Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,977
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,575
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,985
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,766
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,460
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,545
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,505
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,815
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,340
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,444
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,356
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,506
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,581
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,126
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,510
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,553
17 Industrial Provision co., ltd 39,220
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,371
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,295
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,616
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,435
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,850
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,217
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,954
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,579
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,514
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,944
28 AVERA CO., LTD. 22,584
29 เลิศบุศย์ 21,680
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,378
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,243
32 แมชชีนเทค 19,890
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,867
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,182
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,134
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,796
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,600
38 SAMWHA THAILAND 18,290
39 วอยก้า จำกัด 17,893
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,472
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,322
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,298
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,235
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,204
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,129
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,064
47 Systems integrator 16,708
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,625
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,452
50 Advanced Technology Equipment 16,440
23/10/2552 11:59 น. , อ่าน 10,930 ครั้ง
Bookmark and Share
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม (3G )
โดย : Admin

 

      หลายๆ คนคงได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆ กับคำว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า 3G และเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล อีกทั้งการทำการตลาดที่ดุเดือดเพื่อแย่งชิงลูกค้า แต่หากมีคนถามเราว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G คืออะไร? เราเองมักจะตอบกลับไปง่ายๆ ว่าก็โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไปไงล่ะครับ หลายคนๆ ก็อ่านหนังสือพิมพ์มาอธิบายบ้าง จำในนิตยสารมาบ้าง แล้วผสมผสานเล่าอธิบายกันไปตามเนื้อความที่ตนรับมา บ้างก็ตรงกันบ้างก็ไม่ตรงกัน บ้างก็ยังสับสน แต่หากเราต้องการคำตอบจริงๆ ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามหรือ 3G นั้นแท้จริงแล้วคืออะไร มีใครนิยามเป็นทางการไว้หรือไม่และนิยามว่าอย่างไรกันนะ เผื่อเอาไว้ใช้อ้างอิง โดยเฉพาะคนที่ต้องการตัวหนังสือที่ชัดเจนมายืนยัน ผมเลยนำมาเล่าเป็นเรื่องราวเชิงวิชาการแบบภาษาชาวบ้านว่า
 

                   คำตอบก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone หรือ เรียกย่อว่า 3G นั้น ITU (International Telecommunication Union) หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางหลักเกณฑ์ในบริหารการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ได้มีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์การบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมของแต่ละประเทศเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

       
                      ITU ได้ให้มีการกำหนดมาตรฐานสิ่งที่เรียกว่า เครื่องโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย (อุปกรณ์โทรคมนาคมในยุคต่อไปอาจจะใช้รวมกันหลายชนิด ทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือดาวเทียม เป็นต้น) เรียกรวมกันว่ามาตรฐาน IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000) ซึ่ง ITU ได้กำหนดความหมายของมาตรฐานดังกล่าวในเชิง ย่านความถี่ (Spectrum Band) และมาตรฐานการเชื่อมต่อทางเทคนิค (Technical Standard) อธิบายรายละเอียดยาวไปเดี๋ยวจะจับประเด็นไม่ได้ผมสรุปเลยดีกว่าว่า เจ้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามมันมีลักษณะทางเทคโนโลยีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

         นิยาม (Definition)
       
       โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
       
       • “ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเตอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
       
       • “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
       
       • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service)” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
       
       • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว
       
      

       > มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที
          ในทุกสภาวะ

       > ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที 
          ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่

       > สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที 
          ในสภาวะเคลื่อนที่
      


       
           นั่นแหละครับคือนิยามที่ ITU ให้ความหมายไว้ อ้อยังมีอีกเรื่องก็คือ ITU ได้กำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อความถี่วิทยุ ไว้ 5 มาตรฐานด้วยกันครับ ที่จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานนั้นก็เพราะว่า ปัจจุบันผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลายๆ ค่ายต่างพัฒนาได้รวดเร็วและหลากหลายวิธีการ ดังนั้นหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานผลเสียอาจจะไปตกที่ผู้บริโภคเนื่องจากไม่สามารถใช้สินค้า (โทรศัพท์) เชื่อมต่อกันได้ และปัญหาที่สำคัญคือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าเรื่องดีกว่ามาตรฐานการเชื่อมต่อคลื่นความถี่ของ IMT-2000 มีดังนี้ครับ


มาตรฐานการเชื่อมต่อทางคลื่นวิทยุตามมาตรฐาน IMT-2000 ซึ่งระบุไว้ใน Recommendation ITU-R M.1457 ประกอบไปด้วยห้ามาตรฐานดังนี้ครับ (www.itu.int)   
       

       1. WCDMA
       2. CDMA2000
       3. TD-SCDMA
       4. EDGE
       5. DECT


       
       ในโลกโทรคมนาคมยุคต่อไป หรือโดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไป ความหมายหรือนิยามการทำงาน หรือเทคโนโลยี เขาจะเน้นไปที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลครับ เช่น สามจี เหรอ หมายถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วได้ตั้งแต่ 144 kbps ถึง 2 Mbps ประมาณนั้นครับ หรือ เทคโนโลยี GPRS มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 144 kbps และเทคโนโลยี EDGE มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 384 kbps เป็นต้นครับ
       
       มีผู้รู้หลายๆ ท่านในวงการโทรคมนาคมถกเถียงกันว่า EDGE ถือเป็น สามจีแล้วนะ หรือบ้างก็ว่า GPRS ก็ต้องเป็นสามจีด้วยสิ เพราะมีความเร็วเท่ากับนิยาม ITM-200 ของ ITU กำหนดไว้ และสำนักงาน กทช. เองก็ได้ให้นิยาม IMT-2000 ไว้เช่นเดียวกับที่ผมนำมาอธิบายให้ฟังข้างต้นแล้ว(นิยาม) ในเอกสานประกอบการทำประชาพิจารณ์แบบเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ที่ผ่านมา ผมเลยคิดเอาเองเป็นความเห็นส่วนตัวว่า บ้านเมืองเรานักกฎหมายเค้าดูตามตัวหนังสือเลยครับยืนยันชัดเจน ถ้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถทำงานได้ตาม “นิยาม” ข้างต้นทุกข้อแล้ว ไม่ถือว่าเป็น สามจี ครับ ซึ่งบางระบบอาจจะทำได้บางข้อเท่านั้น
       
       แต่ในความจริงแล้ว ในอดีตเราไม่เคยมีใครนิยามไว้เป็นทางการหรอกครับ ว่าอะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 อะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่2 หรืออะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2.5 ล้วนซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจตามบทความ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก นั้นเขาก็เปรียบให้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ อนาลอก (Analog) ครับ อย่างเช่น (NMT) Nordic Mobile Telephone ในบ้านเราในอดีตก็มีย่าน 470 ย่าน 800 ย่าน 900 ประมาณนั้นครับ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาระบบขึ้นที่เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง ซึ่งก็เปลี่ยนจากสัญญาณ อนาลอก มาเป็นสัญญาณ ดิจิตอล ครับ หรือระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อาทิเช่น ระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) เป็นต้นครับ ถ้าจำไม่ผิดระบบดิจิตอล เซลลูล่าร์ ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันน่าจะมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 64 kbps พูดให้เข้าใจง่ายว่าเหมือนเราต่อ อินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์บ้านธรรมดาเท่านั้นเอง และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operators) ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเสริมปริทธิภาพการทำงานของระบบให้รวดเร็วขึ้น จึงพัฒนาให้ระบบมีความเร็วขึ้นเป็นเทคโนโลยี GPRS และเทคโนโลยี EDGE ตามลำดับ


       
       อย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้นว่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆ ค่าย ต่างคนต่างพัฒนา การใช้งานอาจจะส่งผลกระทบถึงผู้บริโภค เช่น เรียกข้ามเครือข่ายไม่ได้ ดังนั้นจึงพยายามบีบให้เหลือมาตรฐานทางเทคโนโลยีน้อยที่สุด ซึ่งก็ยังมีถึง 5 มาตรฐานตาม IMT-2000 ดังที่กล่าวมาแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่าจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายไปยัง สามจี อย่างไร ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Evolution Paths

ซึ่งเข้าใจได้ง่ายจากภาพที่ ITU ให้ไว้เพื่อการศึกษา เช่นจากเครือข่าย GSM อย่างไรก็ต้องผ่านการปรับปรุงเครือข่ายให้มีเทคโนโลยี EDGE ก่อนจึงจะสามารถให้บริการ WCDMA ได้ในอนาคต ส่วนผู้ที่ให้บริการระบบ CDMA one ในปัจจุบันสามารถพัฒนาเครือข่ายไปเป็น CDMA20001X ได้เลย รายละเอียดต่างๆ จะอธิบายเพิ่มเติมในตอนต่อๆ ไปนะครับ.

 

 

ที่มา :  www.oknation.net/blog/print.php?id=201420

========================================================