Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,366
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,517
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,934
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,413
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,491
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,456
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,251
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,387
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,308
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,450
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,490
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,420
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,384
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,890
28 AVERA CO., LTD. 22,535
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,835
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,550
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,139
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,005
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,383
20/04/2560 13:56 น. , อ่าน 14,831 ครั้ง
Bookmark and Share
แอร์ประหยัดพลังงานฝีมือนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
โดย : Admin



สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดต้นแบบแอร์ประหยัดพลังงานฝีมือนักศึกษา
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระบบแรกของไทย หวังช่วยประหยัดไฟและลดความสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ ด้วยวงจร “Back to Back คอนเวอร์เตอร์” ผ่านการควบคุมความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์ ทำให้สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ และลดใช้พลังงานไฟฟ้าลง 50% พร้อมหมุนเวียนส่วนที่เหลือกลับสู่ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งจากผลการทดลองกับเครื่องปรับอากาศปรับขนาด 38,600 บีทียู ที่ดัดแปลงให้เป็นระบบอินเวอร์เตอร์ และนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมกำลังไฟฟ้า หรือ แอคทีฟฟร้อนเอ็นด์ ที่พัฒนาเพิ่มฟังก์ชั่นเข้าไป พบว่าสามารถลดกำลังการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 1.7 กิโลวัตต์ ขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดกำลังไฟฟ้าเสมือนที่สูงขึ้น ส่งเข้าสู้ระบบไฟฟ้าภายในอาคารพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ ช่วยประหยัดค่าไฟได้ปีละกว่า 36,000 บาท

รศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย รองอธิการบดี และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ในฤดูร้อนโดยเฉพาะเดือน เม.ย. ของทุกปี ถือเป็นช่วงที่ทั่วประเทศมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงที่สุด โดยค่าเฉลี่ยพีคสุดของวันที่ 19 เม.ย. 2559 ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในรอบปี อยู่ที่ 28,351.7 เมกะวัตต์ ขณะที่กำลังผลิตไฟฟ้าทุกแหล่งทั่วประเทศ อยู่ที่ 41,242.25 เมกะวัตต์

 ซึ่งแม้ภาพรวมจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า แต่หากแยกเฉพาะกำลังผลิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. นั้น อยู่ที่ 16,071.13 เมกะวัตต์ คิดเป็นประมาณ 39% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งระบบ ในช่วงนี้ของทุกปีจึงมีการรณรงค์ขอความร่วมมือ ประชาชนช่วยกันประหยัดไฟในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งปกติไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์หรือโรงงานอุตสาหกรรม ระบบปรับอากาศจะมีการใช้พลังงานที่สูงมาก 

ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมมาตรการประหยัดไฟฟ้าที่มากกว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเปิดและปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงศึกษาและพัฒนาแอร์ต้นแบบประหยัดพลังงาน เรียกว่า “โครงการวิจัยเครื่องต้นแบบการชดเชยกำลังไฟฟ้าเสมือนด้วยอินเวอร์เตอร์ของเครื่องปรับอากาศ” ที่ไม่เพียงลดกำลังการใช้ไฟฟ้าในการสร้างความเย็นเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันยังนำพลังงานไฟฟ้าในส่วนที่ลดลง ส่งกลับเข้าสู่ระบบวงจรไฟฟ้าภายในบ้านเรือนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยรักษาแรงดันไฟฟ้าภายในบ้านไม่ให้ต่ำเกินทำให้ไฟตกหรือสูงเกินในระดับที่เป็นอันตราย เป็นการยืดอายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าและเพิ่มความปลอดภัยจากกรณีไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย

 

งานวิจัยการศึกษารูปแบบชดเชยกำลังไฟฟ้าเสมือน ด้วยอินเวอร์เตอร์ของเครื่องปรับอากาศเพื่อประยุกต์ใช้ในบ้านเรือน เป็นผลงานที่นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สจล. ชั้นปีที่ 4  ศึกษาและพัฒนาต่อยอดความรู้ร่วมกับรุ่นพี่ระดับปริญญาโท ในการขยายผลไปสู่รูปแบบสู่ภาคอุตสาหกรรม ความพิเศษของการวิจัยระบบแอร์ประหยัดพลังงานนี้ คือการนำพลังงานที่ประหยัดได้จากแอร์อินเวอร์เตอร์ ซึ่งปกติตามท้องตลาดช่วยลดการใช้ไฟลง 30% แต่เครื่องต้นแบบนี้สามารถลดการใช้ไฟได้ถึง 50% ไม่เพียงเท่านั้นกลุ่มผู้วิจัยยังได้คิดค้นวิธีนำพลังงานที่เหลืออีก 50% ซึ่งปกติจะถูกปล่อยทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมกำลังไฟฟ้าเสมือนส่งกลับเข้าสู่ระบบภายในบ้าน จึงถือเป็นต้นแบบงานวิจัยที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งนอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าในภาพรวมแล้วยังช่วยลดค่าไฟไปพร้อมกัน” รองคณบดี สจล. กล่าว

 ด้าน นางสาวรสริน อัจฉริยบุญยงค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) หนึ่งในผู้ศึกษาผลงานเครื่องต้นแบบข้างต้น ร่วมกับเพื่อนนักศึกษาและรุ่นพี่นักศึกษาระดับปริญญาโท อธิบายเพิ่มเติมว่า เครื่องต้นแบบการชดเชยกำลังไฟฟ้าเสมือนด้วยอินเวอร์เตอร์ของเครื่องปรับอากาศ พัฒนาขึ้นเพื่อหวังช่วยลดค่าความสูญเสียไฟฟ้าภายในบ้านพักอาศัย และปรับปรุงระดับแรงดันไฟฟ้าสำหรับสมาร์ทโฮมและบ้านเรือนทั่วไป โดยโครงงานวิจัยนี้ได้ใช้วงจร “Back to Back คอนเวอร์เตอร์” เข้ามาควบคุมความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ ให้สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ตามต้องการ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ในการจ่ายกำลังไฟฟ้าเสมือนเข้าไปชดเชยให้กับโหลดต่างๆ ภายในบ้าน จากผลการทดลองกับเครื่องปรับอากาศขนาด 38,600 บีทียู ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศ 3 เฟส 380 โวลต์ ที่ดัดแปลงให้เป็นเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ และนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมกำลังไฟฟ้าเสมือน หรือ แอคทีฟฟร้อนเอ็นด์ ที่พัฒนาเพิ่มฟังก์ชั่นเข้าไป พบว่าสามารถลดปริมาณพลังงานไฟฟ้าและนำพลังงานที่เหลือส่งต่อเข้าสู่ระบบได้จริง

f



เมื่อเราทำการปรับเปลี่ยนแอร์ต้นแบบระบบทั่วไปให้เป็นระบบอินเวอร์เตอร์ จะช่วยลดการใช้พลังงานลง 50% และลดค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบอีก 7.5% จากนั้นเมื่อนำอุปกรณ์แอคทีฟฟร้อนเอ็นด์ต่อเพิ่มเข้าไป ระบบจะดึงพลังงานไฟฟ้าอีก 50% ที่ไม่ถูกนำมาใช้งานและปกติถูกปล่อยทิ้งไปเฉยๆ เปลี่ยนเป็นกำลังไฟฟ้าเสมือน สามารถต่อเข้าสู่ระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้ทันที โดยจากการทดลองกับแอร์ขนาด 38,600 บีทียู ซึ่งมักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบ้านขนาดใหญ่ สามารถประหยัดพลังงานโดยลดกำลังไฟฟ้าจริงได้ถึง 1.7 กิโลวัตต์ ขณะเดียวกันยังเกิดกำลังไฟฟ้าเสมือนให้กับโหลดภายในบ้านด้วย ช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  โดยจากการประเมินเบื้องต้นพบว่าช่วยประหยัดค่าไฟในอาคารทดลอง ได้ถึงปีละกว่า 36,000 บาท ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปี ส่วนบ้านขนาดเล็กที่มีการใช้แอร์ขนาด 12,000 บีทียู หากในอนาคตหากมีการพัฒนาอุปกรณ์ ให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า คาดว่าจะช่วยลดค่าไฟได้ประมาณปีละ 6,700 บาท ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปีครึ่ง” นางสาวรสริน กล่าว

 

ขณะที่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวเสริมว่า การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งมีเป้าหมายลดใช้พลังงานไฟฟ้าไปพร้อมกับการใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ถือเป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วโลกมุ่งพัฒนา เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนของ สจล. ที่มุ่งเน้นการนำความรู้ไปคิดค้นและวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมต้นแบบประหยัดพลังงานในรูปแบบต่างๆ ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนอื่นๆ โดยเฉพาะพลังานแสงอาทิตย์ ด้วยการสร้างอาคารพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ พร้อมด้วยการสร้างต้นแบบนวัตกรรมลดใช้พลังงาน เพื่อยกประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าได้คุ้มค่ามากที่สุด 

 

นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์  02-329-8111 หรือเข้าไปที่ www.kmitl.ac.th

 

========================================================