Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,770
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,550
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,817
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,446
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,516
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,682
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,137
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,206
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
30/01/2553 11:40 น. , อ่าน 12,516 ครั้ง
Bookmark and Share
แนะนำ KBM ความก้าวหน้าอีกขั้นของซอฟท์แวร์ด้าน CADCAM
โดย : Admin

           KBM ความก้าวหน้าอีกขั้นของซอฟท์แวร์ด้าน CADCAM 
 

 โดย บริษัทซีรันนิ่ง  
    
        
                               

                  
                 
สำหรับวิศวกรหรือผู้ที่ผลิตชิ้นส่วนไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนประกอบของเครื่องจักร หรือการสร้างแม่พิมพ์ คงจะรู้จักกันดีกับคำว่า CADCAM หรือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกแบบ(CAD) และช่วยในการผลิต(CAM)ไม่มากก็น้อยแต่คงจะมีไม่น้อยที่อาจจะยังไม่รู้จักกับคำว่า KBM หรือ Knowledge Base Management ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกขั้นหนึ่งของซอฟท์แวร์ด้านCAM ก็ว่าได้ พูดง่ายๆก็คือถ้าเรานำ KBM มาผนวกเข้ากับ CAM ก็เหมือนกับติดเครื่องยนต์เทอร์โบให้กับรถยนต์แถมเพิ่มคนขับรถให้ด้วย หรืออีกนัยหนึ่งถ้ามีแต่CAM ก็เหมือนมีแค่รถยนต์ที่ไม่มีคนขับ รถก็ไม่สามารถขับเคลื่อนให้วิ่งไปไหนต่อไหนได้ถ้าไม่มีคนขับ แต่ถ้ามี KBM ก็เหมือนกับได้รถยนต์แรงๆและก็คนขับรถที่รู้ทางเป็นอย่างดีมาให้โดยที่เราเพียงแค่สั่งให้เจ้าKBM ตัวนี้ว่าจะไปที่ไหนๆก็พอ   หลายคนอาจยังสงสัยแล้วว่ามันเกี่ยวข้องอะไรกับการผลิต ผมจะขอสมมติว่าถ้าเจ้านายสั่งให้ผลิตชิ้นงานชิ้นหนึ่งโดยที่เรามีซอฟท์แวร์CADCAM  ,Tool ,part drawing และเครื่องจักรซีเอ็นซีไว้พร้อมแล้ว ขั้นตอนการทำงานถ้าปราศจากKBMจะเป็นรูทีนซ้ำๆดังต่อไปนี้
  1. สร้างชิ้นงาน CAD ในคอมพิวเตอร์
     
  2. วางแผนกำหนด Tool ที่เหมาะสมให้กับแต่ละฟีเจอร์(Feature)หรือลักษณะของชิ้นงาน อย่างเช่นถ้ามีรูเกลียว ก็ต้องใช้Tool ชนิดดอกเจาะนำศูนย์(Center Drill) สำหรับเจาะนำ เลือกดอกเจาะ(Drill)สำหรับเจาะรูตามความลึกรูเกลียวและดอก Tap เพื่อทำเกลียวตามขนาดของรูเกลียว อย่างนี้เป็นต้น   และถ้าชิ้นงานมีลักษณะ(Feature)เป็นหลุมพ็อคเก็ตก็ต้องหาดอกกัดให้เหมาะสมตามขนาดของหลุมนั้นๆ  ซึ่งจะเห็นว่าคนทำโปรแกรมมีเรื่องต้องคิดและทำเยอะ
  3. กำหนดขบวนการและMachine condition ที่เหมาะสมให้กับแต่ละฟีเจอร์นั้นๆ ลองคิดดูถ้าชิ้นงานนั้นมีฟีเจอร์หลายๆแบบเต็มไปหมด คนทำโปรแกรมคงวุ่นปวดหัวกันน่าดูเลย โดยเฉพาะถ้างานเร่งๆด้วยแล้วอาจมีเบอ เลือกTool เลือกคำสั่งผิดก็เป็นไปได้
     
  4. สร้างเป็นชุดคำสั่งควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซีตามค่าที่กำหนดในซอฟท์แวร์ CAM

     
ทีนี้ถ้าเราใส่ไอ้เจ้า KBM นี้เข้าไปให้กับเจ้าซอฟท์แวร์ CAM จะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำงานจะกลายมาเป็นดังนี้
  1. สร้างชิ้นงาน CAD ในคอมพิวเตอร์
  2. สร้างเป็นชุดคำสั่งควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซีตามค่าที่กำหนดในซอฟท์แวร์ CAM
 เท่านี้ครับนอกนั้นเจ้าKBM มันทำให้เราเสร็จสรรพ ที่เห็นๆงานข้อ 2และ3 ก่อนหน้านี้เป็นงานที่น่าเบื่อและซ้ำๆที่ครับ หลายคนที่เคยใช้ซอฟท์แวร์ด้าน CAM คงไม่ปฎิเสธใช่ไหมครับที่สำคัญมันลดเวลาการทำงานลงได้มากทีเดียวครับ  มาดูกราฟเปรียบเทียบกันจะเห็นว่าWorking Time หรือชั่วโมงการทำงานลดลงอย่างมากทีเดียว แถมชิ้นงาน NG หรือชิ้นงานเสียก็ลดลงอีกด้วย ทำให้productivity หรือความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


    
ถ้ายังนึกภาพไม่ออกก็เข้าไปดูวีดิโอกันได้ที่นี่ครับ
1  ตัวอย่างการใช้ KBM กับงานกัด (Milling)
http://www.crunning.com/Espritdemo/MillFX/MillFX.html

2. ตัวอย่างการใช้ KBM กับงานกลึง (Turning)
http://www.crunning.com/Espritdemo/KBM/KBMdemo.html

หมายเหตุ
: สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทซีรันนิ่ง จำกัด

 

  

========================================================