Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,770
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,446
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,516
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,683
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,138
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,206
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,454
50 Advanced Technology Equipment 16,442
11/01/2553 14:04 น. , อ่าน 5,497 ครั้ง
Bookmark and Share
วิศวกรรมย้อนรอย..เทคโนฯมาแรงปี 52
โดย : Admin

ที่มา :
11 มกราคม 2553
 

 

ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นว่าการพัฒนาเครื่องจักรด้วยเทคนิควิศวกรรมย้อนรอย ยังคงเป็นพระเอกสำหรับภาคอุตสาหกรรมไทย


โครงการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักร ในกระบวนการผลิตด้วยวิศวกรรมย้อนรอย ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2547 ไม่เพียงแต่ผลิตเครื่องจักรป้อนอุตสาหกรรมเท่านั้น หลายผลงานถูกนำไปใช้ในระดับชุมชน

 

 วิศวกรรมย้อนรอย (Reversed Engineering) เป็นการนำเครื่องต้นแบบจากต่างประเทศมาแยกส่วนประกอบเพื่อศึกษาการทำงาน และทำพิมพ์เขียวสำหรับสร้างเครื่องใหม่ พร้อมกับเสริมเติมแต่งให้ได้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
 

 

 "ต่างประเทศก็ใช้วิธีนี้ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ก็ใช้วิธีการวิศวกรรมย้อนรอยเพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำเครื่องมือเครื่องจักร ข้างในมันมีเทคโนโลยีซ่อนอยู่เยอะ การที่เราทำวิศวกรรมย้อนรอยถือเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสู่ประเทศไทยโดยคนไทย" ปลัดกระทรวงอธิบายหลักการ
 

 หลังจากดำเนินโครงการมา 5 ปี ดร.สุจินดา กล่าวว่า ปีที่แล้วถือว่าเป็นปีแห่งการต่อยอด และเมื่อย้อนไปดูสถิติการผลิตเครื่องจักรพบว่า คนไทยสามารถผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมเฉลี่ยได้ 6-10 เครื่องต่อปี
 

 ตัวอย่างเครื่องจักรภายใต้โครงการ ได้แก่ เครื่องตัด เครื่องวัดพิกัด 3 มิติ เครื่องแกะลายเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเจียระไนอัญมณี เครื่องเป่าขวดพลาสติก เครื่องอัดแท่งชีวมวล เป็นต้น
 

 กระทรวงวิทยาศาสตร์ยังได้นำเครื่องจักรและเครื่องมือจากโครงการไปใช้แก้ปัญหาของชุมชน อย่างเช่น เครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำ เครื่องอัดก้อนเศษวัสดุ เครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงแข็ง รวมถึงโครงการทำลายลำไยค้างสต็อก เป็นผลมาจากการนำเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงแข็ง รวมถึงเครื่องจักรสำหรับโรงสีข้าวชุมชนที่นำไปใช้กับหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมข้าวไร้ของเสีย จังหวัดกระบี่
 

 "เครื่องจักรอุตสาหกรรม 1 เครื่อง ราคากว่า 40-50 ล้านบาท ถ้าเราสามารถผลิตได้เองด้วยต้นทุนประมาณ 10 ล้านบาท จะช่วยลดต้นทุนการนำเข้าได้มาก ยังไม่นับว่าสามารถส่งออกไปขายต่างประเทศ กลายมาเป็นต้นทุนในการพัฒนาเครื่องต่อไปได้ด้วย"
 

 ผลพลอยได้ตามมาจากโครงการ คือ การเชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์สนับสนุนเงินทุนเพียงส่วนหนึ่ง หรือ 20-50% ที่เหลือภาคเอกชนเป็นฝ่ายมาร่วมลงขัน เพื่อให้ได้เครื่องจักรตามโจทย์ของเอกชน ซึ่งหลากหลายกันไป อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน ยานยนต์ ไฟฟ้า อัญมณี เครื่องประดับ สิ่งทอ พลาสติก
 

 "กระทรวงทำงานเชื่อมโยงกับสภาอุตสาหกรรม สมาคมเครื่องจักรกลไทย ทำให้เรามีเครือข่ายเอกชนจำนวนมาก เราดูว่าเครื่องจักรไหนที่เป็นที่ต้องการ และเอกชนพร้อมลงทุนทำ ต้องยอมรับว่าทุกอุตสาหกรรมล้วนมีความต้องการใช้เครื่องจักรกลในกระบวนการผลิต" ปลัดกระทรวงหญิงกล่าวเพิ่มเติม
 

 แม้จะเริ่มก้าวจากการย้อนรอยวิศวกรรม แต่เธอยังมั่นใจว่า เครื่องจักรที่พัฒนาโดยคนไทยเองตั้งแต่แรกไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน หากได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน
 

 "ปัจจุบันมีผู้เสนอความต้องการเครื่องจักรกลเข้ามาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เครื่องตัดอ้อยที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย โดยโครงการวิศวกรรมย้อนรอยได้ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเครื่องที่มีความจำเป็น และที่สำคัญ เอกชนต้องสนใจร่วมลงทุนด้วย ส่วนภารกิจสร้างเครื่องจักร หน่วยของมหาวิทยาลัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สถาบันไทย-เยอรมัน และพันธมิตรจะร่วมกันทำให้เป็นจริง" ปลัดกระทรวงกล่าว

 

 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข้อมูล

 

 

========================================================