ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าอัตโนมัติ (Distribute Automation System : DAS)
โดย : Admin

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
www.nectec.or.th

 

 

 

ในอดีตการควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้า ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ใช้การสับ Load Break Switch (LBS) โดยใช้คนเป็นผู้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ เมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ การใช้งานของสายส่งเกินขีดความสามารถของสายส่ง ฯลฯ การรับรู้ปัญหาและการแก้ไขเป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น กฟน. จึงได้ปรับปรุงระบบให้เป็นการควบคุมจากระบบกึ่งอัตโนมัติ โดยเปลี่ยนจากอุปกรณ์ Load Break Switch (LBS) ที่ถูกควบคุมด้วยคนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถควบคุมจากระยะทางไกล แต่ระบบดังกล่าวยังมีความล่าช้าในการส่งผ่านข้อมูลซึ่งมีความสำคัญในเชิงเวลามาก อุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง Protocol ในการสื่อสารเป็นแบบปิดซึ่งประยุกต์ใช้หรือเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับระบบอื่นๆ ได้ยาก และการติดตั้งระบบใหม่ต้องตามเทคโนโลยีของผู้ผลิตซึ่งทำให้ราคาของระบบใหม่มีมูลค่าสูงขึ้นตาม

 

\"\"
รูปโครงสร้างของระบบควบคุมระบบจำหน่ายอัตโนมัติ (DAS)

 

 

 

ข้อมูลงานวิจัย

เป้าหมายการควบคุม และจัดการอยู่ที่อุปกรณ์ในสายป้อนของระบบจำหน่าย (Load Break Switch , LBS หมายถึง อุปกรณ์ตัดตอนที่นำมาใช้แทนสวิตช์ใบมีดสามารถปลด และสับได้ขณะมีโหลด) และข้อมูลที่ต้องการเช่น แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า เป็นต้น ระบบ DAS สามารถตรวจจับ การเกิดกระแสลัดวงจร (Fault) และบริเวณที่เกิดการ ลัดวงจร เพื่อให้ผู้สั่งการสามารถแยกส่วน ที่ลัดวงจรออกจากระบบจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่มีกระแสลัดวงจร เกิดขึ้นในสายป้อน ระบบ DAS ซึ่งได้ติดตั้ง  RTU ไว้กับสวิตช์ในสายป้อน จะทำหน้าที่ตรวจจับความผิดปกติของกระแสที่ไหลผ่านสวิตช์แต่ละตัว หากพบกระแสลัดวงจร ก็จะรายงานกลับมายังสถานีแม่ (Master Station) ทำให้พนักงานที่ีสถานีแม่ทราบการเกิดกระแสลัดวงจรได้และสามารถออกคำสั่งควบคุมระยะไกล เพื่อทำการปลดสวิตช์แยกส่วนที่ีเกิดกระแสลัดวงจรออกจากระบบจำหน่าย และสับสวิตช์เพื่อจ่ายไฟฟ้าจากสายป้อนสำรองเข้าจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนที่ไม่เกิดการลัดวงจร ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณแคบและจะมีไฟฟ้าดับเฉพาะบริเวณที่เกิดการลัดวงจรเท่านั้น ด้วยวิธีการนี้ีจะเห็นว่าที่สถานีแม่สามารถควบคุมและทำการสับเปลี่ยนการจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีนอกจากความสามารถที่ได้กล่าวมาแล้ว RTU ที่ติดตั้งอยู่ในระบบจำหน่ายจะทำหน้าที่ในการตรวจจับเหตุการณ์และอ่านข้อมูลสถานะการทำงานของอุปกรณ์รวมทั้งทำการวัดค่าทางไฟฟ้า ณ จุดต่างๆ ในระบบจำหน่ายที่มี RTU ติดตั้งอยู่เพื่อทำการตรวจจับและอ่านค่าสั่งมายัง สถานีแม่นอกจากนี้ีอีกความสามารถหนึ่งของ RTU ก็คือความสามารถทำงานในโหมดการทำงานแบบอัตโนมัติตาม โปรแกรมที่ีปรับตั้งไว้ในตัว RTU กล่าวคือ RTU มีความสามารถในการตรวจสอบสถานการณ์ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามเงื่อนไข RTUจะส่ังการให้อุปกรณ์ที่ีถูกควบคุมทำงานตามที่ได้โปรแกรมไว้ ระบบ DAS ถูกนำมาใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาไฟฟ้าดับและความเสียหายที่จะเกิดขี้ึนกับผู้ใช้ไฟฟ้า เมื่อเกิดระบบไฟฟ้า ขัดข้อง รวมทั้งเพื่อเพิ่ิมความปลอดภัย, ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน Switching
 

พันธมิตรที่เกี่ยวข้อง (ร่วมวิจัย/รับการถ่ายทอด)

  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • เพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมระบบจำหน่ายอัตโนมัติ (Distribution Automation System : DAS) สำหรับใช้งานภายใน กฟน. และขยายผลไปสู่การผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์
  • เพื่อลดการนำเข้าและพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ประกอบกับระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมให้เข้ากับความต้องการได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข้อมูล

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)