Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,362
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,515
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,929
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,685
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,411
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,489
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,454
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,763
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,244
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,386
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,302
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,448
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,486
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,071
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,417
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,495
17 Industrial Provision co., ltd 39,160
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,319
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,239
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,383
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,799
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,155
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,901
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,520
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,459
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,888
28 AVERA CO., LTD. 22,534
29 เลิศบุศย์ 21,634
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,316
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,184
32 แมชชีนเทค 19,832
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,801
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,127
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,079
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,548
38 SAMWHA THAILAND 18,236
39 วอยก้า จำกัด 17,827
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,415
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,241
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,185
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,137
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,078
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,003
47 Systems integrator 16,655
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,575
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,397
50 Advanced Technology Equipment 16,380
02/07/2553 08:40 น. , อ่าน 5,132 ครั้ง
Bookmark and Share
ต่างชาติยันไทยยังน่าลงทุนแม้การเมือง รุมเร้า
โดย : Admin

ทีมา: ประชา ชาติธุรกิจออ นไลน์
01 กรกฎาคม  2553

 

 

 

 เมื่อครั้งเกิดเหตุระเบิดขึ้นในระหว่างการ ชุมนุมประท้วงในกรุงเทพฯ คนงานของฟอร์ด มอเตอร์ ที่ระยองก็กำลังเริ่มกระบวนการที่นำไปสู่การระเบิดเช่นกัน แต่เป็นระเบิดที่ได้รับการคำนวณอำนาจการทำลายล้างมาอย่างถี่ถ้วน เพื่อขจัดกองหินแกรนิตที่ขวางทางอยู่ออกไป


 สำหรับรัฐบาลไทยแล้วเสียงกัมปนาทในเขต อุตสาหกรรมที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงไป 3 ชั่วโมงเป็นเหมือนเสียงปรบมือต้อนรับนักลงทุนต่างชาติเข้าสู่ประเทศ แม้นักธุรกิจต่างชาติระดับสูงและนักท่องเที่ยวยังลังเลที่จะเหยียบย่างเข้า มาในใจกลางกรุงเทพฯ

 นิวยอร์ก ไทม์ส รายงานว่า ฟอร์ดเริ่มลงเสาเข็มโรงงานผลิตขนาดใหญ่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนหน้าพลพรรคเสื้อแดงเข้ายึดท้องถนนกลางเมืองหลวงไม่นาน แม้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากสหรัฐยังดำเนินการก่อสร้างต่อไป แต่ก็ต้องเลื่อนการประกาศการตัดสินใจถึง 3 ครั้งจนได้ที่สุดได้แจ้งต่อสาธารณชนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นที่บริษัทต่างชาติโดยเฉพาะผู้ผลิตรถยนต์มีต่อไทยยังไม่คลอนแคลน

 ถัดจากโครงการของฟอร์ดซึ่งมีกำหนด เสร็จสมบูรณ์ในปี 2555  ซูซูกิจากญี่ปุ่นก็กำลังจะสร้างโรงงานในไทยเป็นแห่งแรก ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาไร่สับปะรดบนเชิงเขาและหมู่บ้านทางตะวันออกของ เมืองหลวงต้องหลีกทางให้กับโรงงานประกอบรถยนต์และซัพพลายเออร์ ทั้งโตโยต้า มิตซูบิชิ เจนเนอรัล มอเตอร์ส นิสสัน และฮอนด้า ต่างมีโรงงานผลิตหลักอยู่ที่นี่

 ฮาจิเมะ ยามาโมโตะ ผู้อำนวยการสาขาประเทศไทยของซีเอสเอ็ม เวิลด์ไวด์ บริษัทวิเคราะห์ตลาดรถยนต์ซึ่งมีฐานอยู่ในดีทรอยต์กล่าวว่า "อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยกำลังพุ่งทะยาน ซัพพลายเออร์หลายแห่งใช้กำลังการผลิตเต็ม 100% แล้ว"
 นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ไทยระบุว่า คาดว่าปีนี้การผลิตรถยนต์ในไทยจะเติบโตถึง 60% การเพิ่มขึ้นสะท้อนถึงดีมานด์ที่กลับมาหลังจากเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อปีก่อน ธุรกิจนี้กำลังแล่นฉิวข้ามความวุนวายทางการเมืองเหมือนรถยนต์ที่ใช้ระบบล็อก ความเร็วโดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง (cruise control)

 หากปีนี้ไทยผลิตรถยนต์ได้ 1.6 ล้านคันตามที่คาดไว้ จะสามารถรักษาตำแหน่งที่ 3 ด้านการผลิตรถเพื่อส่งออกไว้ได้ โดยเป็นรองญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
 เขาระบุว่า "อุตสาหกรรมนี้เป็นการลงทุนแบบระยะยาว ใครๆ ก็คิดว่าเอเชียจะเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ และไทยก็เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตที่ดีที่สุดสำหรับรถยนต์"

 ด้านฟอร์ดเปิดเผยว่า 85% ของรถที่ผลิตได้จากโรงงานแห่งใหม่จะถูกส่งออกไปขายยังต่างประทศ และขนานนามประเทศไทยว่าเป็น "ฮับของการผลิตและส่งออกระดับโลก"

 แม้ระหว่างการชุมนุมประท้วง รัฐบาลและทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ได้แสดงความกังวลเรื่องเถียรภาพของไทย ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวก็ถูกกระทบกระเทือนอย่างหนัก แต่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยภาคการส่งออกเป็นหลักยังดำเนินไปด้วยดี  การส่งออกในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วซึ่งวิกฤตการเงินในสหรัฐ ส่งผลให้คำสั่งซื้อลดลง รัฐบาลคาดว่าปีนี้การส่งออกจะเติบโต 4.5-6%
 รถยนต์ส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะถูกส่งไป ขายยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียและตะวันออกกลาง และหลังจากโรงงานซึ่งมีมูลค่า 450 ล้านดอลลาร์ก่อสร้างเสร็จฟอร์ดจะย้ายฐานการผลิตรถรถรุ่นยอดนิยมจาก ฟิลิปปินส์มายังไทย คาดว่าจะสร้างงานใหม่ได้ 11,000 ตำแหน่ง
 ยามาโมโตะชี้ว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์แห่กันมาที่ไทยเพราะแรงงานขยันขันแข็งและค่าแรงถูกเมื่อ เปรียบเทียบกับที่อื่น อีกทั้งมีแรงกดดันเรื่องค่าแรงน้อยกว่าจีนรวมถึงมีความกัวลเรื่องการโจรกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาต่ำกว่าด้วย

 

 

========================================================