Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,771
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,463
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,345
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,447
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,128
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,518
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,224
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,947
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,684
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,380
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,139
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,898
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,327
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,207
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,711
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,442
26/02/2556 17:26 น. , อ่าน 4,122 ครั้ง
Bookmark and Share
ค่าเอฟที" ภาระที่ชาวบ้านไม่ได้ก่อ
โดย : Admin

26 กุมภาพันธ์ . 2556   ข่าวสดออนไลน์
ทวี มีเงิน
 

 


"ค่าเอฟที" ภาระที่ชาวบ้านไม่ได้ก่อ



ประเด็น หนึ่งที่ยังไม่มีใครตั้งคำถาม ทั้งที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนโดยตรงนั่นคือ ใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ "ค่าเอฟที" ที่เพิ่มขึ้นจากกรณีที่มีการหยุดจ่ายก๊าซจากแหล่งก๊าซธรรมชาติยานาดา และเยตากุนจากพม่า



 



การ หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติเที่ยวนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะต้องหาเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาทดแทนเพื่อไม่ให้มีปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับใน พื้นที่กรุงเทพมหานครและ ภาคใต้ อาทิ น้ำมันเตาที่ใช้ได้ในโรงไฟฟ้าพลังความร้อน สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะต้องใช้น้ำมันดีเซลซึ่งแพงมากตกหน่วยละ 8-9 บาท จึงคงไม่นำมาใช้เพราะค่าใช้จ่ายสูงเกินไป

 



ประเด็น มีอยู่ว่าแล้วค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ ใครควรต้องรับผิดชอบ ปตท.ในฐานะผู้จำหน่ายก๊าซให้กับกฟผ. หรือจะผลักภาระนี้ให้กับประชาชน 



เท่า ที่ได้ฟังจาก "ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์" อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานบอกว่า "การซ่อมบำรุงท่อก๊าซเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น แต่รัฐบาลต้องวางแผนให้ดีกว่านี้ ไม่ใช่เรื่องกะทันหัน เขาแจ้งล่วงหน้ามาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเอกสารกระทรวงพลังงานตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมีการคำนวณค่าเอฟที แสดงให้เห็นแล้วว่ามีการปิดซ่อมก๊าซจะน้อยลง ต้องใช้น้ำมันเตาเพิ่มขึ้น ช่วงนี้ค่า เอฟทีก็จะสูงขึ้น เขาใส่ค่าเอฟทีไปแล้วสำหรับปีนี้"



ประเด็น ที่ ดร.ปิยสวัสดิ์ พูดขึ้นมามีวรรคทองที่ต้องขีดเส้นใต้อยู่ 2 วรรค ที่น่าสนใจคือ เรื่องนี้ได้มีการแจ้งล่วงหน้ามานานแล้ว วรรคทองต่อมาน่าสนใจอย่างยิ่งว่า ได้มีการเก็บค่าเอฟทีตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว



จาก การตรวจสอบข้อมูลพบว่า เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ได้มีการขึ้นค่าเอฟทีสำหรับเดือนมกราคม-เมษายนไปแล้ว 1.70 สตางค์ต่อหน่วย และในการประชุมครั้งต่อไป คาดว่าจะมีการขึ้นค่าเอฟทีเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมเป็น 2.20 สตางค์ต่อหน่วย
 




นั่นแสดงว่าได้มีการ "ลักไก่" ขึ้นค่าไฟฟ้าจากกรณีนี้ให้ประชาชนรับภาระล่วงหน้าไปแล้ว



ถือ ว่าโยนภาระให้กับประชาชนโดยที่ประชาชนไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ไม่มีการชี้แจงสักคำว่าต้นทุนเพิ่มจากอะไร ทั้งที่ไม่ควรเป็นค่าใช้จ่ายหรือความรับผิดชอบของประชาชน แต่ควรจะเป็นภาระของ ปตท.ที่ขายก๊าซเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับ กฟผ.อีกทีหนึ่ง ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

 



ไม่ใช่มัดมือชกแอบลักไก่ขึ้น โดยที่ผู้บริโภคไม่รู้เรื่องอย่างที่ทำมาตลอด

========================================================