Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,985
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,782
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,588
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,214
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
17/01/2553 12:51 น. , อ่าน 23,329 ครั้ง
Bookmark and Share
มีอะไรอยู่ใน ใบแจ้งหนี้ ? /ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า และวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
โดย : Admin

          โดย นายไฟฟ้า  นายเอ็นจิเนียร์ 
 



 

   สภาพเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบันส่งผลให้หลายบ้านต้องควบคุมค่าใช้จ่ายของตนเองให้มากขึ้นค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณูปโภคเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นค่าไฟฟ้า , ค่าน้ำประปา , ค่าโทรศัพท์   อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายเหล่านี้หากเราควบคุมการใช้ให้ประหยัดและใช้อย่างถูกวิธีก็สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ในระดับหนึ่ง
 
 
  ปัจจุบันการใช้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันไปแล้วการประหยัดไฟฟ้าจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่ท่านต้องจ่ายในแต่ละวันลดลง โดยท่านสามารถคิดคำนวณได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดในบ้านของท่านต้องเสียค่าไฟฟ้าวันละกี่บาทรวมแล้วเดือนละเท่าไหร่    และถ้าท่านสามารถลดจำนวนเวลาที่ใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ลง  ท่านจะสามารถ ประหยัดเงินได้กี่บาท


  
ก่อนอื่น มาดูกันก่อนว่าในค่าไฟฟ้านั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 อะไรอยู่ในค่าไฟฟ้า ?

    หากหยิบใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าขึ้นมาดูหลายคนอาจจะรู้สึกสับสนและไม่เข้าใจว่า ทำไมมีการเรียกเก็บค่าไฟหลายรายการ จนถึงกับไม่แน่ใจขึ้นมาว่าเป็นกลวิธีการขึ้นค่าไฟฟ้าหรือไม่
ย้อนหลังไปก่อนปี 2535 ใบเสร็จค่าไฟฟ้าจะแสดงเฉพาะราคาค่าไฟฟ้าที่ท่านต้องชำระเพียงรายการเดียว เช่นค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3 บาท ท่านใช้ 100 หน่วย ก็จ่ายเงิน 300 บาทแต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3 บาทนั้น มีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย ต่อมาอีกระยะหนึ่งรัฐบาลประกาศใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและบังคับให้แยกค่าสินค้าและค่าภาษีออกจากกันเช่น ค่าไฟฟ้ารวมที่เรียกเก็บ 300 บาท จะแบ่งเป็นค่าไฟฟ้า 280.37 บาท ภาษี มูลค่าเพิ่ม    ( คิดอัตรา ร้อยละ 7 )      อีก 19.63 บาท  รวมแล้ว ราคาที่ท่านต้องจ่าย คือ 300 บาทเท่าเดิม


จนกระทั่งปี 2535 รัฐบาลได้ประกาศราคาเชื้อเพลิงลอยตัวตามราคาตลาดโลกส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า   เพราะการผลิตไฟฟ้าต้องใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและกาซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่   แต่เนื่องจากการประกาศค่า ไฟฟ้าใหม่ทุกเดือนเป็นเรื่อง ยุ่งยากและไม่สะดวกทั้งต่อผู้ใช้ไฟฟ้าและการไฟฟ้า   จึงได้มีการแยกต้นทุนเชื้อเพลิงส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปจากการกำหนดค่าไฟฟ้านี้ออกมาและเรียกส่วนนี้ว่าต้นทุนผันแปรหรือค่าเอฟที ( Ft : Fuel Adjustment Charge ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Energy  Adjustment Charge)  และมีการรวมต้นทุนผันแปรตัวอื่น ๆ เช่น ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนอัตราเงินเฟ้อ ฯลฯ เข้าไป ด้วย ตั้งแต่นั้น มาค่าเอฟทีก็ปรากฏให้เห็นและมีการแปรผันไปตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป

 ฉะนั้น ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ.2535    ค่าไฟฟ้าจึงมี 3 ส่วน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าฐาน ( คงที่ ) + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

 
ต่อมา วันที่ 3 ตุลาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่   มีวัตถุประสงค์กำหนดให้ค่าไฟฟ้าสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถ ตรวจสอบได้ซึ่งจะเป็นการให้ความเป็นธรรมกับผู้ใช้ไฟฟ้าในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่  จึงกำหนดให้แยกต้นทุน  ในแต่ละกิจกรรมไฟฟ้าให้เห็นอย่างชัดเจน ได้แก่  กิจการผลิต กิจการระบบส่งกิจการระบบจำหน่าย    และกิจการค้าปลีก  มีการแจกแจงค่าไฟฟ้าของแต่ละส่วนในใบเสร็จค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นเพียงการดึงรายการมาให้เห็นอย่างชัดเจน โปร่งใส   และสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงเท่านั้น

 
                 แล้วค่าเอฟที ทำไมถึงปรากฏขึ้นมาอีกในเมื่อก่อนหน้านี้หายไปแล้ว

                        โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่เป็นโครงสร้างที่ได้รวมค่าเอฟทีของเดือนกันยายน 2543 จำนวน 64.52 สตางค์/หน่วยไว้ด้วย
                
แล้วหลายคนเข้าใจว่า ค่าเอฟทีไม่มีแล้วแต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น    การที่นำค่า เอฟที เดือนกันยายน 2543 รวม
                
ไปกับค่าไฟฟ้าใหม่ ทำให้ค่าเอฟทีเหลือ 0 สตางค์ต่อหน่วยไม่ได้ยกเลิกหรือหายไปไหน   และเมื่อครบ 4 เดือน เมื่อเดือน
                
กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ค่าเอฟทีปรับขึ้นจาก 0 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 24.44 สตางค์ต่อหน่วย และจะใช้ไปอีก 4 เดือน     จนถึง
               
เดือน พฤษภาคม 2544    แล้วจึงพิจารณาค่าเอฟทีใหม่

                        ขณะเดียวกันใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543  มีค่าบริการปรากฏขึ้นมาใหม่คำถามคือ ค่าบริการ
                
นี้มาจากไหนและทำไมถึงต้องมีค่าบริการนี้    ไม่ใช่เงินที่เก็บเพิ่มขึ้นใหม่แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เดิมรวมอยู่ในอัตราค่าไฟฟ้า
                
การแยกค่าบริการออกมา ทำให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง ชัดเจนและโปร่งใส   คล้าย ๆกับสมัยที่มีการแยกภาษีมูลค่า เพิ่ม
                
ออกจากราคาสินค้าสมัยก่อน

                      อย่างไรก็ตามค่าบริการที่ปรากฏในใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าใหม่เป็นการสะท้อนถึงค่าใช้จ่ายในการบริการ
                
ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเช่น ค่าพิมพ์ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน ค่าคำนวณการใช้ไฟ  ค่าจดมิเตอร์  ค่าจัดส่ง   เป็นต้น
                
ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นใหม ่แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่เดิม   ในรูปของค่าไฟฟ้าต่ำสุดของโครงสร้างเก่า
                 
เพียงแต่ในใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าใหม่ได้แยกแสดงออกมาเพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นไปตามมติของคณะ
                
กรรมการกำกับการศึกษาปรับปรุง โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า

  สรุปแล้วค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บและปรากฏในใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าในปัจจุบันประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐาน  + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) +ค่าบริการ + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
             
ถึงตอนนี้แล้วคงพอจะมองเห็นแล้วว่ามีอะไรบ้างอยู่ในค่าไฟฟ้าตอนนี้ลองมาคิดคำนวณหาค่าไฟฟ้าภายในบ้าน  จึงขอเสนอวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าดังนี้

  ก่อนอื่นต้องทราบจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ในบ้านก่อนว่ามีจำนวนเท่าใดและเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ะชนิดกินไฟเท่าไรสามารถสังเกตุได้จากคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่ากำลังไฟฟ้า   ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ ( Watt) หลังจากนั้นลองคำนวณดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้งานในแต่ละวันกินไฟวันละกี่ยูนิต   และนำมาเปรียบเทียบกับอัตรา  ค่าไฟฟ้าโดยสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้


  การใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิต คือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1000 วัตต์ที่ใช้งานในหนึ่งชั่วโมง

 1 ยูนิต =  [ กำลังไฟฟ้า(วัตต์)ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ/1000 ] x    จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน

 ตัวอย่างบ้านอยู่อาศัยของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในบ้าน 5 ชนิดเราสามารถคำนวณการใช้ไฟฟ้าได้ ดังต่อไปนี้


    1. หลอดไฟฟ้าขนาด 36 วัตต์ (รวมบาลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 46 วัตต์ )   จำนวน 10 ดวง  เปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวัน ละ [46 /1000]  x  10 x 6 = 2.76 หน่วย หรือเดือนละ (30x 2.76 ) = 82.8 หน่วย หรือประมาณ 83 หน่วย
  2. หม้อหุงข้าวขนาด 600 วัตต์จำนวน 1 ใบเปิดใช้งานวันละ 30 นาที  ( 0.5 ชั่วโมง ) ใช้ไฟวันละ 600 /1000 x 1 x 0.5
        = 0.3
หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x 0.3 ) = 9 หน่วย
 3. ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง สมมติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงใช้ไฟวัน
     
ละ [125/1000] x 1 x 8 = 1 หน่วยหรือประมาณเดือนละ ( 30 x1) = 30 หน่วย
  4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 20,000 บีทียู (ประมาณ 2,000 วัตต์ ) จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมงสมมุติคอมเพรส 
      
เซอร์ทำงานวันละ 6 ชั่วโมงใช้ไฟฟ้าวันละ [2000/1000] x 1 x 6 = 12 หน่วย หรือประมาณเดือนละ ( 30 x 12 ) = 360  หน่วย

 5.
ทีวีสี ขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 4 ชั่วโมง [100/1000 ]x 1 x 4 = 0.4 หน่วย หรือประมาณ เดือนละ (30 x0.4 ) = 12 หน่วย
                            รวมการใช้ไฟฟ้าในบ้านประมาณเดือนละ 83+9+30+360+12 = 494 หน่วย


 อย่างไรก็ตามตัวอย่างการคำนวณข้างต้นเป็นการคำนวณโดยภาพรวมและประมาณการเท่านั้นอาจมีการคาดเคลื่อนได้นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างที่ทำความเย็น เช่นเครื่องปรับอากาศ หรือ ตู้เย็นแต่ละยี่ห้อมีอัตราการกินไฟฟ้าไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ทำความเย็นและสภาพแวดล้อม รวมถึงการตั้งอุณหภูมิด้วย


                         เมื่อทราบจำนวนยูนิตแล้วท่านสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าได้โดยเปรียบเทียบกับอัตราค่าไฟฟ้าได้ดังนี้

ประเภท1.1 การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
ประเภท 1.2 การใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
5 หน่วย (หน่วยที่ 1-5 ) เป็นเงิน 0.00 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15 ) หน่วยละ 1.3576 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่16-25 ) หน่วยละ 1.5445 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35 ) หน่วยละ 1.7968 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 2.1800 บาท
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 2.2734 บาท
250 หน่วยต่อไป(หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.7781 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 2.9780 บาท
ค่าบริการรายเดือน เดือนละ 8.19 บาท
150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-150 ) หน่วยละ 1.8047 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400)หน่วยละ 2.7781บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป )   หน่วยละ2.9780 บาท
 
 
 

ค่าบริการรายเดือน เดือนละ 40.90 บาท


             
  วิธีคิดค่าไฟฟ้า

                   
สมมุติว่าใช้ไฟฟ้าไป 494 หน่วยตามตัวอย่างซึ่งจัดให้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2
                       150 หน่วยแรก ( 150 x 1.8047 บาท ) 270.71 บาท
                       250 หน่วยต่อไป (250 x 2.7781 บาท) 694.53 บาท
                       ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย( 494-400 = 94 x 2.9780 บาท) 279.93 บาท
                       ค่าบริการรายเดือน 40.90 บาท
                       รวมเป็นเงิน 1,286.07 บาท


                      
คิดค่า FT ( Energy Adjustment Charge) หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ในแต่ละเดือนโดยดูได้จากใบเสร็จรับเงินหรือสอบถาม
                 
จากได้การไฟฟ้าฯ การคิดค่า Ft คิดได้โดยการนำเอาค่า Ft ในแต่ละเดือน x จำนวนหน่วยที่ใช้
                 ค่า Ft เดือน พฤษภาคม 2544 = 24.44 สตางค์ ต่อหน่วย
                คิดค่า Ft 494 x 24.44 สตางค์ = 120.73 บาท
                รวมเป็นเงิน (1,286.07 + 120.73 ) = 1,406.80 บาท
                ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 98.48 บาท
                รวมเป็นเงินค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระทั้งสิ้น = 1,505.25 บาท


                ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ จะทำการปัดเศษลงให้เต็มจำนวนทุกๆ 25 สตางค์และถ้า
               
เศษสตางค์มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.50 สตางค์ จะทำการปรับเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุกๆ 25 สตางค์


                     สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าดังกล่าวนี้ท่านสามารถคำนวณการใช้ไฟฟ้าของท่านเองได้โดยเป็นการประมาณการ   ซึ่ง
               
อาจจะคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้างตามปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น   อย่างไรก็ตามการฝึกคิดค่าไฟฟ้าสามารถ
               
นำไปใช้ในการควบคุมพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของท่านเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า

         นอกจากนี้แล้วการ ประหยัดไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพให้ได้ผลต้องรู้จักเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานซึ่งจะช่วยให้ท่านประหยัดลงไปได้อีกมาก

                                                                                              
 
 
 
 
 
   จาก ข้อมูลบริการการไฟฟ้านครหลวง June 4, 2001

 

 

 

========================================================