Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,580
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,989
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,778
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,464
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,348
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,448
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,511
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,130
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,519
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,376
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,440
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,949
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,383
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,292
39 วอยก้า จำกัด 17,899
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,478
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,329
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,211
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,133
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,067
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,443
10/12/2552 20:29 น. , อ่าน 31,674 ครั้ง
Bookmark and Share
เครื่องยนต์โรตารี่ (Rotary engine)
โดย : Admin


 
   เครื่องยนต์โรตารี (Rotary Engine )
 
       เครื่องยนต์โรตารี่ จัดอยู่ในกลุ่มประเภทเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน ( Internal combustion engine ) ซึ่งออกแบบให้มีการแปลงผันความดัน(convert pressure)  ไปเป็นการเคลื่อนที่แบบแบบโรตารี่ (rotating motion)  แทนการเคลื่อนที่ของลูก 
 
     

    ผู้คิดค้นเป็นคนแรกคือ   ดอกเตอร์  เฟลิค  แรงเคล  (Dr. Felix  Wankel)  โดยชาวเยอรมัน   บางครั้งเราจึงเรียกเครื่องยนต์โรตารี่ว่า  " เครื่องยนต์  แรงเคล"   (Wankel  engine  หรือ  Wankel  rotary  engine  ) เพื่อเป็นเกียรติกับท่าน


    ส่วนท่านที่สนใจประวัติความเป็นมาอย่างละเอียดก็ติดตามได้จากลิงค์นี้  http://www.mazda.com/mazdaspirit/rotary/story/index.html  

 
 
 
 
 
 หลักการทำงาน
 
       เครื่องยนต์แบบลูกสูบ จะแบ่งการเผาไหม้ภายในลูกสูบออกเป็น  4  จังหวะ คือ ดูด  อัด ระเบิด และคาย    

 

     
    แต่เครื่องยนต์โรตารี่ จะได้แรงดันจากห้องเผาไหม้ที่อยู่ภายในเสื้อโรเตอร์หรือห้องเผาไหม้  (Housing)   ซึ่งจะถูกชีลด์ไว้อย่างดี ไม่ให้มีการรั่วไหลของแก๊ส   


      ตัวโรเตอร์เทียบได้กับลูกสูบของเครื่องยนต์ลูกสูบ   โรเตอร์จะหมุนแบบเยื้องศูนย์ซึ่งจะทำให้ขอบของโรเตอร์สัมผัสกับห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา   



      ตัวโรเตอร์ทำให้หัองเผาไหม้ถูกแยกออกเป็น  3  ห้อง ขณะที่โรเตอร์หมุนอยู่ แต่ละห้องจะมีการหดและขยายตัวของแก๊สอยู่ตลอดเวลา   เราแบ่งจังหวะการเผาไหม้ออกเป็น  4  จังหวะ คือ ดูด อัดระเบิด และคายไอเสีย  

 

 

ส่วนประกอบของเครื่องยนต์โรตารี่

      เครื่องยนต์โรตารี่ ใช้ระบบการเผาไหม้  และ ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง   เหมือนกับเครื่องยนต์ลูกสูบ  ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญๆเช่น  โรเตอร์    เสื้อโรเตอร์หรือห้องเผาไหม้  (Housing)   และเพลาส่งกำลัง ดังนี้

 


ที่จุดปลายของโรเตอร์ เป็นใบมีดเพื่อใช้ในการชีลด์หัองเผาไหม้ไม่ให้เกิดการรั่วไหลของแก๊สได้  ด้านข้างของโรเตอร์ก็ต้องชีลด์ด้วยแหวนโลหะ
 

  โรเตอร์ (Rotor)


          ตัวโรเตอร์ มีส่วนโค้งอยู่  3  หน้า   แต่ละหน้าทำหน้าที่ได้เหมือนกับลูกสูบ   ดังนั้นจึงต้องเซาะเป็นร่องไว้  เพื่อเพิ่มความจุของแก๊ส ให้เกิดการเผาไหม้ได้มากพอ

         ที่จุดปลายของโรเตอร์ เป็นใบมีด  เพื่อใช้ในการชีลด์หัองเผาไหม้ ไม่ให้เกิดการรั่วไหลของแก๊สได้  ด้านข้างของโรเตอร์ก็ต้องชีลด์ด้วยแหวนโลหะ

      ช่องกลางเป็นฟันเกียร์  ซึ่งจะขบเข้ากับเฟืองเกียร์ซึ่งจะทำให้โรเตอร์สามารถหมุนในห้องเผาไหม้ได้











 

เสื้อโรเตอร์หรือห้องเผาไหม้  (Housing) 

      หัองเผาไหม้มีลักษณะดังรูป
ตัวโรเตอร์แบ่งห้องเผาไหม้ออกเป็น 3 ส่วน  แต่ละส่วนทำหน้าที่การเผาไหม้ออกเป็น  จังหวะดังนี้

  1. ดูด
  2. อัด
  3. ระเบิด
  4. คาย

     ช่องไอดีและไอเสียเป็นท่อเปิดอยู่ภายในเสื้อ   ไม่ใช้วาวล์    ช่องไอเสีย และไอดีต่อโดยตรงกับท่อ

เพลาส่งกำลังมีลูกเบี้ยว

    ลูกเบี้ยวทำให้โรเตอร์หมุนออกจากจุดศูนย์กลางอย่างไม่สม่ำเสมอ  (ไม่ได้หมุนเป็นวงกลม)  ในรูปภาพมีลูกเบี้ยว  2  อัน แสดงว่ามีโรเตอร์อยู่  2  อัน  ลูกเบี้ยวของเครื่องยนต์โรตารี่  ทำหน้าที่เหมือนกับเพลาลูกเบี้ยวในเครื่องยนต์ลูกสูบ     ขณะที่โรเตอร์หมุน  มันจะมีแรงเยื้องศูนย์กระทำกับลูกเบี้ยวอยู่ตลอดเวลา    แรงที่กดนี้ทำให้เกิดแรงบิด  (Torque)  ขึ้น และทำให้เพลาหมุน
 

 เพลาส่งกำลังต้องมีการชีลด์ป้องกันแก๊สรั่ว   และลูกปืนต้องหล่อลื่น ผิวภายในขัดเรียบเงาไม่ให้เกิดแรงเสียดทาน    

 

 ภาพเคลื่อนไหว หลักการทำงาน การประกอบเข้าด้วยกันและอื่นๆ
 

 ความแตกต่าง:     เครื่องยนต์โรตารี่กับเครื่องยนต์ลูกสูบ มีความแตกต่างที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
 

ใช้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยกว่า 
  
      เครื่องยนต์โรตารี่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อยกว่าเครื่องยนต์แบบลูกสูบ   เครื่องยนต์โรตารี่แบบ 2  โรเตอร์  ใช้ชิ้นส่วนหลักอยู่  3  ชิ้น  คือ โรเตอร์  2  ชิ้น  และเพลาส่งกำลัง  1  ชิ้น  ขณะที่เครื่องยนต์แบบลูกสูบใช้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหว  40  ชิ้น   เช่น ลูกสูบ  ก้านลูกสูบ   เพลาลูกเบี้ยว   วาวล์   สปริงวาวล์   และสายพาน  เป็นต้น

      การลดชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวลง หมายความว่า   เครื่องยนต์โรตารี่มีความสเถียรภาพมากกว่า   ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่บริษัทเครื่องบินบางแห่ง  นำเครื่องยนต์โรตารี่ไปใช้แล้ว
 

เครื่องยนต์หมุนเรียบกว่า

      ตัวโรเตอร์หมุนอย่างต่อเนื่องไปในทิศทางเดียว   ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางอย่างรุนแรงเหมือนลูกสูบ  ดังนั้นการส่งกำลังของเครื่องยนต์โรตารี่จึงเรียบกว่า  การเผาไหม้เกิดขึ้นใน   3  ครั้ง ต่อ การหมุนของเพลา  3  รอบ  การเผาไหม้เกิดขึ้นทุกรอบ   ไม่เหมือนกับลูกสูบที่มีการเผาไหม้  1  ครั้งต่อการหมุน  2  รอบ


ช้ากว่าจึงดีกว่า

      เพราะว่าโรเตอร์หมุน  1  ใน  3  ของรอบเพลา  ดังนั้นชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์โรตารี่จึงหมุนช้ากว่าเครื่องยนต์แบบลูกสูบ  จึงช่วยให้มันเกิดการสึกหรอน้อยกว่า
 

ปัญหาอื่นๆ :   ปัญหาน่าปวดหัวของเครื่องยนต์โรตารี่มีดังนี้

  • ไอเสียออกมามาก  การเผาไหม้เกิดขึ้นยังไม่สมบูรณ์นัก
  • ค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงมาก   เพราะว่าจำนวนโรเตอร์ไม่สามารถเพิ่มได้เหมือนลูกสูบ
  • ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า  เพราะว่าอัตราส่วนอัดน้อยกว่าของลูกสูบ ประสิทธิภาพทางความร้อนจึงน้อยกว่า
 
 
 
การประยุกต์ใช้งาน
 
    เครื่องยนต์แบบนี้ก็คือการทำงานอาศัยการหมุนรอบเป็นรอบๆเป็นแบบโรตารี่หรือวงกลม ไม่มีการเคลื่อนที่ขึ้นลงเหมือนลูกสูบ ทำให้มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็กกว่าและมีส่วนที่เคลื่อนที่น้อยกว่าแบบลูกสูบ   เครื่องยนต์โรตารีนิยมติดตั้งภายในรถแข่ง รถโกคาร์ต เครื่องบิน หรือ รถยนต์ของบริษัทญี่ปุ่นเช่น มาสด้า เป็นต้น


เรียบเรียงโดย: เว็บมาสเตอร์
 



 
 

 

========================================================