สมาร์ทกริดเทคโนโลยีจ่ายไฟ ลดโลกร้อน
โดย : Admin

โดย : เอกรัตน์ สาธุธรรม

 



 

ประเมินกันว่า มูลค่าโครงสร้างพื้นฐานด้าน "สมาร์ทกริด" หรือระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านดอลล์

 จุดเปลี่ยนเทคฯ ไฟฟ้า 

เขาอธิบายว่า “ระบบส่งไฟฟ้าหลัก” (Core Grid) ซึ่งหมายถึงสถานีหม้อแปลงไฟฟ้า และสายไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระหว่างโรงไฟฟ้ากับมิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งตามอาคารบ้านเรือน ในอดีตระบบส่วนนี้มีการลงทุนที่ไม่เพียงพอ  ทำให้ระบบส่งไฟฟ้ามีกำลังการผลิตอย่างจำกัด และไม่สามารถผนวกรวมเข้ากับแหล่งพลังงานทดแทนในสัดส่วนที่เพียงพอ
 
ทั้งนี้เพื่อให้ระบบส่งไฟฟ้า สามารถรองรับการรับส่งกระแสไฟได้ทั้งสองทิศทาง วิธีนี้จึงต้องอาศัยการสื่อสาร และการเชื่อมต่อระหว่างหม้อแปลงไฟฟ้า รวมถึง “ความชาญฉลาดของอุปกรณ์” คือ หม้อแปลงไฟฟ้า ต้องสามารถดำเนินการตามกฎเกณฑ์ และข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้บนหม้อแปลงนั้นๆ รวมถึงหม้อแปลงอื่นๆ หรืออุปกรณ์ตรวจจับสายไฟฟ้า แนวทางดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากระบบสั่งการ และควบคุมที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าในปัจจุบัน 
 
ทั้งนี้ ระบบสมาร์ทกริด จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเราเตอร์จะทำหน้าที่ส่งต่อทราฟฟิกข้อมูลตามภาระงาน ตามคุณภาพของบริการ และตามกำลังความสามารถของเราเตอร์ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกส่งมาจากคอมพิวเตอร์แลปท็อป หรือดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ 
 
นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนไปสู่แพลตฟอร์ม ที่รองรับการผนวกรวมแหล่งพลังงานทดแทนจำนวนมากแล้ว “ความฉลาด” ที่กระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ จะทำให้โครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าสามารถแก้ไขปัญหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการจัดหาพลังงานได้อย่างมากเลยทีเดียว
 

เทรนด์ทั่วโลกใช้เทคฯลดค่าไฟ

ปัจจุบัน หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ได้วางแผนที่จะปรับใช้สมาร์ทมิเตอร์ เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกลับไปยังผู้ให้บริการสาธารณูปโภค  มิเตอร์ไฟฟ้ารุ่นใหม่นี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการอ่านค่าจากมิเตอร์ ทั้งยังรองรับการเพิ่มความถี่ในการอ่านค่ากรณีที่มีการคิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลา หรือกำลังการผลิต และขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนว่า ตนเองใช้ไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด ในช่วงเวลาใดบ้าง และจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าใด 
 
ผลการศึกษาหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้บริโภคสามารถตรวจสอบค่าไฟฟ้าได้ในลักษณะเกือบจะเรียลไทม์ ผู้บริโภคก็จะลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงไปประมาณ 10-15% ขณะที่หากสามารถผนวกสมาร์ทมิเตอร์ เข้ากับระบบสมาร์ทกริด และปรับปรุงประสิทธิภาพด้วย “อุปกรณ์ควบคุมพลังงานภายในบ้าน” อุปกรณ์ดังกล่าว จะมีลักษณะคล้ายกับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ และสามารถใช้โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์อินพุท และเอาท์พุทได้ 

ไวไฟผนวกเครื่องใช้ไฟฟ้า  

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เครือข่ายไวไฟ หรือสายไฟที่มีอยู่ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุมพลังงานภายในบ้านเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า  ด้วยการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟมากที่สุด 5 ประเภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน

 
โดยครอบครัวทั่วไปในสหรัฐ จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 200-350 ดอลลาร์ต่อปี ทั้งยังสามารถลดการใช้ไฟฟ้าในโหมดสแตนด์บายเพิ่มเติมด้วย  

 
อย่างไรก็ตาม ซิสโก้ กำลังพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรสมาร์ทกริด เพื่อให้การปรับใช้มาตรฐานการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล สำหรับโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะทำได้ง่ายขึ้น 

 
ทั้งนี้ สมาชิกในเครือข่ายสมาร์ทกริดของซิสโก้ ประกอบด้วย ผู้ติดตั้งระบบ ผู้ผลิตเทคโนโลยี ผู้ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภค ผู้ให้บริการ และตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการนำเสนอองค์ประกอบต่างๆ ของโครงสร้างพื้นฐานสมาร์ทกริด ไม่ว่าจะเป็น บริษัทซีเมนส์,บริษัทชไนเดอร์ อิเล็กทริค, บริษัทจีอี,บริษัทออราเคิล, บริษัทแอคเซนเจอร์  เป็นต้น
 

มีการประเมินกันว่า มูลค่าโครงสร้างพื้นฐานด้าน "สมาร์ทกริด" (Smart Grid) หรือระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร อันจะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดการใช้พลังงานโลก จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในไม่เกิน 5 ปี 

 
เรื่องราวของ "สมาร์ทกริด" ในต่างประเทศ มักได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในยุคโลกร้อน และเป็นความจำเป็นที่พลเมืองโลกที่ต้องช่วยกันลดภาวะดังกล่าว 

 
"สมาร์ทกริด" เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้า และผู้ใช้บริการ สามารถบริหารปริมาณพลังงานที่มีอยู่ และความต้องการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงความปลอดภัย เสถียรภาพของโครงข่ายในระบบส่งไฟฟ้า รวมถึงสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มากขึ้น

 
ประเทศแคนาดา มีแผนจะติดตั้งระบบสมาร์ทมิเตอร์ (Smart meter) หนึ่งในเทคโนโลยีของแนวคิดสมาร์ทกริด ให้กับทุกครัวเรือนให้แล้วเสร็จภายในปี  2553 ขณะที่ หน่วยงานด้านการลงทุนฟื้นฟูของสหรัฐอเมริกา ก็มีแผนลงทุนในเทคโนโลยีสมาร์ทกริดกว่า 10,000 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียอย่างจีน ก็วางแผนที่จะสร้างระบบมอนิเตอริ่ง หนึ่งในเทคโนโลยีสมาร์ทกริด ให้กับโรงงานจ่ายไฟฟ้าทั่วประเทศภายในปี 2555

 
"นายเดิร์ก ชเลสซิงเกอร์" กลุ่มธุรกิจโซลูชั่นอินเทอร์เน็ตของซิสโก้ เล่าว่า ไฟฟ้าเป็นธุรกิจแบบเรียลไทม์ ที่รองรับการจัดการในภาคอุตสาหกรรม จึงมีในบางช่วงเวลาที่พลังการจ่ายไฟฟ้าอาจไม่เพียงพอ เพราะมีปริมาณการใช้ในช่วงเวลาหนึ่งสูงเท่าๆ กัน  ดังนั้นการมีระบบการจ่ายไฟที่อัจฉริยะ จะสามารถช่วยลดการ "ดับของไฟฟ้า" ในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุด
 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว


เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)