Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,982
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,770
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,550
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,507
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,817
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,446
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,514
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,437
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,682
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,892
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,137
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,206
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
17/05/2555 15:56 น. , อ่าน 7,466 ครั้ง
Bookmark and Share
ขอความรู้เรื่อง Surge Comparison tester ที่ถูกต้องด้วยคับ

17/05/2555
15:56 น.
ขอแชร์ทั้งผู้มีประสบการณ์ ความรู้ และทฤษฎี แบบเข้าใจง่ายๆด้วยคับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/05/2555
12:19 น.

ขอให้ความเห็นส่วนตัวอย่างนี้ครับ

ถ้าเป็นทฤษฏีก็คงไม่รู้เยอะไปกว่าในคู่มือนะครับ เพราะอ่านจากเล่มเดียวกัน จากความเข้าใจของผมที่ได้จากการอ่านสรุปได้ว่า
1. เสริทเทสจะเปรียบเทียบ ค่าอินดักแตนซ์หรืออิมพีแดนซ์ของขดลวด 2 ชุดในขณะที่มีการวัด ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่บอกถึงความผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้นที่ขดลวดใดขดลวดหนึ่งขณะวัด เป็นแต่เพียงบอกว่าขดลวด 2 ขดนี้มีค่าอินดักแตนซ์หรืออิมพีแดนซ์ที่แตกต่างกัน ความเสียหายหรือความผิดปกติของขดลวด เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งและ่ส่วนใหญ่ที่จะทำให้ค่าอิมพีแดนซ์ของขดลวดทั้งสองในขณะทดสอบไม่เท่ากัน
2. นอกจากค่าอิมพีแดนซ์ที่แตกต่างแล้ว เสริทเทสยังนำหลักการที่ว่า หากฉนวของขดลวดมีสภาวะอ่อนแอหรือไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดการเบรคดาวน์หรือลัดวงจรชั่วขณะ ในเวลาที่มีเกิดแรงดันตกคร่อมขดลวดมากกว่าแรงดันปกติ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความแตกต่างของอิมพีแดนซ์ และแสดงผลให้เห็นความแตกต่างด้านรูปร่างขณะลัดวงจร (Fickering )

ถ้าเป็นประสบการณ์จากการใช้งาน ในส่วนตัวก็ใช้เสริทเทสมานาน ตั้งแต่ยังไม่นิยมแพรหลาย (ตั้งแต่ปี 1991 ) ถึงแม้จะไม่ไ้ด้ใช้โดยตรง ส่วนมากจะใช้การทดสอบขณะมีโรเตอร์ประกอบอยู่ด้วย และใช้การหมุนโรเตอร์ร่วมด้วย ถ้าเห็นว่าภาพที่แสดงออกมาไม่ทับกันสนิทพอดี ประกอบกับถ้าขดลวดมีปัญหาเรื่องฉนวน กราฟของขดลวดที่เสียหาย มักจะสั่นหรือแสดงค่าที่ไม่แน่นอนออกมาให้เห็น หากมีกรณีที่ต้องมีกาีรวิเคราะห์ปัญหาที่ขดลวดมีโอกาสเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุด้วย ก็จะนำเอามาเสริทดูอีกครั้งหลังจากที่ถอดโรเตอร์ออกแล้ว (กรณีพิเศษ )

อย่างกับที่บอกไปแล้วในกระทู้ก่อนหน้านี้ ว่าเนื่องจากรูปแบบขั้นตอนการทำงานของโรงซ่อมที่ผมทำงายอยู่ จะมีการตรวจสอบ เทสรันขาเข้าก่อนการถอดรื้อ ทำให้ต้องมีการตรวจสภาพขดลวดก่อน ซึ่งจะมีน้อยมากที่จะเอามาทดสอบซ้ำ

และอย่างกับที่เขียนไปแล้วเช่นกัน ที่ผมเข้าใจไปเองว่าการมีโรเตอร์ประกอบอยู่ทำให้อิมพีแดนซ์ของมอเตอร์มีค่ามากกว่าตอนไม่มีโรเตอร์ ทำให้เข้าใจทีแรกว่า เสริทเทสเครื่องเดียวกัน ถ้าเซตแรงดันจ่ายมอเตอร์เท่ากัน เทสมอเตอร์ขณะมอเตอร์มีโรเตอร์อยู่ จะสามารถเทสมอเตอร์ได้มีขนาดที่ใหญ่กว่า ขณะไม่มีโรเตอร์อยู่ ซึ่งในความถูกต้อง มันตรงกันข้าม ซึ่งผมมาพิจารณาจากการอ่านดูคู่มืออีกที อาจจะสรุปได้ว่าที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเข้าใจเดิมของผม สอดคล้องกับที่ว่า เสริทเป็นแหล่งจ่ายโวลเตท ในขณะที่ความจริง เสริทเป็นแหล่งจ่ายกระแส (ไม่รู้เข้าใจถูกหรือไม่ )

ยินดีแชร์ความรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลครับ ผิด ถูกอย่างไร เชิญวิจารณ์ได้ครับ


ความคิดเห็นที่ 2

19/05/2555
17:48 น.
สอบถามเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับหลัการทำงานของเครื่อง Surge Comparison Tester ด้วยคับ
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
20/05/2555
23:00 น.

ผมขออธิบายตามความเข้าใจของผม ผิดถูกอย่างไร ให้คำชี้แนะนะครับ

จากรูปข้างบนจะเห็นว่า เสริทเทสจะมีอุปกรณ์อยู่ 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. แหล่งจ่ายไฟดีซี
2. คาปาซิเตอร์ที่ใช้ในการประจุไฟ
3. SCR คืออุปกรณ์สวิทตัิดต่อ

การทำงานจะเริ่มจากการปรับแรงดันดีซี เพื่อเพิ่มแรงดันจ่ายให้กับขดลวด ในสภาวะเริ่มต้น สวิทตัดต่อยังไม่ทำงานทำให้มีกระแสไหล ผ่าน คาปาซิเตอร์ทั้งสองตัว ต่อไปยังขดลวดที่ใช้ในการทดสอบ ในสภาวะนี้ คาปาซิเตอร์จะชาร์ทประจุ และขดลวดมีแรงดันตกคร่อมเนื่องจากมีกระแสไหลผ่าน ค่าแรงดันที่ตกคร่อมนีจะถูกตรวจจับด้วย อุปกรณ์วัดรูปร่างสัญญาน ทำให้สัญญานในสภาวะนี้เกือบเป็นเส้นตรง

ต่อมาในขณะที่ สวิทตัดต่อทำงาน กระแสจากแหล่งจ่ายจะไหลผ่านสวิทช์ตัดต่อแทนคาปาซิเตอร์ ทำให้แรงดันตกคร่อมคาปาลดลง คาปาจะดิสชาร์ทประจุที่เก็บไว้ออกมาผ่านสวิทช์ไปครบวงจร ที่ขดลวด ในสภาวะนี้สัญญานที่ได้แรงดันตกคร่อมขดลวดจะเริ่มเปลี่ยนทิศทาง เนื่องจากกระแสไหลเปลี่ยนทิศทาง และต่อเนื่องกันไปเป็นสัญญานทรานเชี่ยน (Ringing )

รูปร่างของสัญญาณจะทับกับสนิทพอดีก็ต่อเมื่อ สัญญาน Ringing มีความถี่เท่ากัน และจากสูตรจะเห็นว่าความถี่ของสัญญาณ Ringing จะขึ้นอยู่กับค่า L หรือ อินดักแตนซ์ของขดลวด โดยที่ ความผิดปกติของขดลวด และอื่นๆ มักจะทำให้ค่า L เปลี่ยนไปหรือไม่เท่ากับขดลวดที่ปกติ

หลักการทำงานเบื้องต้นก็คงมีเพียงคร่าวๆเพียงเท่านี้ครับ
ความคิดเห็นที่ 4

22/05/2555
03:31 น.
ขอบคุณช่างซ่อมมอเตอร์ครับ
เราสามารถใช้ Osciloscope แทนเครื่อง Surge Comparison tester ได้หรือไม่
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างซ่อมมอเตอร์
22/05/2555
08:39 น.

ใช้แทนเลยคงไม่ได้ เพราะไม่มีชุดที่เป็น C discharge ค่าแรงดันให้กับขดลวด ซึ่งต้องทำงานสอดคล้องกับอุปกรณ์สวิทช์ ผมเคยไปเยี่ยมชม โรงซ่อมที่นึง ที่นำเข้าเสริทเทสจากประเทศจีนเข้ามา โครงสร้างของเขาจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนที่สร้างแรงดัน และส่วนที่แสดงผล ( สโคป )

ตามความเห็นของผม จริงๆแล้วเสริทเทสก็เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบ ค่าความเสียหายของขดลวดวิธีหนี่ง ซึ่งยังมีอีกหลายๆวิธี ที่สามารถตรวจสอบได้เหมือนกัน แต่ด้วยความง่ายในการใช้งานทำให้ ช่างส่วนใหญ่(ในสมัยนี้ ) ติดการเสริทเทสเป็นอย่างมาก ไม่มีเสริทเทสแล้วทำงานไม่ได้ ทำให้ไม่สนใจขั้นตอนการตรวจสอบต่างในแต่ละขั้นตอนในการทำงาน ซึ่งถ้าทำตามขั้นตอนนั้นแล้ว เสริทเทสเกือบจะไม่มีความจำเป็น

บางครั้งหัวใจแทบวายเมื่อเห็นช่างเข็นรถใส่เสริมเทส ราคาครึ่งล้าน ไปหามอเตอร์ที่รับมาพันใหม่ราคาไม่ถึง 2 พันบาท เพราะว่าหลายๆที่มีเสริทเทสคงเป็นแบบนี้เหมือนกัน
ความคิดเห็นที่ 6
Elec_Prew
27/05/2555
09:43 น.
ตามความเข้าใจผมคือจะมีการ Charge/Discharge คาปาซิเตอร์ที่เกิดขึ้นเร็วมากนะครับ ทำให้ได้สัญญาณลักษณะคล้าย Switching Surge ครับ สาเหตุที่ต้องเป็น Impule คือ เพื่อให้เกิดความต่างศักย์ที่สูงมากๆระหว่าง Turn to Turn ครับ นึกภาพ เหมือนมีคลื่นแรงดันสูงวิ่งไปบนขดลวดครับ (Travelling Wave) ถ้าเจอฉนวนอ่อนแอ ก็จะทำลาย คือ เกิด Dielectric Breakdown ขดลวดช้อตถึงกัน ทำให้ค่า L เปลี่ยนครับ

การ Charge/Discharge จะทำอย่างต่อเนื่อง เป็นคาบๆ และ สัญญาณที่ได้จากการวัดคล่อมขดลวด มีการ Oscisllate ไม่ใช่แบบ Switching Surge (ขึ้นลง) อันนี้เป็นผลมาจากค่า RL ครับ ลองนึกถึงวงจร RLC ที่เราเคยเรียนใน Circuit ครับ ส่วนความถี่ในการ Oscillate คือ 1/2*pi*sqrt (LC) ครับ

ถ้าเกิด Turn-to-Turn Fault ค่า L จะลดครับ ทำให้ความถี่เพิ่มขึ้น รูปกราฟจะขยับไปทางซ้ายของขดลวดปกติครับ
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างซ่อมมอเตอร์
07/06/2555
09:40 น.

พอดี supplier จากอินเดียที่ขาย Surge Test บอกว่าจะมีการจัดอบรมให้เร็วๆนี้ ผมเองเีคยคุยกับเขาแล้วช่วงสั้นๆ ก็ OK มีความรู้เยอะดี อย่างไรแล้วถ้าเขาจัดอบรมแบบไม่ใช่ Exclusive (เจาะจงเฉพาะบางโรงซ่อม )ผมจะให้คนจัดติดต่อเจ้าของกระทู้ไปครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ประดิษฐ
17/10/2557
19:09 น.
ในส่วนของผม รับ สอบเทียบ( calibration) Surge Comparison tester ภายใต้ ISO/IEC 17025 นะครับ
ยินดีบริการ ครับ
086-1112591
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: