส่วนสร้างและซ่อมแต่การงานใช้ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ ส่วนใหญ่พอทำเสร็จผมเรียก operate มาทดลองอีกที หากยังไม่มีคนที่เคยใช้ cnc เป็น ก็ลองหาคนเข้าไปเทรนนิ่งดูครับ หรือจะให้ทางผมหาให้ก็พอมีอยู่แต่ติดที่เขาทำงานประจำ อาจต้องมีเวลาให้เขาช่วงวันหยุด แล้วเครื่องที่ซื้อมาติดตั้ง controller รุ่นไหนครับ เพราะบางรุ่นเขาอาจจะมี macro หรือ cancycle ที่สร้างมาให้เหมาะกับงานด้าน spinning โดยเฉพาะ หมายถึงเราแค่ใส่ค่าตัวเลข แล้วระบบมันจะทำการ generate g-code ออกมาให้เอง ผมเคยติดตั้งให้ลูกค้าบางรายเขาไม่มีความรู้ด้าน cnc เท่าไหร่แต่รูปแบบชิ้นงานเป็นแบบเดิมๆแต่มีหลายขนาด ผมเลยสร้าง macro cancycle ให้เขาเลย(cycle standard ไม่ตรงตามที่ต้องการใช้) เขามีหน้าที่แค่ใส่ค่าขนาดที่ต้องการเท่าน้ันเอง

CNC_TECH
prs.cnc@gmail.com
ความคิดเห็นทั้งหมด 4 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: