Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,786
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,514
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,378
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,625
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,449
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,686
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,386
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,217
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
10/08/2556 10:14 น. , อ่าน 4,384 ครั้ง
Bookmark and Share
"Electronics Scrap" คนไทยยุค 3G ขี้เบื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์โตพรวด
โดย : Admin

 

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 
08 ส.ค. 2556

 

...

   ขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทุกปี "มือถือ" นำโด่งแซงหน้า "คอมพิวเตอร์พีซี" ค่ายมือถือโหมกระแสดึงลูกค้า-คนไทยยุค 3G ขี้เบื่อ ใช้งานแค่ 6 เดือนเปลี่ยนเครื่องใหม่ ขณะที่ธุรกิจใช้วิธีเช่าซื้อคอมพิวเตอร์เปิดช่องธุรกิจขายเครื่องมือสองโต ติดลม "ดีลเลอร์" เหมาซื้อยกลอตขายต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ฟาก "กรมควบคุมมลพิษ" เผยตัวเลขคาดการณ์ซาก "มือถือ-คอมพิวเตอร์"
 

   นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ผู้ค้าส่งสินค้าไอที และโทรศัพท์มือถือ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ประเทศไทยมีขยะที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ที่เสียหรือหมดอายุใช้งานทุกปี ปัจจุบันยังไม่มีการจัดการ แต่เมื่อถึงเวลาที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีมากถึงระดับคุ้มทุนในการประกอบธุรกิจ

 

           รีไซเคิลจะมีผู้ประกอบการคัดแยกแร่นำไฟฟ้าออกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียว กับในยุโรปและอเมริกายอดขายคอมพิวเตอร์ใหม่ในปีนี้ 3.5 ล้านเครื่อง ใช้ในภาคธุรกิจ 40% หรือ 1.5 ล้านเครื่อง องค์กรส่วนใหญ่มีระยะเวลาใช้งานชัดเจน และนิยมเช่าใช้ จึงมีเครื่องเก่าเข้ามาในตลาดมือสองประมาณ 30% หรือ 500,000 เครื่อง ปัจจุบันมีดีลเลอร์รายใหญ่ 5-10 ราย รับซื้อเครื่องเก่าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อทั้งใน และต่างประเทศ กรณีส่งออกจะส่งไปพม่า และอินเดีย ส่วนในประเทศเน้นองค์กรระดับเอสเอ็มอีและนักศึกษา ในราคา 1,000-2,000 บาทเท่านั้น

"เรากำลังจะมีโครงการร่วมกับดีแทคทำที่ทิ้งขยะ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบตเตอรี่ หรือเมาส์ โดยดีแทคจ้างบริษัทต่างประเทศมาเก็บไปแยกส่วนที่นำมาใช้ต่ออีกที"

นาย บุญชัย เงาวิศิษฎ์กุล อดีตผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์โมบิลิตี้ บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า คนไทยเฉลี่ยการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์อยู่ที่ 5 ปี ขณะที่เครื่องเก่าถูกนำไปจำหน่ายให้ธุรกิจรับซื้อเครื่องมือสองมากกว่านำไป ทิ้ง

"เอเซอร์พยายามแก้ปัญหาจากต้นทางด้วยการไม่ใช้จอที่ทำจากสารตะกั่ว แต่แก้ไม่ได้ 100% และมีโครงการแลกเครื่องใหม่ปีละ 2-3 ครั้ง"

นาย อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจมาร์ท กล่าวว่า ยอดขายโทรศัพท์มือถือในปีนี้มีกว่า 20 ล้านเครื่อง ขณะที่ผู้บริโภคเปลี่ยนเครื่องเร็วขึ้นจาก 2-3 ปี เหลือ 6 เดือน แต่เครื่องเก่าที่มีไม่ถึงขั้นเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพราะถ้าไม่เก็บเครื่องไว้สำรองก็จะนำไปขายต่อ ปัจจัยที่ทำให้คนเปลี่ยนเครื่อง เพราะต้องการใช้ 3G ซึ่งฟีเจอร์โฟนรุ่นเก่าใช้ไม่ได้

ในปีนี้ยอดขายเป็นสมาร์ทโฟน 60% ฟีเจอร์โฟน 40% ขณะที่มีซิมเปิดใช้กว่า 88 ล้านเลขหมาย แต่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 75% หมายความว่ามีเครื่องในตลาดมือสองรวมกับที่อยู่ตามบ้านเกือบ 20 ล้านเครื่อง

"จริง ๆ ถ้าเจาะไปที่ตลาดมือถือสองจะพบว่าโตขึ้นเร็วมาก แต่ยังไม่มีใครลงไปสำรวจว่ามากขนาดไหน"

ด้าน นายมงคลฤกษ์ พูลพัฒน์ ผู้จัดการ ร้านเอโอบีโมบาย กล่าวว่า ผู้ใช้เปลี่ยนเครื่องบ่อยขึ้น สังเกตได้จากระยะเวลาที่มีสินค้ารุ่นใหม่วางตลาดกับการนำมาวางจำหน่ายเป็น สินค้ามือสองมีให้เห็นเพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลง ที่ร้านมีเครื่องมือสองอายุใช้งานไม่เกิน 6-8 เดือน 30% อีก 70% เป็นเครื่องอายุการใช้งานเกิน 1 ปี

"เครื่องมือสองกำไรสูงกว่าขาย เครื่องใหม่ แม้แต่เครื่องที่เสียแล้วเราก็รับซื้อในราคา 500-1,000 บาท เพื่อนำไปขายให้ร้านรับซ่อมมือถือใช้เป็นอะไหล่"

ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ ผู้อำนวยการด้านบริหารผลิตภัณฑ์ดีไวซ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทมีโครงการนำไอโฟนรุ่นเก่ามาใช้เป็นส่วนลดซื้อไอโฟน 5 ตั้งแต่ปลาย มิ.ย.ที่ผ่านมา มีลูกค้าเข้าร่วมกว่า 1,000 ราย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ไม่รู้ว่าจะนำเครื่องเก่าไปทำอะไร และต้องการอัพเกรดโทรศัพท์ไปใช้ 4G


"ทรูนำไอโฟนมือสองไปจำหน่ายให้ดีลเลอร์รายใหญ่ 3-4 เจ้าในราคาต้นทุน ดีลเลอร์จะนำไปจำหน่ายในตลาดมือสองต่อไป"

นาย กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไบรท์สตาร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ในต่างประเทศมีโครงการรับซื้อเครื่องคืน และให้ผู้บริโภคนำเครื่องเก่ามาแลกเครื่องใหม่ โดยร่วมกับโอเปอเรเตอร์บางราย เพื่อรักษาฐานลูกค้าแล้วนำเครื่องเหล่านั้นไปขายในประเทศที่ 3 ที่ต้องการมือถือราคาย่อมเยา

จากผลการศึกษาโครงการพัฒนาแนวทางการ ประเมินซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมมลพิษมี การคาดการณ์ปริมาณซากโทรศัพท์มือถือที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 ที่ 9.14 ล้านเครื่อง และเพิ่มขึ้นเป็น 9.75 ล้านเครื่องในปี 2557 และทะลุ 10 ล้านเครื่อง

ในปี 2558 ขณะที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลปีนี้อยู่ที่ 1.99 ล้านเครื่อง เพิ่มเป็น 2.21 ล้านเครื่องในปี 2557 และ 2.42 ล้านเครื่องในปี 2558

ขณะที่ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มครัวเรือน เมื่อไม่ใช้มือถือและคอมพิวเตอร์แล้ว กว่า 50% นำไปขาย อีก 30% เก็บไว้ ขณะที่มีผู้บริโภคราว 8-12% นำไปทิ้งรวมกับขยะอื่น

 

========================================================