Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,781
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,588
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,214
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
15/01/2553 07:59 น. , อ่าน 5,791 ครั้ง
Bookmark and Share
หอการค้า 30 ชาติขยาดไทย
โดย : Admin

ที่มา:ไทยรัฐออนไลน์ (15 มกราคม 2553)

 



 

 

ทูตญี่ปุ่นทวงถาม "ชาญชัย" ให้ข้อมูลมาบตาพุด ทูตญี่ปุ่นเผยนักลงทุนมึนงงข้อมูลมาบตาพุดเพราะฟังอ่านจากสื่อมาโดยตลอด แต่หน่วยงานรัฐบาลหายจ้อย ไม่เคยออกมาแจงข้อเท็จจริง ...


นักลงทุนต่างชาติยังผวาการลงทุนในประเทศไทย ขณะที่ "อภิสิทธิ์" ย้ำ 6 เดือนปัญหามาบตาพุดจบ แต่ปูนใหญ่-ปตท.ไม่ค่อยเชื่อน้ำยา ทูตญี่ปุ่นเผยนักลงทุนมึนงงข้อมูลมาบตาพุดเพราะฟังอ่านจากสื่อมาโดยตลอด แต่หน่วยงานรัฐบาลหายจ้อย ไม่เคยออกมาแจงข้อเท็จจริง


นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้แสดงความกังวลกรณีการระงับโครงการอุตสาหกรรมมาบตาพุด 4 ประเด็น ได้แก่ 1. หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศ ไทย 30 ประเทศ วิตกต่อปัญหาที่เกิดขึ้นมาก เพราะโครงการที่ถูกยับยั้งได้ลงทุนและดำเนินการไปแล้ว อีกทั้งผ่านระบบพิจารณากลั่นกรองตามระเบียบราชการถูกต้อง จึงส่งผลเสียหายแก่ภาคธุรกิจ กระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการลงทุนที่ใช้เม็ดเงินลงทุนจำนวนมาก อาจทำให้ เกิดภาระทางการเงิน และร้ายแรงถึงขั้นย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่น


2. ทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่า การลงทุนทุกอุตสาหกรรมได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งมีความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมาย และระเบียบของทางราชการอยู่แล้ว ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ควรส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกฎระเบียบในภายหลัง หรือเปลี่ยนกลางคันจนกระทบต่อการลงทุนของภาคธุรกิจ 3. รัฐบาลควรเร่งดำเนินการแก้ไขให้จบลงโดยเร็ว และดำเนินนโยบายที่ชัดเจน ต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเชื่อมั่นแก่ภาคธุรกิจ 4. สนับสนุนแนวทางการทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหามาบตาพุด ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ให้หาข้อยุติโดยเร็ว นอกจากนี้ หากนำปัญหานี้มารวมกับเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าเพื่อนบ้าน อย่างเวียดนามก็น่ากังวลว่า จะมี การย้ายฐานลงทุนไปเวียดนามมากกว่า


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหามาบตาพุดว่า ขณะนี้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ให้นักลงทุนคืบหน้าไปมาก และจะคลี่คลายได้ภายใน 6 เดือนข้างหน้า เพราะได้กำหนดกติกาตามมาตรา 67 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว และจากการที่ภาคเอกชนร่วมมือเข้าสู่กระบวนการ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลการทำงานให้กับศาลปกครองจะช่วยคลี่คลายปัญหาได้ดีขึ้น


อย่างไรก็ตาม กรณีปัญหามาบตาพุดนั้น ตนไม่มองในแง่กฎหมายเท่ากับความไม่ไว้วางใจ ความไม่เชื่อถือของชุมชนในท้องถิ่นที่มีต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน หากย้อนไปดูจะเห็นว่าการไม่ยึดตามแผนผังเมืองดั้งเดิมและละเลยโดยไม่มีเหตุผลที่ดี สุดท้ายปัญหาก็แก้ไขยาก จากนี้ไปจึงต้องตั้งใจพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สมดุลยั่งยืน ไม่มักง่าย การกำหนดมาตรฐาน กรอบกติกา ต้องเข้มงวดมากขึ้น อย่าไปคิดถึงทางลัด สะดวก รวดเร็ว และกลับมาทำลายศักยภาพทุกฝ่าย โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจในชายฝั่งทะเลภาคใต้ที่จะมาทดแทนในภาคตะวันออกที่ใกล้อิ่มตัว ต้องศึกษาอย่างรอบด้านเพื่อให้เกิดความสมดุลและรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่เริ่มต้น


นายเคียวจิ โคะมะจิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวหลังการเข้าพบนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานกลางในการชี้แจงนโยบายเกี่ยวกับกรณีปัญหามาบตาพุด เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับข้อมูลส่วนใหญ่ผ่านสื่อต่างๆ มากกว่าการรับรู้จากหน่วยงานรัฐบาล ทำให้ เกิดความไม่ชัดเจน และส่งผลให้นักลงทุนญี่ปุ่นประกาศลดอันดับความสำคัญการลงทุนในไทย


"นักลงทุนญี่ปุ่นคงไม่สามารถขีดเส้นตายให้รัฐบาลไทยได้ว่า เรื่องมาบตาพุดต้องยุติภายใน 6 เดือน เพราะอยู่ที่ฝีมือรัฐบาลจะทำอย่างไรเพื่อเรียกความเชื่อมั่นคืนมา ก็คาดหวังว่ารัฐบาลไทยจะดำเนินการให้เร็วที่สุด และต้องการเห็นแผนแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ในอนาคต ไม่ใช่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาอีกรอบในระยะยาวก็มานั่งแก้ไขปัญหาตามหลัง เพราะจนถึงขณะนี้นักลงทุนญี่ปุ่นก็ไม่ได้ รับคำตอบที่ชัดเจนจากฝ่ายไทย และรู้สึกสับสนกับเรื่องที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะดำเนินการตามขั้นตอนการลงทุนตามที่กฎหมายไทยกำหนดไว้แล้วก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม"


นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ปัญหามาบตาพุดคงจะจบใน 12 เดือนข้างหน้า ล่าสุด ปตท.ได้ยื่นขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองกลางสำหรับกิจการที่ติดอยู่ในบัญชี 64 โครงการแล้ว 6 กิจการ และจะยื่น เพิ่มเติมอีก 3 กิจการในเดือน ม.ค.นี้ ส่วนอีก 9 กิจการกำลังรวบรวมข้อมูลว่าจะยื่นได้ในช่วงเวลาใด


นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทลูกในเครือปูนใหญ่ ได้ทยอยยื่นขอผ่อนผันต่อศาลปกครองกลาง 5 โครงการ จากที่ติดอยู่ 8 โครงการ โดย 4 โครงการที่ยื่นเป็นโครงการที่ลดมลภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชัดเจน และอีก 1 โครงการเป็นโครงการที่ได้รับใบอนุญาตรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อนรัฐธรรมนูญปี 50 จะมีผลบังคับใช้ รวมทั้ง 5 โครงการมีมูลค่า 10
,000 ล้านบาท ส่วนกรณีนายกฯระบุว่าปัญหามาบตาพุดจะจบใน 6 เดือน ตนมองว่าอาจนานนับ 10 เดือน.
 



ขอคุณที่มาของข้อมูล

========================================================