Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,972
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,569
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,981
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,756
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,455
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,540
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,501
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,813
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,335
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,440
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,353
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,501
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,572
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,124
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,498
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,548
17 Industrial Provision co., ltd 39,214
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,367
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,290
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,614
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,430
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,846
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,213
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,952
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,576
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,509
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,938
28 AVERA CO., LTD. 22,581
29 เลิศบุศย์ 21,679
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,374
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,240
32 แมชชีนเทค 19,886
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,862
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,179
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,128
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,795
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,597
38 SAMWHA THAILAND 18,285
39 วอยก้า จำกัด 17,887
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,464
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,319
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,291
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,232
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,197
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,126
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,057
47 Systems integrator 16,703
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,623
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,449
50 Advanced Technology Equipment 16,435
26/03/2557 09:34 น. , อ่าน 4,914 ครั้ง
Bookmark and Share
การหยุดซ่อมท่อก๊าซครั้งใหม่ในอ่าวไทยช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคมที่จะถึงนี้
โดย : Admin

Cr: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (24 มี.ค. 2557)

 

 

การหยุดซ่อมท่อก๊าซครั้งใหม่ในอ่าวไทยช่วงเดือน เมษายน-กรกฎาคมที่จะถึงนี้ ได้สร้างความกังวลให้กับผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ก๊าซเป็นแหล่งเชื้อเพลิงใน การผลิตไฟฟ้าและพลังงานภาคขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติ NGV โดยผู้ผลิตก๊าซจะหยุดซ่อมท่อก๊าซจาก 2 แหล่งใหญ่ คือ

 

การซ่อมท่อก๊าซขนาด 32 นิ้วของบริษัท ปตท. จากแหล่งบงกช ระหว่างวันที่ 10-27 เมษายน 2557 รวม 18 วัน กับการซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซจากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA) ของบริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (TTM) ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน-10 กรกฎาคม 2557 รวม 28 วัน โดยแหล่งแรกมีผลทำให้ก๊าซธรรมชาติหายไปจากระบบ 630 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ส่วนแหล่งที่ 2 ก๊าซหายไป 400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน

 

 

 

ผู้รับสัมปทานก๊าซธรรมชาติทั้ง 2 แหล่งแจ้งว่า ไม่สามารถเลื่อนระยะเวลาการซ่อมแซมออกไปได้ เพราะจะทับซ้อนกับแผนการหยุดซ่อมท่อก๊าซจากแหล่งอื่น ๆ ที่กำหนดเป็นตารางปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว



ล่าสุดกระทรวง พลังงานได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงถึงการหยุดซ่อมท่อก๊าซครั้งนี้โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผลกระทบที่จะเกิดกับโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง แม้ว่ากำลังผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศปัจจุบันจะอยู่ที่ 33,000 เมกะวัตต์ ขณะที่การประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ไว้ที่ 26,752 เมกะวัตต์ จึงมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองไม่ต่ำกว่า 4,122 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน



แต่เมื่อพิจารณากำลังผลิตไฟฟ้าลงเป็นรายภาค จะพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคใต้ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA จะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้ง 700 เมกะวัตต์ ในขณะที่ภาคใต้มีกำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่รวม 2,300 เมกะวัตต์ บวกกับการส่งกระแสไฟฟ้าจากภาคกลางลงไปช่วยอีก 700 เมกะวัตต์ รวมเป็น 3,000 เมกะวัตต์

เมื่อโรงไฟฟ้าจะนะไม่สามารถเดินเครื่องได้เท่ากับกำลังผลิตไฟฟ้าจะเหลือเพียง 2,300 เมกะวัตต์ ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้อยู่ที่ 2,543 เมกะวัตต์ (พีกมักเกิดขึ้นในช่วงเวลา 13.00-15.30 น. กับช่วง 18.30-22.30 น.) หรือมากกว่ากำลังผลิตปกติกว่า 240 เมกะวัตต์ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ได้

เมื่อสถานการณ์เป็นไปในลักษณะนี้ กระทรวงพลังงานได้เรียกประชุมคณะทำงานติดตามการบริหารเชื้อเพลิง และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยได้สรุปเป็นมาตรการบริหารความมั่นคงทางไฟฟ้า 3 ขั้น ซึ่งจะใช้ตามลำดับความร้ายแรงของเหตุการณ์ ได้แก่

1) เตรียมพร้อมรับมือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ปรับแผนบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่ให้มีการปิดซ่อมในช่วงดังกล่าว และเตรียมโรงไฟฟ้าในภาคใต้ทุกโรงให้พร้อมเดินเครื่อง โดยมีการทดสอบเดินเครื่องโรงไฟฟ้าดีเซลในค่ายทหาร กำลังการผลิตรวม 26 เมกะวัตต์ทุก 2 สัปดาห์ และทดสอบเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่เต็มกำลังการผลิตทั้ง 315 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ถึงวันที่ 5 มีนาคมนี้ รวมถึงเตรียมสำรองน้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ให้เต็มความสามารถจัดเก็บที่ 27 ล้านลิตร และสำรองน้ำมันดีเซลที่โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี กำลังการผลิต 234 เมกะวัตต์ เต็มความสามารถในการจัดเก็บที่ 14 ล้านลิตรก่อนเริ่มซ่อมบำรุง

นอกจากนี้ กฟผ.จะตรวจสอบอุปกรณ์ระบบส่งและระบบป้องกันให้แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ และปรับปรุงระบบป้องกันพิเศษ (RLS) รองรับปัญหาแรงดันไฟฟ้าต่ำบริเวณภาคกลางตอนล่างให้เสร็จภายในเดือนเมษายนนี้

ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมมือกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) รณรงค์ให้ประชาชนประหยัดพลังงาน โดยหวังว่าจะลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงได้ 10% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงพีก หรือคิดเป็น 250 เมกะวัตต์ ตลอดเวลาที่แหล่งก๊าซทั้ง 2 แห่งหยุดซ่อม พร้อมกับมอบนโยบายให้กับสำนักงานพลังงานจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะใน 14 จังหวัดภาคใต้ที่ต้องไปสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเน้นย้ำว่ากระทรวงพลังงานรับมือได้ และจะไม่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับอย่างแน่นอน
 


2) การส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปเสริมในกรณีที่ความต้องการไฟฟ้าสูงกว่าพีกที่คาดการณ์ โดยขั้นแรกจะส่งไฟฟ้าเพิ่มจาก 500 เมกะวัตต์ เป็น 700 เมกะวัตต์ แต่ในกรณีฉุกเฉินสามารถส่งไฟฟ้าผ่านสายส่งขนาด 230 kV ได้อีก 200 เมกะวัตต์ แต่จะส่งผลให้ไม่เหลือไฟฟ้าสำรองในพื้นที่เลย และระบบสายส่งไม่อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัยทางเทคนิค



3) จะใช้ดับไฟฟ้าในบางพื้นที่เพื่อรักษาระบบในกรณีที่มีฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น มีโรงไฟฟ้าหยุดเดินเครื่องกะทันหัน ปัจจุบัน กฟผ.ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ศึกษาบริเวณที่จะดับไฟฟ้าเรียงตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง โดยจะพิจารณาให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานเชื่อว่าการใช้มาตรการแรกจะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้



พร้อมกันนี้ กระทรวงพลังงานได้หารือกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชพ.) และบริษัท ปตท.ให้ปรับเปลี่ยนการรายงานแผนหยุดซ่อมบำรุงด้านก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าจากปีต่อปีเป็นรายงานล่วงหน้า 2 ปี เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงาน และให้ไปศึกษาต่อไปว่าจะสามารถจัดทำแผนหยุดซ่อมล่วงหน้า 5 ปีได้หรือไม่ เพื่อให้กระทรวงพลังงานสามารถวางมาตรการป้องกันได้เร็วขึ้น รวมถึงนำมาพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ด้วย

 

========================================================