Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,987
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,352
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,589
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,623
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,901
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,480
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,215
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,069
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
29/10/2552 07:31 น. , อ่าน 8,807 ครั้ง
Bookmark and Share
ทุเรียนติดเซนเซอร์
โดย : Admin
 

ที่มา :




 

นักวิจัยด้านวิศวกรรมไทรคมนาคม ประยุกต์คลื่นสัญญาณไมโครเวฟ ทำเซนเซอร์ตรวจวัดความแก่ของทุเรียน ไม่ต้องเดาผิดถูกๆจากเสียงไม้เคาะเปลือก

 

 จากความเป็นไปได้ของอุปกรณ์ตรวจส้มด้วยคลื่นไมโครเวฟ ศ.ดร.โมไนยจึงมองว่า คลื่นไมโครเวฟมีศักยภาพที่จะตรวจสอบความแก่ของผลไม้ได้ โดยเฉพาะผลไม้เศรษฐกิจ จึงศึกษาข้อมูลผลไม้ส่งออกพบว่า อันดับที่ 1 คือ ลำไย ตามด้วยทุเรียน แต่ด้วยลำไยมีความซับซ้อน จึงมุ่งไปที่ทุเรียน
 

 นักวิจัยอธิบายว่า ปัญหาของชาวสวนทุเรียนคือ ต้องเก็บทุเรียนที่มีความแก่ประมาณ 80% ซึ่งแก่พอที่จะตัดมาขาย แต่หากทุเรียนอ่อนเกินไป ตัดมาแล้วจะไม่สุกเลย ไม่สามารถกินได้
 

 “ชาวสวนวิธีนับอายุดอกทุเรียน โดยจะนับหลังจากทุเรียนออกดอกไปอีก 120 วัน แต่ก็มีปัญหาด้านความแม่นยำ เพราะความผันแปรของอากาศและความชื้น ทำให้ทุเรียนอาจจะแก่เร็วหรือช้ากว่าปกติได้”
 

 ด้วยไม่มีความรู้เกี่ยวกับทุเรียนจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาเซนเซอร์ส่งคลื่นไมโครเวฟตรวจความแก่ของลูกทุเรียน โดยคำนวณจากปริมาณแป้งและน้ำตาลที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อทุเรียนแก่ขึ้น และคำนวณหาเป็นเปอร์เซ็นความแก่ของทุเรียน
 

 ปี 2549 ทีมวิจัยเริ่มงานวิจัยที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี โดยเริ่มจากติดเซนเซอร์ที่ทุเรียน จากนั้นเขียนโปรแกรมตั้งเวลาวัดข้อมูลและส่งข้อมูลที่วัดได้กลัมาที่แม่ข่ายผ่านโครงข่ายไร้สายทุกวัน และสุ่มตัดลูกทุเรียนมาตรวจวัดแป้ง น้ำตาลและความชื้นทุก 3 วัน เพื่อหาข้อสรุปสำหรับการวิเคราะห์เปอร์เซ็นความแก่
 

 เซนเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตัวส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาคลื่นผ่านเปลือก เนื้อ และสะท้อนกลับมายังเครื่องรับสัญญาณที่อยู่ติดกัน
 

 “เราพบว่า เปลือกทุเรียนมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก แต่เนื้อทุเรียนจะเปลี่ยนปริมาณแป้งและน้ำตาล โดยทุเรียนดิบจะมีแป้งมาก น้ำตาลน้อย แต่ทุเรียนที่แก่ขึ้น ปริมาณแป้งจะลดลง ในขณะที่ปริมาณน้ำตาลจะเพิ่ม ทำให้ค่าฉนวนของเปลือกทุเรียนเปลี่ยน สัญญาณไมโครเวฟที่ส่งกลับมายังเครื่องรับก็จะเปลี่ยนด้วย” ศ.ดร.โมไนยอธิบาย
 

 สำหรับความแม่นยำ นักวิจัยย้ำว่า ยังคงต้องปรับเพิ่ม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ทารุณของการเกษตรไทย ทำให้เซนเซอร์ที่ติดกับลูกทุเรียนต้องตากแดดตากฝน ทำให้ส่งผลต่อการส่งสัญญาณไปยังแม่ข่าย อย่างไรก็ดี เราสามารถปรับการติดเซนเซอร์ให้ไม่ต้องติดกับทุเรียนทุกลูกในสวน ทำให้สามารถเลือกติดในพื้นที่ที่ปลอดภัยได้
 

 งานวิจัยนี้ ทำมาแล้ว 4 ปี ใช้เวลาศึกษาวิจัยและเริ่มต้นพัฒนา 2 ปีจากนั้นทดสอบในสวนทุเรียนที่จันทบุรี 1 ฤดูและนครศรีธรรมราชอีก 1 ฤดู โดยศ.ดร.โมไนยได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พ.ศ. 2548 และ 2551
 

 “4 ปีที่ผ่านมา เราได้ข้อมูลพื้นฐานครบถ้วน ซึ่งใน 2 ปีที่เหลือ เราจะพัฒนาอุปกรณ์และโปรแกรมให้สมบูรณ์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่จะทำงานไปพร้อม ๆ กันคือ เราจำพัฒนาเซนเซอร์วัดความแก่ของทุเรียนในสวน ซึ่งจะต้องแม่นยำ 100% เพื่อให้ทำนายวันเก็บเกี่ยวได้อย่างถูกต้อง เหมาะกับชาวสวนทุเรียนที่ต้องการควบคุมคุณภาพผลผลิต ในขณะเดียวกันก็จะพัฒนาเซนเซอร์มือถือ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่จะคัดทุเรียนส่งออก รวมถึงผู้บริโภค ให้ไม่ต้องใช้ไม้เคาะ แค่แตะดูก็รู้ได้เลย” ศ.ดร.โมไนยกล่าว
 

 ต่อจากนี้ นักวิจัยตั้งเป้าได้เครื่องมือต้นแบบในอีก 1 ปีและวางแผนที่จะพัฒนาให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ในปี 2544
 

 “ส้ม 2 ลูกที่ภายนอกเหมือนกันเกือบทุกอย่าง แต่พอแกะทาน ลูกแรกหวานอร่อย แต่ลูกที่ 2 กลับฝ่อ จืด จึงเกิดเป็นไอเดีย หากสามารถตรวจวัดได้ว่าผลไม้ที่เราจะกิน ลูกไหนสุก ก็จะทำให้เราเลือกผลไม้รสดีได้ไม่ยาก จึงพัฒนาเครื่องมือถือสำหรับตรวจส้มก่อน” ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าว

 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว


========================================================