Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,972
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,570
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,981
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,758
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,456
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,540
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,501
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,813
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,336
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,440
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,353
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,501
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,573
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,124
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,503
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,548
17 Industrial Provision co., ltd 39,215
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,367
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,290
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,614
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,431
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,846
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,213
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,952
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,576
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,509
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,939
28 AVERA CO., LTD. 22,582
29 เลิศบุศย์ 21,679
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,374
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,240
32 แมชชีนเทค 19,886
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,863
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,179
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,129
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,795
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,597
38 SAMWHA THAILAND 18,285
39 วอยก้า จำกัด 17,887
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,465
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,319
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,291
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,233
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,197
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,126
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,059
47 Systems integrator 16,704
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,623
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,449
50 Advanced Technology Equipment 16,435
12/02/2556 07:44 น. , อ่าน 4,063 ครั้ง
Bookmark and Share
เพ้ง'ดันปตท.ตั้งรง.ผลิตก๊าซ –ปิโตรเคมี
โดย : Admin

เฮียเพ้ง"เล็งเยือนโมซัมบิก  ปูทางกลุ่ม ปตท. ลงทุนโรงผลิตก๊าซแอลเอ็นจี-โรงงานปิโตรเคมี ส่วน กฟผ.ลงทุนโรงไฟฟ้า มั่นใจมีศักยภาพด้านพลังงานสูง ล่าสุดพบว่าแหล่ง

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลมี ปริมาณสำรองก๊าซฯมากถึง 60 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ช่วยหนุนความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทย ฟาก ปตท.สผ.ยอมรับสนใจลุยธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในโมซัมบิกและติมอร์เพิ่ม
    นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา นางเอสเปรันซ่า บีแอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสาธารณรัฐโมซัมบิก พร้อมด้วยคณะ เดินทางเยือนกระทรวงพลังงานของไทย โดยได้มีการหารือด้านความร่วมมือด้านพลังงาน เบื้องต้นโมซัมบิกต้องการให้ไทยถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงาน รวมทั้งอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการผลิตก๊าซ ปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าถ่านหิน


    "การหารือในครั้งนี้จะต่อยอดไปถึงการลงทุนโครงการอื่นๆ ร่วมกันต่อไป โดยในช่วง 1-2 เดือนนี้ เตรียมจะเดินทางไปลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน(เอ็มโอยู) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสาธารณรัฐโมซัมบิก เพื่อนำไปสู่การศึกษาโครงการร่วมทุน เนื่องจากปัจจุบันบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้าไปถือหุ้นบริษัท Cove Energy Plc. ในสัดส่วน 8.5% ซึ่งพบว่าแหล่งดังกล่าวหลังจากการขุดเจาะสำรวจเบื้องต้นคาดว่าจะมีปริมาณ สำรองก๊าซมากถึง 60 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ดังนั้นแหล่งก๊าซดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย ด้วย โดยตามสัดส่วนการถือหุ้น จะทำให้ไทยมีปริมาณสำรองก๊าซอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าจะเริ่มผลิตก๊าซจากแหล่ง Cove ได้ภายใน 5-6 ปีข้างหน้า"


    ทั้งนี้ เชื่อว่าโมซัมบิกจะเป็นคู่ค้าด้านพลังงานที่สำคัญของไทย รวมทั้งในอนาคตจะมีโครงการร่วมทุน อาทิ โรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) โรงไฟฟ้า และโรงงานปิโตรเคมี รวมทั้งจะเป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อป้อนให้กับโรงงานปิโตรเคมีในไทยด้วย สำหรับแผนลงทุนดังกล่าวน่าจะเห็นความชัดเจนภายใน 1-2 ปีนี้  หากล่าช้าก็จะเสียโอกาสด้านพลังงานของไทยได้
    นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนลงทุนโครงการโรงกลั่นในโมซัมบิกนั้น คาดว่าจะเป็นโรงกลั่นขนาดเล็ก เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานในโมซัมบิกยังมีไม่มากนัก มีจำนวนประชากรเพียง 22 ล้านคน มีการใช้ก๊าซเพียง 8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และมีการส่งออกน้ำมัน 2.2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ส่วนโรงไฟฟ้า ก็จะมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่จะเข้าไปลงทุนเบื้องต้นทางการโมซัมบิกได้ส่งบุคลากรเข้ามาอบรมด้วยแล้ว


    นอกจากความร่วมมือด้านพลังงานกับโมซัมบิกแล้ว ยังมีความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศติมอร์ด้วย ซึ่งจากการเดินทางไปเยือนประเทศติมอร์เมื่อวันที่ 31 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน เบื้องต้นบริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะร่วมกับติมอร์แก๊ป เพื่อก่อสร้างโรงกลั่นคอนเดนเสต ขนาดกำลังการผลิต 4 หมื่นบาร์เรลต่อวัน โดย ปตท.จะถือหุ้นในโรงกลั่นดังกล่าวสัดส่วนกว่า 70% และติมอร์แก๊ปอยู่ที่กว่า 20% คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 5 พันล้านบาท


    นางเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงินและบัญชีองค์กร  ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ.มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศติมอร์ ซึ่งมองว่าประเทศดังกล่าวมีศักยภาพด้านปิโตรเลียม หากทางภาครัฐสนับสนุน ปตท.สผ.ก็มีความพร้อมลงทุน ขณะเดียวกันบริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. ก็จะร่วมลงทุนกับทางบริษัท ติมอร์แก๊ป จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศติมอร์เพื่อร่วมทุนก่อสร้างโรง กลั่นคอนเดนเสต สปริตเตอร์ ขนาด 4 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
    นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาโครงการร่วมทุนก่อสร้างโรงกลั่นคอนเดนเสต ซึ่งผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันเบนซินและแนฟทา ซึ่งสามารถนำเข้ามาป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานปิโตรเคมีในไทยได้ อย่างไรก็ตามโรงกลั่นดังกล่าวมีขนาดเพียง 4 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ซึ่งมีขนาดเล็กมาก  ดังนั้นการนำเข้าวัตถุดิบจากโรงกลั่นนี้คิดเป็นเพียง 3% เท่านั้น


    อย่างไรก็ตาม ติมอร์ยังเป็นประเทศเปิดใหม่ที่มีศักยภาพด้านปิโตรเลียมสูง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ ปตท.สผ.จะเข้ามาลงทุนธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แต่คงต้องรอผลการศึกษาโครงการร่วมทุนโรงกลั่นคอนเดนเสตก่อน และในอนาคตอาจมีแผนขยายโครงการร่วมทุนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าผลการศึกษาโครงการร่วมทุนดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน และจะเห็นความชัดเจนภายในไตรมาส 3 ปีนี้

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,817 วันที่   10 - 13  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

========================================================