Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,618
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,028
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,356
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,298
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,828
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,940
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,905
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,173
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,942
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,741
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,678
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,882
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,195
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,610
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,064
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,955
17 Industrial Provision co., ltd 39,679
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,698
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,608
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,946
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,886
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,239
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,653
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,364
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,881
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,877
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,249
28 AVERA CO., LTD. 22,943
29 เลิศบุศย์ 21,968
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,733
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,632
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,234
33 แมชชีนเทค 20,231
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,489
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,453
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,200
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,873
38 SAMWHA THAILAND 18,649
39 วอยก้า จำกัด 18,298
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,881
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,726
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,655
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,644
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,577
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,505
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,498
47 Systems integrator 17,068
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,019
49 Advanced Technology Equipment 16,835
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,799
06/10/2552 10:54 น. , อ่าน 93,010 ครั้ง
Bookmark and Share
การนำระบบไฮดรอลิกไปใช้ควบคุมเครื่องจักร
โดย : Admin

 โดย:  วารุณี ศรีสงคราม  (waruneesri@hotmail.com)        
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ                       
 และ  Heavy Korat (yuttana_doktian@hotmail.com)

 

 

 

               คุณสมบัติที่ดีของระบบไฮดรอลิกคือ ให้แรงในการทำงานมากเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักของปั๊มกระบอกหรือมอเตอร์ไฮดรอลิก
มีความนิ่มนวลขณะทำงานถึงแม้กระบอกหรือมอเตอร์ไฮดรอลิกจะรับภาระที่มีน้ำหนักมากขึ้น มีความสามารถในการสะสมพลังงาน มีความรวดเร็วในการเปลี่ยนทิศทางในการส่งกำลัง และยังมีคุณสมบัติที่ดีอีกหลายประการ ดังนั้นระบบไฮดรอลิกจึงนิยมนำมาใช้เป็นระบบควบคุมและส่งถ่ายกำลังของเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งเครื่องจักรที่นำระบบไฮดรอลิกมาควบคุมการทำงานและส่งถ่ายกำลังแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

 1.) เครื่องจักรที่ติดตั้งอยู่กับที่ ( Stationary Mobile Hydraulic ) เป็นเครื่องจักรที่มีระบบควบคุมเป็นไฮดรอลิกมักจะอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรดังกล่าวไม่ค่อยเคลื่อนย้ายไปมาบ่อยๆและจะติดตั้งอยู่กับที่ขณะทำงานโดยเครื่องจักรดังกล่าวได้แก่

        1.1 )เครื่องกดอัดไฮดรอลิก ( Hydraulic Press )


รูปที่ 1 แสดงเครื่องกดอัดไฮดรอลิก

มีการนำเอาระบบไฮดรอลิกไปควบคุมการทำงานในระบบต่างๆคือ


1.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้กดชิ้นงานให้ได้รูปร่างต่างๆตามต้องการ
2.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้ปรับระดับการเติมวัตถุดิบในการผลิตเช่นผงขัดล้อหินเจียร และ ผงดินทำกระเบื้องเป็นต้น
3.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้พากระบอกหลักเคลื่อนที่ก่อนอัดชิ้นงาน
4.) มอเตอร์ไฮดรอลิกที่ใช้กวาดกระเบื้องออกจากแม่พิมพ์

 

      

       1.2 ) เครื่องฉีดพลาสติก ( Mould Injection Machine )


รูปที่ 2 แสดงเครื่องฉีดพลาสติก

        
      มีการนำเอาระบบไฮดรอลิกไปควบคุมการทำงานในระบบต่างๆคือ

1.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้เลื่อนแม่พิมพ์   2.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้เลื่อนแท่นชุดฉีดพลาสติก
3.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้ดันแกนสกรูเกลียวในจังหวะการฉีดพลาสติก   4.) มอเตอร์ไฮดรอลิกที่ใช้ป้อนเม็ดพลาสติก
5.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้ดันชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์    

    

1.3 ) เครื่องมือกล ( Machine Tool )


รูปที่ 3 แสดงเครื่องมือกล

มีการนำเอาระบบไฮดรอลิกไปควบคุมการทำงานในระบบต่างๆคือ

1.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้จับยึดชิ้นงาน
2.) กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของมีดกัด
3.)กระบอกไฮดรอลิกที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของแท่นป้อนชิ้นงาน

นอกจากนี้ยังนำระบบไฮดรอลิกไปใช้ควบคุมเครื่องจักรที่มีการใช้งานเฉพาะทางพิเศษเช่น   เครื่องจำลองการขับขี่เครื่องบิน เครื่องทดสอบระบบรองรับน้ำหนักในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งก็ยังถือเป็นStationary Hydraulic เช่นกัน

 

 

2.) เครื่องจักรที่มีการเคลื่อนที่ ( Mobile Hydraulic )
คือเครื่องจักรที่มีระบบควบคุมเป็นไฮดรอลิก
ขณะที่กำลังทำงานอยู่ มีการเคลื่อนที่ไปมาจากที่ หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่วนใหญ่จะทำงานนอกอาคารโดยเครื่องจักรดังกล่าวยังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภทคือ

          2.1)เครื่องจักรควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิกที่ทำงานเคลื่อนที่บนพื้นดิน( Earth Movement Mobile Hydraulic )
  นำระบบไฮดรอลิกไปใช้ควบคุมการทำงานต่างๆ ดังนี้

รูปที่4 แสดงระบบขับเคลื่อน

 

 

 

A. ระบบขับเคลื่อน
 ( Drive System )

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบวงจรน้ำมันปิด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hydrostatic Drive

 


 

รูปที่5แสดงระบบบังคับเลี้ยว

B. ระบบบังคับเลี้ยว
( Steering System )

 

 

 C. ระบบควบคุมอุปกรณ์ทำงาน ( Work system )


รูปที่ 6 แสดงระบบควบคุมอุปกรณ์ทำงาน


รูปที่ 7 แสดงระบบลดแรงสั่นสะเทือน

D. ระบบลดแรงสั่นสะเทือน
 (Vibration Absorb System )

 

 

  E. ระบบอำนวยคามสะดวกอื่นๆ ( Comfort System )
ซึ่งระบบการทำงานดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรประเภทต่างๆคือ

  

2.1.1) เครื่องจักรงานก่อสร้าง ( Building Machinery )โดยที่เครื่องจักรประเภทดังกล่าวมีอีกหลายชนิดได้แก่ รถขุด ( Hydraulic Excavator ) หรือ(Back hoe) ,รถตัก ( Loader ) และอื่นๆ ในที่นี้ขอนำเสนอ การประยุกต์ใช้งานของรถขุดมีการนำระบบไฮดรอลิกไปควบคุมส่วนต่างๆคือ

1.) มอเตอร์ของระบบขับเคลื่อน แบบ Hydrostatic Drive

2.) กระบอกควบคุม Boom
3.) กระบอกควบคุม Arm
4.) กระบอกควบคุม บุ่งกี๋
5.) มอเตอร์ควบคุมการหมุนตัวเครื่องส่วนบน

  2.1.2 ) รถยนต์ ( Automobiles )


รูปที่ 9 แสดงการนำระบบไฮดรอลิกไปควบคุม ส่วนต่างๆ

1) ระบบอำนวยความสะดวก ในที่นี้คือ ระบบปิด – เปิด หลังคารับแสง
2) ระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ
3) ระบบขับเคลื่อนพัดลมระบายความร้อน
4) ระบบบังคับเลี้ยว พวงมาลัย Power
5) ระบบเบรค
6) ระบบปรับระดับความสูงตัวรถยนต์
7) ระบบรองรับน้ำหนัก

 

2.1.3) รถบรรทุก ( Trucks )

มีการนำระบบไฮดรอลิกไปควบคุมส่วนต่างดังนี้

1) มอเตอร์ควบคุมการหมุนแท่น ปั่นจั่นยกของ

2) กระบอกควบคุม Boom

3) กระบอกควบคุม Arm ยกของ

 

 

2.1.4) รถทำงานเทศบาล ( Municipal Vehicles )

 


รูปที่ 10 แสดงรูปรถบรรทุก

รถดังกล่าวได้แก่รถขนขยะซึ่งมีระบบไฮดรอลิกควบคุมกระบอกกดอัดขยะนอกจากนั้นยังมีรถกวาดถนนที่นำระบบไฮดรอลิกควบคุมมอเตอร์ ลำเลียงเศษของ (1) และ มอเตอร์หมุนไม้กวาด(2)

 

 

2.1.5) รถยกของ ( Fork – lift )มีการนำระบบไฮดรอลิกไปควบคุมส่วนต่างๆดังนี้


รูปที่ 12 แสดงรถยกของ

1) มอเตอร์ควบคุมระบบขับเคลื่อน 2) กระบอกควบคุมระบบบังคับเลี้ยว
3) กระบอกควบคุมการปรับมุมเอียงของซ่อมยกของ 4) กระบอกควบคุมการเคลื่อนที่ของซ่อมยกของ

 

    2.1.6) เครื่องจักรกลการเกษตร ( Aqricultural Machinery )  เครี่องจักรประเภทดังกล่าวมักนำระบบไฮดรอลิกไปใช้ในระบบขับเคลื่อน และบังคับเลี้ยว และควบคุมอุปกรณ์ทำงานเช่น การยกพานไถ, คาด


รูปที่ 13 แสดงเครื่องจักรกลการเกษตร

2.2 ) ยานอวกาศ ( Aero Space Mobile Hydraulic),มีการนำระบบไฮดรอลิกไปใช้ในระบบควบคุมการขับเคลื่อน

2.3) อากาศยาน( Aircraft Mobile Hydraulic) มีการนำไฮดรอลิกมาใช้ในส่วนต่างๆ เช่นควบคุมแผ่นกระบังลมที่บริเวณปีก ระบบควบคุมหางเสือบังคับเลี้ยว ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Servo Hydraulic System

รูปที่ 14 แสดง Helicopter

 

2.4 เรือเดินทะเล ( Marine Mobile Hydraulic ) ใช้ควบคุมหางเสือ

รูปที่ 15 แสดง Marine Mobile Hydraulic

2.5 เครื่องจักรทำงานนอกชายฝั่ง ( Off Shore Mobile Hydraulic )ส่วนใหญ่เป็นปั่นจั่นยกของที่ติดตั้งตาม แท่นขุดเจาะน้ำมัน ถึงแม้ว่าปั่นจั่นดังกล่าวจะติดตั้งอยู่กับที่แต่ระบบไฮดรอลิกที่ใช้ควบคุม รวมไปถึงอุปกรณ์ประกอบในระบบ เช่น วาล์ว จะมีลักษณะและการทำงานเช่นเดียวกับ Earth Movement mobile Hydraulic แต่ส่วนใหญ่เป็นวาล์ว ที่ไม่ใช้ไฟฟ้าในการควบคุม ดังนั้นจึงถือว่าเครื่องจักดังกล่าวก็เป็น Mobile Hydraulicเช่นกัน ซึ่งมีการมีการนำระบบไฮดรอลิกไปควบคุม มอเตอร์หมุน winch ยกของ และกระบอกควบคุมการเคลื่อนที่ของ Boom

รูปที่ 16 แสดง Off Shore Mobile Hydraulic

     

เอกสารอ้างอิง

 Rexroth Hydraulics , The Hydraulic Trainer Volume 1 , 1991
 Rexroth Bosch Group, Hydraulic In Mobile Equipment ,2001
 Robert Bosch Gmbh , Hydraulics Theory and Application ,1998
 Robert Bosch Gmbh , Hdraulics Propportional Valve and Closed Loop Control Valves ,1989

 

 

  


ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข้อมูล
 

 

========================================================