Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,978
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,576
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,986
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,767
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,546
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,506
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,816
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,342
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,445
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,357
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,507
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,582
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,513
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,554
17 Industrial Provision co., ltd 39,221
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,372
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,296
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,617
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,436
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,218
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,955
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,580
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,515
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,945
28 AVERA CO., LTD. 22,585
29 เลิศบุศย์ 21,681
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,244
32 แมชชีนเทค 19,891
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,183
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,135
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,797
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,601
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,894
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,474
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,324
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,299
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,236
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,205
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,130
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,065
47 Systems integrator 16,709
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,627
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,453
50 Advanced Technology Equipment 16,442
13/09/2552 11:04 น. , อ่าน 15,976 ครั้ง
Bookmark and Share
วิศวกรรมสือสารและโทรคมนาคมคืออะไร
โดย : Admin

  

           วิศวกรรมโทรคมนาคม เป็นวิศวกรรมศาสตร์ที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งปวงมารวบรวมเป็นองค์ความรู้ที่ลึกซึ้งเฉพาะทางและเป็นวิศวกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายๆ ด้าน งานวิศวกรรมโทรคมนาคมเป็นการรวบรวมวิศวกรรมแทบทุกสาขามาในงานวิศวกรรมโทรคมนาคม แม้แต่งานด้านวิศวกรรมโยธา ก็ยังเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโทรคมนาคม เช่น การวางฐานราก เสาตั้งสายอากาศ เป็นต้น หรือแม้แต่ทางการแพทย์ ก็มีการใช้วิศวกรรมโทรคมนาคมชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เช่น ความถี่วิทยุ และใยแก้วนำแสง มาประยุกต์ใช้ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เป็นต้น

 

 

วิศวกรรมโทรคมนาคม ในปัจจุบันจะเป็นตัวกลางในการหลอมรวมทางวิศวกรรมในทุกสาขาเข้าด้วยกัน (Engineering Convergence)ดังหน้าที่ของ งานโทรคมนาคม อยู่แล้ว วิศวกรโทรคมนาคม ส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องเชี่ยวชาญงานหลายๆ ด้านให้มากที่สุดทั้ง งานอิเล็กทรอนิกส์ งานไฟฟ้ากำลัง งานคอมพิวเตอร์ งานอิเล็คทรอนิกส์เชิงกล งานสายอากาศและคุณสมบัติคลื่น งานโยธาเล็กน้อย รวมทั้งงานจัดการโครงการ เป็นต้น
 

วิศวกรรมโทรคมนาคม ทำให้เกิดมีทรัพยากร คลื่นวิทยุ (Radio Wave)กลายเป็นทรัพยากรของมนุษย์โลกที่มีค่าประเมินไม่ได้เกิดขึ้นจากงานวิศวกรรมโทรคมนาคม และเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างกว้างขวาง กลายเป็นคลื่นลูกที่สามของการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์โลก (Third Wave Concept) และการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจของประเทศใดๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ เครือข่าย (Network)


        ปัจจุบันงานวิศวกรรมโทรคมนาคม ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว และมีวงจรชีวิตของสินค้า หรืออุปกรณ์โทรคมนาคม สั้นลง (Shortly Technology Life Cycle)และมีความซับซ้อนสูงขึ้น พร้อมๆ ไปกับการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วยดังที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน
 

        วิศวกรรมโทรคมนาคม การโทรคมนาคม คือการขยายขอบเขตของการสื่อสารให้มีผลในระยะไกล ในทางปฏิบัติแล้ว เรายอมรับว่าเมื่อมีการขยายขอบเขตดังกล่าวแล้ว อะไรบางอย่างอาจต้องมีการสูญเสียไป ดังนั้นคำว่า \'โทรคมนาคม\' นั้น จะรวมถึงรูปแบบทั้งหมดของการสื่อสารดั้งเดิม ที่มีการดัดแปลงหรือปรับปรุงให้สามารถสื่อสารได้ระยะไกล ซึ่งรวมถึง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์ โทรศัพท์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

           การสื่อสารโทรคมนาคม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
           1. การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น
           2. การสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) ยกตัวอย่าง เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม เป็นต้น
 

 

วิศวกรรมโทรคมนาคมทำอะไรได้บ้าง?

  ขอบเขตงานด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมด้านสื่อสารและโทรคมนาคม :

1. งานด้านโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งภาครัฐและเอกชน
 
2. งานด้านการสื่อสารดาวเทียม ทั้งภาครัฐและเอกชน
 
3. งานที่เกี่ยวข้องกับการออกอากาศ ถ่ายทอดสด ทั้งข่าวสารและความบันเทิง ทั้งวิทยุและโทรทัศน์
 
4. งานบริการด้านเครือข่ายทางอินเตอร์เนต เริ่มจากการออกแบบจนถึงการติดตั้งระบบเพื่อใช้งาน ให้บริการตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องมีการรักษาความ ปลอดภัยของระบบ
 
5 งานติดตั้งสถานีให้กับบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทที่ทำธุรกิจนี้ หลายร้อยบริษัท
 
   
  นอกจากนั้นยังมีงานที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจอื่นๆดังนี้
 
1. งานบริการด้านเชื้อเพลิงได้แก่ บริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการสำรวจขุดเจาะทั้งกระบวนการขุดเจาะผลิตที่โรงกลั่นหรือจ่าย น้ำมันที่คลังน้ำมันทั้งประเทศล้วนต้องพึ่งพาระบบคมนาคมที่ คุณภาพสูงในการติดต่อสื่อสารและจ่ายน้ำมันโดยอัตโนมัติ
 
2. งานด้านโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต
 
3. งานบริการธุรกิจการเงิน ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบวางและดูแลเครือข่ายระบบการสื่อสาร
และคอมพิวเตอร์ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพื่อเชื่อมโยงศูนย์กลางธุรกิจสู่สาขาในภูมิภาคต่างๆ
ธุรกิจเหล่านี้รวมถึง ธนาคาร บริษัทการเงิน หรือแม้กระทั่งธุรกิจต่างๆที่มีสาขาย่อยอยู่ทั่วประเทศ
 
4. งานบริการระบบคมนาคมขนส่ง
 
4.1 งานด้านการออกแบบดูแลและพัฒนาการสื่อสารติดต่อระหว่างอุปกรณ์ภายในยานพาหนะ เช่น เครื่องบิน รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน ควบคุมบังคับการ
 
4.2 งานตรวจจับการคมนาคมทางอากาศ / เรือ โดยใช้เรดาร์
 
4.3 งานควบคุมดูแลการใช้เส้นทางของรถที่ใช้ขนส่งสินค้าเพื่อป้องกันปัญหาการออกนอกเส้นทาง
ภาคสถาบันการศึกษาและงานวิจัย
 
  1 งานด้านการสอนเพื่อผลิตวิศวกรโทรคมนาคมคุณภาพสูงเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
2 งานวิจัยและพัฒนาระบบ เพื่อกำหนดทิศทางและคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการด้านโทรคมนาคมให้สูงขึ้นกว่าใน ปัจจุบัน
3 งานที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระบบโทรคมนาคมให้แก่ องค์กรของรัฐและเอกชน
4 เผยแพร่นำเสนองานวิจัยใหม่ๆโดยการสัมมนาหรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งใน ระดับชาติและนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ
 
  งานอื่น ๆ ที่สามารถนำความรู้พื้นฐานไปประยุกต์ได้
วิศวกรโทรคมนาคมสามารถผันตัวเองก้าวไปสู่การพัฒนาโปรแกรมต่างๆได้ เช่น
บริการ เสริมพิเศษในมือถือ การเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ (องค์กรที่ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และองค์กรที่ผลิตตัวอุปกรณ์ โทรศัพท์)
รุ่นน้องทั้ง หลายจึงไม่ต้องกลัวตกงานกันครับ เพราะงานมีให้เลือกตรงสายเยอะขนาดนี้ สำหรับในอนาคต การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การสื่อสารยุค 3G กับการออกใบอนุญาติประกอบกิจการโทรคมนาคมต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ที่จะมีบริษัทเกิดใหม่อีกหลายบริษัท และแถมยังมีงานที่ไม่ตรงสายอีกมากมายครับ ขอเพียงเป็นเป็นคนขยันและตั้งใจครับ ไม่มีใครต้องตกงานแน่นอน

 

 ขอขอบคุณ sut.ac.th/engineering/Telecom และที่มาของทุกแหล่งข้อมูล
 

========================================================